นายกฯ ถูก 'หลอก' ให้ออก พ.ร.ก.โดยมิชอบ เลื่อนใช้มาตราสำคัญ พรบ.ป้องกันทรมานฯ

'วิรุตม์' ชี้ นายกฯ ถูก 'หลอก' ให้ออก พ.ร.ก.โดยมิชอบ เลื่อนใช้มาตราสำคัญ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานฯ การ 'จับคนเรียกค่าไถ่' ส่งส่วย ตำรวจผู้ใหญ่จึงยังทำได้เหมือนเดิม

17 ก.พ.2566 - จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ซึ่งเดิมจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 ก.พ.2566 โดยให้ขยายกำหนดเวลาการมีผลบังคับใช้ของมาตรา 22-25 ซึ่งเป็นมาตราที่สำคัญออกไปเป็นวันที่ 1 ต.ค.2566 พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม (สป.ยธ.) และอดีตที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย สภาผู้แทนราษฎร ผู้มีบทบาทสำคัญคนหนึ่งในการร่วมผลักดันกฎหมายฉบับนี้ กล่าวว่า นับเป็นเรื่องน่าเสียใจที่นายกรัฐมนตรีได้ใช้อำนาจฝ่ายบริหารออกพระราชกำหนด ตัดอำนาจนิติบัญญัติ โดยให้เลื่อนการใช้ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมาน 4 มาตราที่สำคัญออกไปตามที่ ผบ.ตร.เสนอผ่าน รมว.ยุติธรรม ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ด้วยข้ออ้างว่ากล้องบันทึกภาพเสียงและบุคลากร ตร.ยังไม่พร้อม ต้องตั้งงบประมาณจัดซื้อจำนวน 170,000 ชุด รวมเป็นเงินกว่า 3,500 ล้านบาท

"ถือเป็นความเข้าใจผิด และเป็นการ ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องต่อนายกรัฐมนตรี นำไปสู่ความหลงผิด และออก พ.ร.ก.เลื่อนการใช้กฎหมายดังกล่าวออกไปโดยมิชอบ เพราะข้อเท็จจริงไม่จำเป็นต้องซื้อกล้องจำนวนมากขนาดนั้น เพียงซื้อไว้เป็น อุปกรณ์ประจำหน่วย ให้ตำรวจผู้มีหน้าที่จับกุมไม่ว่าจะเป็นสายตรวจ หรือ ตร.ฝ่ายสืบสวนหมุนเวียนเบิกไปใช้เมื่อเวลาเข้าเวรเท่านั้น จะซื้อไปทำไมมากมายโดยไม่จำเป็น สิ้นเปลืองเงินภาษีของประชาชน อย่างมาก ก็ซื้อเพิ่มจากที่มีอยู่แล้ว 90% ไม่เกิน 30,000 ชุด ใช้เงินแค่ระดับร้อยล้านเท่านั้น"

"เป้าหมายแท้จริงของตำรวจผู้ใหญ่ชั้นนายพลทั้งในและนอกราชการที่อยู่เบื้องหลังการเสนอเลื่อนการใช้บางมาตรา ก็คือไม่ต้องการให้ใช้มาตรา 22 วรรคสอง เป็นสำคัญ เพราะวรรคสองของมาตรา 22 ได้บัญญัติให้ผู้รับผิดชอบการจับ ต้องรายงานการจับให้นายอำเภอและอัยการทราบทันที มีข้อมูลรายละเอียดตามที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นหัวใจสำคัญของกฎหมายนี้ ที่จะมีผลในการป้องกันการทำร้ายและการละเมิดบุคคลหลังถูกจับมากที่สุด ถ้ากฎหมายใช้บังคับทุกมาตราอย่างสมบูรณ์ การนำตัวผู้ถูกจับไปควบคุมไว้ในที่ลึกลับเพื่อเค้นข้อมูล หรือต่อรองแลกเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ต่างๆ แล้วปล่อยตัวไป โดยนำเงินหรือทรัพย์สินที่ได้ไปส่งส่วยให้ตำรวจ ผู้ใหญ่เช่นที่เป็นอยู่ปัจจุบัน จะไม่สามารถกระทำได้อีกต่อไป นี่คือเป้าหมายสำคัญเบื้องหลังการเสนอต่อนายกฯ ให้ออก พ.ร.ก.เลื่อนการใช้กฎหมายฉบับนี้ออกไปถึง 1 ต.ค.2566 ทั้งที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 เนื่องจากไม่ใช่กรณีที่เกี่ยวกับความมั่นคงหรือความปลอดภัยของประเทศที่ฉุกเฉินไม่อาจหลีกเลี่ยงได้" พ.ต.อ.วิรุตม์กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'วิรุตม์' ยุ 'โจ๊ก' ยื่นปปช.ฟันผบ.ตร.-นายกฯผิดม.157ไม่สั่ง21ตร.คดี 'เป้รักผู้การ' ออกจากราชการ

'วิรุตม์' รับ 'โจ๊ก' ถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมจริง คดี 'เป้รักผู้การ'ตร.21นายถูกอัยการสั่งฟ้องทำไมไม่ให้ออกจากราชการเหมือนตน ยุยื่นปปช.ตรวจสอบผู้บังคับบัญชา-ผบ.ตร.- นายกฯละเว้นหน้าที่ตามม.157 หรือไม่

'วิรุตม์' ชี้ผลสอบความขัดแย้ง 'ต่อ-โจ๊ก' เสียเวลาประชาชน ต้นเหตุ 'กฤษฎีกา' เข้าใจผิด

'วิรุตม์' บอก ผลสอบความขัดแย้ง 'ต่อ- โจ๊ก' เป็นไปตามคาด เสียเวลาประชาชน ชี้ปัญหาเกิดจากความเข้าใจผิดของกฤษฎีกา ตั้งข้อสังเกตคำสั่งให้ 'สุรเชษฐ์' ออกราชการต้องรอกก.สอบสวนวินัย ยันเป็นไปตาม ม. 131การอ้างม.120 ไม่ถูกต้อง

'เฉลิม อยู่วิทยา' ฟ้องเรียก 50 ล้าน 'วิรุตม์' กับพวกกล่าวหาจ่าย 300 ล้านวิ่งเต้นคดีบอส

นายอำพล แก้วปาน ทนายความผู้รับมอบอำนาจ นายเฉลิม อยู่วิทยา นักธุรกิจชาวไทย เจ้าของธุรกิจกระทิงแดง และผู้ร่วมก่อตั้งเรดบูล เดินทางมา เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง บริษัท สืบจากข่าว จำกัด ,นายอภิภู พัฒนจันท์ นายสุวิทย์ บุตรพริ้ง

'วิรุตม์' สอนมวยกฤษฎีกา ชี้ 'โจ๊ก' ถูกให้ออกจากราชการ ตาม ม.131 ไม่เกี่ยว ม.120

พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร เลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม(สป.ยธ.) กล่าวว่า กรณีการตอบและตั้งข้อสังเกตตามหนังสือหารือของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

กสม. ชี้ ตำรวจ สภ. ดอยสะเก็ด ละเมิดสิทธิ ไม่บันทึกภาพและเสียงขณะตรวจค้นจับกุม

กสม. ตรวจสอบกรณีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ. ดอยสะเก็ด ไม่บันทึกภาพและเสียงขณะตรวจค้นและจับกุมผู้ต้องหา แนะสำนักงานตำรวจแห่งชาติกำกับดูแลและสนับสนุนอุปกรณ์ให้เป็นไปตามกฎหมาย