'กสม.-ยธ.' ถกปม 'ตะวัน-แบม' อดอาหาร พร้อมดำเนินการปฏิรูปการปล่อยตัวชั่วคราว

กสม.-ยธ.ร่วมถกปม'ตะวัน-แบม'อดอาหาร ยธ.พร้อมดำเนินการปฏิรูปการปล่อยตัวชั่วคราวสนับสนุนหลักประกันในการปล่อยตัว ผ่านกลไกของกองทุนยุติธรรม กสม.หนุนการจัดทำข้อเสนอการปรับปรุงกฎหมายไปยังครม.รัฐสภา

1ก.พ.2566 - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และกระทรวงยุติธรรม แถลงการณ์ร่วม เรื่อง ความห่วงใยในสวัสดิภาพของผู้ต้องขัง มีใจความว่า ในวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08.45 น. ณ ห้องประชุมกระทรวงยุติธรรม อาคารกระทรวงยุติธรรม นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมด้วย นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม และนายวิทยา สุริยะวงค์ อดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้การต้อนรับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เพื่อหารือในประเด็นความห่วงใยในสวัสดิภาพของผู้ต้องขัง กรณีนางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ (ตะวัน) และนางสาวอรวรรณ ภู่พงษ์ (แบม) ทั้งนี้ กสม. นำโดย นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ นายสุชาติ เศรษฐมาลินี นางสาวสุภัทรา นาคะผิว พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิของ กสม. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล และนายภาณุวัฒน์ ทองสุข ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

การหารือมีข้อสรุปร่วมกันในเบื้องต้น ดังนี้

1.กระทรวงยุติธรรมพร้อมพิจารณาดำเนินการปฏิรูปในประเด็นการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อให้การปฏิบัติในปัจจุบันสอดคล้องกับหลักการในมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ “ในคดีอาญาให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุด แสดงว่า บุคคลใดกระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้” และ “การจับกุมหรือคุมขังผู้ต้องหาหรือจำเลยให้กระทำได้เพียงเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้หลบหนี”

2. กระทรวงยุติธรรมพร้อมพิจารณาทบทวนระเบียบปฏิบัติที่ใช้บังคับในปัจจุบันเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในคดีความแตกต่างทางความคิดหรือความเห็นต่าง ซึ่งไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวในระหว่างพิจารณาคดี และยังไม่มีการพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำความผิดให้สามารถคุมขังในสถานที่อื่นซึ่งไม่ใช่เรือนจำได้ ซึ่งรวมถึงการคุมขังที่บ้าน (House Arrest) เพื่อไม่เป็นการปฏิบัติต่อบุคคลดังกล่าวเสมือนเป็นผู้กระทำความผิด

3. กระทรวงยุติธรรมพร้อมให้การสนับสนุนหลักประกันในการปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาผ่านกลไกของกองทุนยุติธรรม

4. กสม. จะให้การสนับสนุนในการจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนไปยังคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วิจารณ์แซ่ด 'ประธานผู้ลี้ภัย' สารภาพ ดำเนินชีวิตอย่างจำเจ ล้มเหลวเกือบทุกด้าน

หลังจากนายจรัล ดิษฐาอภิชัย ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) และประธานสมาคมนักประชาธิปไตยชาวไทยไร้พรมแดน ซึ่งลี้ภัยในประเทศฝรั่งเศส โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่าชีวิตล้มเหลวเกือบทุกด้าน

5 วันอันตรายสังเวยแล้ว 215 ชีวิต 'กทม.-นนทบุรี' ครองแชมป์

ศปถ.กำชับด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัด จุดบริการ รองรับการเดินทางกลับของประชาชน บังคับใช้กฎหมายกับผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยง - ดูแลความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนอย่างต่อเนื่อง

กสม.แนะแก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินปชช. ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขยายเหมืองแม่เมาะ

กสม. แนะกระทรวงพลังงานเร่งเสนอ ครม. แก้ไขปัญหาสิทธิในที่ดินให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการขยายเหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

จับตา 'อันวาร์' ตั้ง 'ทักษิณ' ที่ปรึกษาฯ ย้ำบาดแผลชายแดนใต้ เข้าแผนลึกหาเหตุออกนอกปท.

นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า กรณีนายอันวาร์ บิน อิบราฮิม นายกฯ มาเลเชีย ตั้งทักษิณ เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของประธานอาเซียนนั้น เชื่อว่า ในความสัมพันธ์เช่นนี้จะนำมาแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ไ