กสม.ผิดหวังรัฐบาลเลื่อนบังคับใช้ กม.ป้องกันทรมานออกไปกว่า 7 เดือน!

กสม. ผิดหวัง ครม. มีมติเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายป้องกันการทรมานและอุ้มหายออกไปกว่า 7 เดือน หวั่นกระทบสิทธิประชาชนและความน่าเชื่อถือของประเทศ

16 ก.พ.2566 - นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)​เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ซึ่งเดิมจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 22 ก.พ. 2566 โดยให้ขยายกำหนดเวลาการมีผลบังคับใช้ของมาตรา 22 - 25 ซึ่งเป็นมาตราที่สำคัญออกไปเป็นวันที่ 1 ต.ค. 2566 นั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ผิดหวังและเป็นห่วงว่าประชาชนยังอาจถูกละเมิดสิทธิในชีวิตและร่างกายโดยกระบวนการจับกุมและสอบสวนที่ขัดต่อกฎหมายและหลักสิทธิมนุษยชน ขณะเดียวกันก็เป็นห่วงถึงผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของประเทศในเรื่องความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะผลักดันให้มีกฎหมายฉบับนี้เพื่อให้เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (CAT) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีมาตั้งแต่ปี 2550 และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (ICPPED) ที่ไทยได้แสดงเจตนารมณ์เข้าเป็นภาคีไว้ตั้งแต่ปี 2555

สำหรับประเด็นที่มีข้อถกเถียงว่าการออกพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าวเพื่อขยายระยะเวลาบังคับใช้กฎหมาย เป็นไปตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 172 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ ซึ่งเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ หรือไม่ นั้น เพื่อให้สิ้นความสงสัยและเป็นบรรทัดฐานในโอกาสต่อ ๆ ไป กสม. เห็นควรให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเสนอเรื่องนี้ไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยด้วย

“กสม. ได้รับทราบปัญหาและข้อจำกัดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในเรื่องความพร้อมด้านอุปกรณ์การบันทึกภาพและเสียง ความพร้อมของบุคลากรในการปฏิบัติตามกฎหมาย และความไม่ชัดเจนในแนวปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานกลาง อย่างไรก็ดี กสม. และผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเห็นว่าปัญหาดังกล่าวมีทางออกและข้อยกเว้นอยู่แล้ว และเห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายที่ล่าช้าออกไป จะส่งผลกระทบมากกว่า โดยเฉพาะต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของประชาชน” นายวสันต์กล่าวและว่า ระหว่างที่มีการเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายมาตราที่สำคัญออกไป ขอให้รัฐบาลเร่งเตรียมความพร้อมและแก้ปัญหาข้อจำกัดในทุกด้าน โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะไม่มีการขอเลื่อนการบังคับใช้กฎหมายออกไปอีก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กสม. ชื่นชมรัฐบาล เร่งรัดกระบวนการกำหนดสถานะบุคคลแก่ผู้ที่ยังมีปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงว่า ตามที่รัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ไว้ในการประชุมระดับสูงว่าด้วยความไร้รัฐ (High-Level Segment on Statelessness) เ

กสม.ชงนายกฯ ทบทวนปิดศูนย์การเรียนรู้เด็กต่างด้าว ห่วงผลกระทบเป็นลูกโซ่

'กสม.' มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้คุ้มครองสิทธิเด็กลูกหลานแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ ทบทวนมาตรการปิดศูนย์การเรียนรู้เด็กต่างด้าว ห่วงผลกระทบกว้างขวางเป็นลูกโซ่

กสม. ชี้การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจในเหตุการณ์ที่ 'สารวัตรกานต์' เสียชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิฯ

กสม. ชี้ การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเหตุการณ์ที่ 'สารวัตรกานต์' เสียชีวิต เป็นการละเมิดสิทธิฯ แนะ ตร. อบรมเสริมความรู้ด้านการบริหารเหตุการณ์วิกฤติ

เปิดฉบับเต็ม! รายงานกสม. มัดเรือนจำพิเศษกรุงเทพ-รพ.ตำรวจ เลือกปฏิบัติช่วยทักษิณ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่อง "การเลือกปฏิบัติและสิทธิของผู้ต้องขัง กรณีร้องเรียนว่า นายทักษิณ ชินวัตร ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่น" กรณีผู้ร้อง(ปกปิดชื่อ) ผู้ถูกร้อง      เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ที่ 1โรงพยาบาลตำรวจที่ 2

'อดีตสว.' แฉขบวนการขายสัญชาติให้ชาวเมียนมา จี้เร่งแก้ก่อนเสียกรุงครั้งที่3

นายสมชาย แสวงการ อดีตสมาชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุก ระบุว่า ขบวนการขายชาติ เร่งแก้ก่อนเสียกรุงครั้งที่3

กสม.แถลงค้าน ปิดศูนย์เรียนรู้เด็กข้ามชาติ ชี้สถานศึกษาในพื้นที่ ยังไม่มีความพร้อม

ตามที่สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสุราษฎร์ธานีประกาศปิดศูนย์การเรียนมิตตาเย๊ะ บางกุ้ง ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี