สังคมต้องตั้งสติ 'นิพิฏฐ์' ประกาศลั่นไม่เอาด้วย 'คบเด็กสร้างบ้าน'

'นิพิฏฐ์' แนะสังคมตั้งสติกรณี 2 ผู้ต้องหาคดี 112 'ขอถอนประกันตัวเอง' เพื่อเข้าไปอดอาหารในเรือนจำ สมมุติผู้ต้องหาคดีตู้ห่าวเอาอย่าง 2 คนนี้ศาลจะว่าอย่างไร และหากพรรคการเมืองเสนอเลิก 112 'คบเด็กสร้างบ้าน' ตนไม่เอาด้วย

28 ม.ค.2566 - นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นักกฎหมายแและนักการเมืองชื่อดัง โพสต์เฟซบุ๊กว่า ตั้งสติ

1.กรณี มีจำเลย 2 คน อดน้ำ-อดอาหาร ในเรือนจำ เพื่อเรียกให้รัฐบาล และ ศาล ปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง 3 ข้อ เรื่องนี้ ต้องเข้าใจว่า ศาลอนุญาตให้ 2 คนนี้ ได้รับการประกันตัวไปแล้ว แต่ 2 คนนี้ "ขอถอนประกันตัวเอง" เพื่อเข้าไปอดน้ำ-อดอาหาร ในเรือนจำ มิใช่ศาลไม่ให้ประกันตัว

2.สมมุติว่า ในคดี "ตู้ห่าว" (ทุนจีนสีเทา) มีจำเลยบางคนได้ประกัน บางคนไม่ได้ประกันตัว หากคนที่ได้ประกันขอถอนประกันตัวเอง และเข้าไปอดน้ำ-อดอาหารในเรือนจำ เพื่อเรียกร้องให้พวกของตัวได้ประกันด้วย ศาลจะทำอย่างไร ?

3.สมมุติว่า มีพรรคการเมืองขอยกเลิก ม.112 เราก็ต้องคิดต่อให้สุดทาง เพราะการดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย ประมุขของประเทศ มี 2 กรณี คือ

1.การดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย ประมุขของประเทศตัวเอง ตาม ม.112 และ

2.การดูหมิ่น หมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้ายประมุขของรัฐต่างประเทศ ตาม ม.133,134

-หากมีการเสนอยกเลิกการ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายประมุขของตัวเอง แต่ไม่ยกเลิกการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายประมุขต่างประเทศ ผมว่า บ้านเมืองนี้ก็ประหลาดแท้ ใคร หรือ พรรคการเมืองไหนคิดแบบนี้ คนไทยต้องติดตามเอาเอง ว่า เขาทำอย่างนั้นทำไม?

-ผมเลยเตือน ว่า ให้มีสติ รอบคอบ อย่าทำอะไรแบบภาษิตโบราณ ที่ว่า "คบเด็กสร้างบ้าน" ทำแบบนี้ ผมไม่เอาด้วยครับ

#เป็นความเห็นส่วนตัว ไม่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลสั่งคุก 'อานนท์ นำภา' 2 ปี ผิด ม.112-พรบ.คอมพ์ รวมโทษจำคุก 5 คดี กว่า 16 ปี

ศาลนัดฟังคำพิพากษา คดีหมายเลขดำอ.1395/2565 ที่อัยการสำนักงานคดีอาญา 8 เป็นโจทก์ฟ้อง นายอานนท์ นำภา ทนายความและแกนนำม็อบราษฎรในความผิดฐาน หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และพระราชินีฯ มาตรา 112

'นิพิฏฐ์' โพสต์ 'หน้าที่รัฐ' ความต่างระหว่างนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล-ฝ่ายค้าน

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "หน้าที่รัฐ" ระบุว่า การถือกำเนิดของรัฐ มาจากหลักการสำคัญประการหนึ่ง คือ “