ดร.เสรี จวก 'ปลัดมหาดไทย' บูลลี่ผู้ใต้บังคับบัญชา!

30 ธ.ค.2565 - ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า จะไม่พอใจอะไรของการทำงานของลูกน้อง ทำไมไม่เรียกมาพูดคุยส่วนตัว จะมาด่ากันออกสาธารณะแบบไม่ให้เกียรติลูกน้อง อย่างที่ทำนั้นไม่เหมะสม

การยกตนข่มท่านแบบที่ทำอยู่ไม่ใช่สิ่งที่ผู้บังคับบัญชาควรทำ

การด่าลูกน้องด้วยคำหยาบและเป็นการ bully ลูกน้อง มันส่อนิสัยใจคอของคนพูด อย่างที่โบราณเขาพูดว่า "สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล" นั่นแหละ

การพูดประชดให้ภูเก็ตถอนตัวจากการเข้าชิงเป็นเจ้าภาพจัดงาน World Expo นั้นเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง แบบนี้ถ้าคนพิจารณาได้ข้อมูลนี้ เขาจะคิดอย่างไร

การบอกว่าจะเขียนจดหมายถึงคณะกรรมการเองว่าภูเก็ตไม่เหมาะจะเป็นเจ้าภาพ World Expo แม้จะพูดแบบประชด ก็เป็นการพูดที่ไม่สะสม

การออกมาชี้แจงในภายหลังนั้น ยากที่จะเข้าใจและยอมรับได้ ถ้าต้องการให้เข้าใจว่าที่พูดนั้นต้องการกระตุ้นการทำงานของลูกน้อง ทำไมไม่ใช่ท่าทีที่ดีกว่านี้

ทำแบบนี้เดี๋ยวก็จะมีคนออกมาเรียกร้องให้นายกฯ หรือรัฐมนตรีมหาดไทยรับผิดชอบในฐานะเป็นผู้ที่แต่งตั้งท่านผู้นี้เข้ามาตามพฤติกรรมที่ทำมาบ่อยๆ

คนเราก่อนพูด เราเป็นนายคำพูด แต่พอพูดแล้ว คำพูดเป็นนายเรา

การสอนงานแบบสุภาพและให้เกียรติลูกน้อง มันทำได้นะคะ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือน 'ทักษิณ' มีบทบาทการเมืองมากเกิน จะกระทบภาวะผู้นำของ 'เศรษฐา'

นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ยอมรับว่า สาเหตุที่ไปถอนฟ้องนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตามความผิด ม.157 กรณีเสนอชื่อ พล.ต.อ.ต่อศั

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 30: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)

ผู้เขียนขอหยิบยกรายงานจากสถานทูตอื่นๆที่มีต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อจากตอนที่แล้ว โดยผู้เขียนได้คัดลอกมาจากหนังสือ

'ปิยบุตร' ดักคอพรรคจ้องดูด สส.งูเห่า เอาไปก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อเสถียรภาพรัฐบาล

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ในฐานะคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ สัดส่วนพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมนัดแรก

'อนาคตไกล' คลี่ปม 'ลุงชาญ' กรณีการสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่

“อนาคตไกล” คลายปม “ชาญ พวงเพ็ชร”การสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่เป็นดุลพินิจของศาล คำชี้ขาดคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ผูกพันองค์กรอื่น