1 ม.ค.2566-นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Thanathorn Juangroongruangkit – ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวข้อ “2566: ปีที่ประเทศไทยต้องไม่เหมือนเดิม” ระบุว่า ผ่านพ้นปี 2565 กันแล้ว สองปีที่ผ่านมา โลกขับเคลื่อนด้วยการต่อสู้กับโควิด เรานึกกันว่าปี 2565 สถานการณ์จะดีขึ้น แต่เปล่าเลย ในปีที่ผ่านมา โลกขับเคลื่อนด้วยสงครามยูเครน อาหารและวัตถุดิบแพงขึ้นเพราะสงคราม การเมืองระหว่างประเทศเข้มข้นไปด้วยความพยายามจำกัดอิทธิพลของจีนและรัสเชีย การแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจเป็นสองค่ายเริ่มชัดเจนขึ้นในปี 2565 รูปธรรมที่ชัดเจนที่สุดของการ “แกะ” ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจออกจากกันคือการที่อเมริกาและยุโรปสกัดไม่ให้จีนเข้าถึงเทคโนโลยีด้านการผลิตชิป ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตในทุกด้าน เช่นรถยนต์ไฟฟ้า, การสื่อสาร หรืออาวุธสงครามสมัยใหม่
รัฐบาลทั่วโลกพยายามควบคุมเงินเฟ้อ ขณะเดียวกับที่รักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจ อาจเรียกได้ว่า ปี 2565 เป็นปีสุดท้ายของช่วงเวลาเงินถูก ดอกเบี้ยทั่วโลกในรอบ 10 ปีกว่าที่ผ่านมาอยู่ในระดับต่ำ เพราะการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบของธนาคารกลางทั่วโลก ยุคสมัยนั้นจบไปพร้อมกับปี 2565 อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเร็วมากที่สุดในรอบหลายสิปปีในปี 2565 และจะไม่กลับไปต่ำแบบเดิมอีก ธนาคารกลางทั่วโลกจะปรับเป้าหมายเงินเฟ้อใหม่ ซึ่งอาจอยู่ในระดับ ร้อยละ 4 ต่อปี จากเป้าเดิมที่ร้อยละ 2
ในขณะเดียวกัน ราคาพลังงานทั้งปีผันผวนเนื่องจากความไม่แน่นอนของสงคราม ทุกประเทศต้องชั่งน้ำหนักว่าจะเอาพลังงานที่ “ถูก” หรือ “สะอาด” รัฐบาลหลายประเทศในระยะสั้นหันกลับมาใช้พลังงานดั้งเดิมที่ถูกกว่า ปี 2565 จะถูกบันทึกไว้ว่าเป็นปีที่เป้าหมายของสนธิสัญญาปารีสในการควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนอุตสาหกรรม ล้มเหลว
เมื่อหันกลับมามองประเทศไทย เผลอเพียงกระพริบตา รัฐบาลปัจจุบันอยู่มาจะครบสี่ปีแล้ว โจทย์เดิมตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2562 ที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ 3 ปัญหา ยังไม่ถูกแก้ไข ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจยังเป็นปัญหาใหญ่ โควิดยิ่งซ้ำเดิมสถานการณ์ คนจนและคนชั้นกลางมีหนี้สินมากขึ้น ขณะที่บริษัทใหญ่ๆ ไม่ได้ทำกำไรลดลงเลย ช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนกว้างขึ้นไปทุกที ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศตกต่ำลงเมื่อเทียบกับโลก โลกาภิวัฒน์พาโลกเดินหน้าไปทุกวัน ประเทศไหนเดินช้ากว่าโลกคือถอยหลัง แต่เรายังคงหาเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไม่เจอ และนั่นนำมาสู่ปัญหาสุดท้าย คือการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดยังไม่เป็นของประชาชน พรรคทหารยังพยายามสืบทอดอำนาจ แม้จะแบ่งเป็นสองพรรคก็ตาม อำนาจสมาชิกวุฒิสภาในการเลือกนายกรัฐมนตรี ยังเป็นโจทย์ใหญ่ที่บิดเบือนการตัดสินใจของพรรคการเมืองและประชาชนจนถึงในปัจจุบัน
ประเทศไทยยังไม่หมดหวัง เรายังดีกว่านี้ได้ ผมเชื่ออย่างนั้นมาเสมอ ปีใหม่นี้ก็ยังเชื่อเช่นนั้น ปี 2566 เป็นปีแห่งความหวัง เป็นปีแห่งความเปลี่ยนแปลง ผมหวังอย่างยิ่งว่า ปี 2566 จะนำมาซึ่งสันติภาพในการเมืองโลก และประชาธิปไตยในประเทศไทย
ขอต้อนรับกระต่ายประชาธิปไตย ขอให้พี่น้องประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ใช้ชีวิตอย่างมีความหวังกำลังใจ มีงานที่ดีทำ มีความมั่นคงในชีวิต พวกเราสัญญาเช่นเดิมว่าจะยืนข้างประชาชนตลอดปี 2566
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สายแคมป์ปิ้งห้ามพลาด เช็กจุดกางเต็นท์ฟรี 37 จุดทั่วประเทศไทยช่วงปีใหม่
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลมุ่งสนับสนุนการท่องเที่ยวภายในประเทศ เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน
รัฐบาลตีปี๊บแถลงผลงาน 90 วัน 12 ธ.ค. มั่นใจประเทศไทยไปได้สวย
รัฐบาลแถลงผลงาน 90 วัน “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง“ พฤหัสนี้ มั่นใจประเทศไทยไปได้สวย หลังพบทุกมิติของประเทศคึกคัก คาดจีดีพีปีหน้าเติบโตสู้ประเทศในอาเซียนได้แน่
ไทยบนเส้นทาง Data Center Hub: ปลดล็อคศักยภาพ สู่ "Digital Thailand" อย่างยั่งยืน
ปี 2567 นับเป็นปีแห่งจุดเปลี่ยนสำคัญบนแผนที่ Data Center โลก เมื่อยักษ์ใหญ่สายเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น AWS, Microsoft, Google ต่างประกาศลงทุนสร้าง Data Center ในประเทศไทย
คปท. ยุ ‘ธนาธร’ ตั้งกองกฐินสู้ ‘ทักษิณ’ อย่างจริงจัง อย่าสู้ไปเจรจาไป
แกนนำ คปท. ยุ ธนาธร ตั้งกองกฐินอีกกองสู้กับ ทักษิณไปเลย สู้ให้จริงจัง อย่าสู้ไปเจรจาไป
‘แม้ว’ ย่ามใจไม่เลี้ยงหลาน ทำตัวเป็น ‘ส่วนหนึ่งของปัญหา’
แม้แต่ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ประธานคณะก้าวหน้า และอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ยังตั้งคำถามต่อ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี
'ธนาธร' โต้ 'ทักษิณ' รู้ดีมีเหตุผลอื่นที่ 'ก.ก.-พท.' ไม่ได้ร่วมรัฐบาลกัน แต่ใช้ม.112เป็นข้ออ้าง
'ธนาธร' โต้ 'ทักษิณ' เหตุที่ 'ก้าวไกล-เพื่อไทย' ไม่ได้ร่วมรัฐบาลกัน ไม่เกี่ยวกับม.112 ไม่มีอยู่ในเอ็มโอยู เผยตัวเองรู้ดีที่สุดว่ามีเหตุผลอื่น แล้วใช้ม.112 เป็นข้ออ้าง ซัด 'ทักษิณ' น่าจะเป็นคนที่เข้าใจปัญหาโครงสร้างดีที่สุด แทนที่จะร่วมแก้ปัญหา กลับเลือกเป็นส่วนหนึ่งของปัญหา