'ดร.ณัฎฐ์' มือกฎหมายมหาชน ชี้ ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม การแย่งชิงอำนาจ การบังคับใช้กฎหมายขาดความเป็นธรรม และความเหลื่อมล้ำทางสังคม เป็นกับดักความขัดแย้ง
1มี.ค.2566- ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้โพสต์ในเฟชบุ๊ก เป็นบทความว่า ทำไมต้อง “ก้าวข้ามความขัดแย้ง” ในทำนองลักษณะกับดัก คือ อนุรักษนิยม และเสรีนิยม ผู้สื่อข่าวจึงได้โทรศัพท์สัมภาษณ์ ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ”ดร.ณัฎฐ์” ปรมาจารย์กฎหมายมหาชนและผู้เชี่ยวชาญรัฐธรรมนูญคนดัง โดยอธิบายและให้ความรู้กฎหมายแก่ประชาชนว่า ปัญหาความขัดแย้งของสังคม ต้องมองในองคาพยพทั้งหมดในภาพรวมของประเทศ แต่ไม่ใช่ว่า พล.อ.ประวิตรฯ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ จะออกมาโพสต์ในทำนองเอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่นในช่วงใกล้เลือกตั้ง เพื่อให้ตนเองเป็นพระเอก หลังกลุ่ม 3 ป.แยกกันอยู่คนละพรรค อย่าลืมว่า พล.อ.ประวิตรฯท่านได้อำนาจมาในช่วงยุค คสช.เรืองอำนาจ จนนำมาสู่การออกแบบรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 โดยมีมาตรา 44 เป็นเครื่องมือในการควบคุมอำนาจรัฐ ไม่ต่างจากยุคจอมพลสฤษดิ์ฯ ในการใช้อำนาจเหนือ 3 อำนาจ คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ จนนำมาสู่การออกแบบรัฐธรรมนูญ 2560 โดยเฉพาะมาตรา 272 กำหนดจำนวนวุฒิสภาถึง 250 คนโดยให้มีอำนาจโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี โดยใช้เสียงของทั้งสองสภารวมกัน จึงเป็นผลผลิตของคณะ คสช.ที่เข้ามาแก้ปัญหาประเทศในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้น คืนอำนาจให้แก่ประชาชน นำไปสู่การเลือกตั้งในปี 2562
.
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวว่า ปัญหาความขัดแย้งของสังคม เกิดภายหลังการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 มีการแย่งชิงอำนาจระหว่างทหารกับพลเรือนหลายครั้งหลายหน ภายหลังสิ้นสลายคณะราษฎร พ.ศ.2490 ทหารเข้ามารัฐประหาร อ้างเหตุต่างๆนานาในการยึดอำนาจ แต่ความขัดแย้งเกิดจากการแย่งชิงอำนาจ ผลประโยชน์ไม่ลงตัว ต้องการเป็นใหญ่ ขณะเดียวกันประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา พลเมือง แบ่งเป็น 3 ชนชั้น คือ ชนชั้น Elite (ชนชั้นสูง) ชั้นกลางและชั้นล่าง เป็นลักษณะสามเหลี่ยม โดยพลเมืองส่วนใหญ่ของประเทศเป็นกรรมาชีพ ชาวนา ชนชั้นล่างเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ รวยกระจุกจนกระจาย เป็นปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคม จะสังเกตจาก สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม สร้างค่านิยมให้คนรักชาติ คนไทยไม่ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศล่าอาณานิคม ประชาชนจึงสื่อสารพูดภาษาอังกฤษได้น้อย แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้านที่ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณานิคมประเทศมหาอำนาจในอดีต
"คำว่า “อนุรักษนิยม”หมายถึง การรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของไทย ตามประเพณีดั้งเดิม ประชาชนคนไทยจึงหวงแหนความเป็นไทย ไม่เป็นสาเหตุที่มาของกับดักความขัดแย้ง ดังนั้น การที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้ามาแก้ปัญหาของประเทศกรณีทุจริตและประพฤติมิชอบและความขัดแย้งทางการเมือง แม้จะเดินต่อ ทำต่อ ลุงตู่อยู่ต่อ จุดแข็ง คือ ความซื่อสัตย์สุจริต ผมเคยฟันธงไว้ว่า การออกแบบรัฐธรรมนูญ 2560 ส่งผลให้สมัยหน้า แม้พล.อ.ประยุทธ์ฯ จะไปสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคนี้จะคว้าที่นั่งเกินสัดส่วน 5 เปอร์เซ็นต์ แม้ไม่ได้เสียงอันดับ 1 ตัวแปร คือ สว.250 เสียง ส่วนใหญ่จะเทคะแนนให้กับ พล.อ.ประยุทธ์ฯ ไม่เทคะแนนให้ พล.อ.ประวิตรฯ เพราะ พปชร.เสื่อมมนต์ขลัง ไม่ต่างจากพรรคการเมืองหนึ่งที่ใช้นโยบายกัญชาหาเสียง มนต์เขมรสิ้นมนต์ขลัง"
.
ดร.ณัฐวุฒิ กล่าวอีกว่า จะเห็นได้จาก มี สว.บางคน ให้สัมภาษณ์สื่อ ไม่โหวตเสียงให้ “อุ๊งอิ๊ง”แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดนนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย อ้างว่ามีข้อดีคือ เป็นบุตรสาวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เท่านั้น ตรงนี้ เป็นปัญหาสร้างความขัดแย้ง อย่าเหมารวมว่า เสรีนิยม คือ กับดักความขัดแย้ง ตั้งข้อสังเกตว่า พล.อ.ประวิตรฯ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ท่านเขียนบทความเอง หรือแอดมินเพจเป็นคนเขียน โดยท่านตรวจทาน ขาดความรู้ความเข้าใจในคำว่า เสรีนิยม ตกม้าตายเปล่าๆ แทนที่จะเรียกคะแนนสนับสนุน กลับทำให้เสียคะแนนนิยม ฐานคิดในการให้พลเมืองมีเสรีภาพ และความเสมอภาค ตามหลักประชาธิปไตย ตามหลัก 6 ประการ ของคณะราษฎร ที่มีแนวคิดเปลี่ยนแปลงระบอบเป็นประชาธิปไตย ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย เป็นหลักการสำคัญที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ จะเห็นจาก พรรคการเมืองบางพรรค สถาปนาเป็นพรรคฝ่ายประชาธิปไตย แต่การกระทำสวนทางกัน
ดังนั้น การออกแบบรัฐธรรมนูญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาไม่ได้เขียนขึ้นมาเอง แต่ กรธ.ร่างเสร็จ ผ่านประชามติ เสียงข้างมากของประชาชน ความขัดแย้งทางการเมือง จะปรากฏชัดในรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ไม่ได้เกิดในปี 2557 ดังนั้น คำว่า ก้าวข้ามความขัดแย้ง เป็นเพียงกุศโลบายในการหาเสียงให้กับพรรคพลังประชารัฐ เท่านั้น คำถามว่า 8 ปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ ทำไมถึงท่านไม่ยกมาพูด แต่ผมมองว่า ปัญหาความขัดแย้ง คือ การแย่งชิงอำนาจ ลงสนามเลือกตั้ง ลืมความเป็นพี่เป็นน้อง กับดักที่แท้จริงอยู่ตรงนี้
.
"จุดแข็ง พล.อ.ประยุทธ์ฯ คือ ซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ประจักษ์ ทั้งการแก้ปัญหาทั้งภายในและระหว่างประเทศ จะเห็นได้จากฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศซาอุดีอาระเบียกับไทย ทำให้แรงงานไปทำงานที่ประเทศนี้ได้อีก ต้องชื่นชม รวมถึงการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด -19 ทันท่วงที ส่วนพล.อ.ประวิตรฯ เป็นไก่ได้น้ำ ช่วงรักษาการนายกรัฐมนตรี ไม่รู้ๆๆๆๆ เปลี่ยนเป็น เดินคล่อง พูดหลายคำมากขึ้น ดังนั้น บทความก่อนหน้านี้ พล.อ.ประวิตรฯ เคยยอมรับว่า “ไม่มีความรู้ประสบการณ์ทางการเมือง” การที่จะก้าวข้ามความขัดแย้ง ตัวแปรไม่ใช่อนุรักษนิยมหรือเสรีนิยม แต่ตัวแปรหลัก คือ การแย่งชิงอำนาจ การบังคับใช้กฎหมายขาดความเป็นธรรม(สองมาตรฐาน) รวมทั้งความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เป็นกับดักความขัดแย้งของคนไทยที่เรื้อรังมายาวนาน"ดร.ณัฐวุฒิ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อึ้ง! ปชช. 57% ไม่เชื่อมั่นฝ่ายค้าน 'ไหม' โดดเด่นสุด 'เท้ง' รั้งอันดับ 9 'ป้อม' บ๊วย
โพลชี้ 'ศิริกัญญา' โดดเด่นสุด สส.ฝ่ายค้าน แซง 'หัวหน้าเท้ง' อยู่อันดับ 9 ตามคาด 'ลุงป้อม' รั้งท้าย อึ้ง! ประชาชนไม่เชื่อมั่นการทำงานฝ่ายค้านกว่า 57%
'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ชำแหละทุกแง่มุม ผลกระทบคดีตากใบขาดอายุความ
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงคดีตากใบที่ไม่สามารถนำตัวจำเลยมาศาลได้ ภายในอายุความ 20 ปี ทำ
ดร.ณัฏฐ์ เตือนออกพรก.ขยายอายุความคดีตากใบ จะกระทบความเชื่อมั่นในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา
สืบเนื่องจากคดีตากใบ ผู้เสียหายยื่นฟ้องจำเลยด้วยตนเอง เมื่อศาลไต่สวนมูลฟ้องและคำสั่งมีมูล ต่อมาเมื่อถึงวันนัดสอบคำให้การ จำเลย
'บิ๊กป้อม' เซ็นตั้ง 'ชาญกฤช-ปิยะ' ดูแลสื่อสารการเมือง
"บิ๊กป้อม” เซ็นตั้ง “ชาญกฤช-ปิยะ” ดูแลการสื่อสารทางการเมือง เข้มข้น ทันสมัย หวังเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย
ดร.ณัฏฐ์ เตือนนิรโทษกรรมเหมาเข่ง 112 สารตั้งต้นล่มสลายรัฐบาลแพทองธาร!
สืบเนื่องจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 33 สมัยสามัญประจำปีครั้งที่ 1 เข้าสู่วาระพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นิรโทษกรรม เพื่อ
'สามารถ' ดื้อ! ไม่ยอมไขก๊อก 'พปชร.' ถก 29 ต.ค. ใช้มติพรรคขับออก
นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ เปิดเผยความคืบหน้าหลังจากเสนอให้หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐออกคำสั่งให้ นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช พ้นจากการดำรงตำแหน่งรองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ