'อัษฎางค์' กางไทมไลน์แฉจะๆ 'ปฏิรูปซ่อนเร้น-ประชาธิปไตยจำแลง'

“อัษฎางค์ ยมนาค” เขียนบทความโดยไล่เรียงไทม์ไลน์ให้เห็นกันชัดๆ ในเรื่องการปฏิรูปและประชาธิปไตยจำแลงที่มีเป้าหมายเดียวคือพาแม้วกลับไทยและสร้างระบอบสาธารณรัฐ สงสาร “ไอติม” ถูกหลอกเป็นเหยื่อ

18 พ.ย.2564 - นายอัษฎางค์ ยมนาค ราษฎรแห่งราชอาณาจักรไทย นักวิชาการอิสระโพสต์เฟซบุ๊กในรูปแบบบทความหัวข้อ ”การปฏิรูปที่ซ่อนเร้น” และ”ประชาธิปไตยจำแลง” มีเนื้อหาว่า Timeline การต่อสู้เพื่อการปฏิรูปที่ซ่อนเร้นและประชาธิปไตยจำแลง กับ 2 ภาระกิจ Mission Impossible เอาทักษิณกลับบ้านและสร้างสาธารณรัฐไทย

การอ้างการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยตลอดเวลากว่าสิบปี ความจริงเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจำแลง
ด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริงจากการทุจริตคอรัปชั่น จากยุคแดงทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ จนถูกรัฐประหาร แล้วสร้างสถานการณ์เผาบ้านเมือง สู่ส้มธนาธร กับวาทกรรมปฏิรูปสถาบันฯ ที่ศาลวินิจฉัยว่าเป็นการปฏิรูปอันซ้อนเร้นการล้มล้างการปกครอง

“ทักษิณ ชินวัตร ใครรักใคร”

สถานการณ์ความรุนแรงทางการเมือง และความวุ่นวายแตกแยกของสังคมมีจุดเริ่มต้นเมื่อชายชื่อทักษิณ ชินวัตรได้จัดตั้งรัฐบาล 2541 เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก 2548 ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง

ตลอดช่วงเวลาที่รัฐบาลทักษิณครองอำนาจ รัฐบาลของเขาถูกกล่าวหามากมาย เช่น ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเผด็จการรัฐสภา มีผลประโยชน์ทับซ้อน และควบคุมสื่อ

ส่วนข้อกล่าวหาต่อตัวทักษิณ มีทั้งว่าเลี่ยงภาษี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนขายทรัพย์สินของบริษัทไทยให้นักลงทุนต่างชาติ กรณีขายหุ้นชินคอร์ปเป็นชนวนเหตุให้เกิดการประท้วงใหญ่โดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี 2549

วันที่ 19 กันยายน 2549 เกิดรัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ทำให้ทักษิณพ้นจากตำแหน่ง และถูกอายัดทรัพย์รวม 76,000 ล้านบาท ด้วยข้อหาว่าร่ำรวยผิดปกติขณะอยู่ในตำแหน่ง

“กฎหมายนิรโทษกรรมฯ” ภาระกิจ Mission Impossible เอาทักษิณกลับบ้าน

ทักษิณหนีออกไปต่างประเทศ เพราะไม่ยอมรับผิด แต่ก็ไม่กล้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมเพื่อพิสูจน์ตนเอง และยังคงเดินเกมการเมืองใต้ดินผ่านทางพรรคการเมืองนอมินีของตน จนสามารถผลักดันให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวขึ้นสู้ตำแหน่งนายกนายกรัฐมนตรี

ซึ่งเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่ามีภารกิจ Mission Impossible เพื่อพาทักษิณกลับบ้าน ด้วยการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมฯ เมื่อปี 2556 ซึ่งนำมาสู่การประท้วงกฎหมายนิรโทษกรรมความผิดย้อนหลังไปถึงปี 2547

นอกจากนี้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สอบสวนการฉ้อราษฎร์บังหลวง พ.ศ. 2557 ในโครงการรับจำนำข้าว ที่สร้างความเสียหายต่อชาติหลายแสนล้านบาท

วันที่ 23 มกราคม 2558 สภานิติบัญญัติแห่งชาติลงมติถอดถอนยิ่งลักษณ์ออกจากตำแหน่ง

วันที่ 19 มีนาคม 2558 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำสั่งประทับรับฟ้องคดีหมายเลขดำที่อัยการสูงสุดยื่นฟ้องยิ่งลักษณ์

วันที่ 25 สิงหาคม 2560 ซึ่งเป็นวันที่ศาลฯ นัดอ่านคำพิพากษา แต่ยิ่งลักษณ์หลบหนีออกนอกประเทศไปก่อนวันนัด

“คดีโกงชาติของพี่น้องตระกูลชิน ที่คนไทยไม่ยอมชิน” หลังจากที่ทักษิณ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2544 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า ทักษิณ ชินวัตร จงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ ซึ่งมีความผิดตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 มาตรา 295 ซึ่งเป็นความผิดที่จะต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี คดีนี้ถูกเรียกว่า คดีซุกหุ้น
วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2549 ระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ของทักษิณ ครอบครัวชินวัตรและดามาพงศ์ ขายหุ้นของ บมจ.ชินคอร์ปอเรชั่น ที่ครอบครองอยู่ทั้งหมด ให้แก่บริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ จำกัด (พีทีอี)

โดยมีการแก้ไขกฎหมายที่ว่าด้วยการขายหุ้นในช่วงไม่กี่วันก่อนหน้านั้น เป็นการเอื้อประโยชน์ รวมทั้งการไม่ต้องเสียภาษีรายได้จากผลกำไรในการขายหุ้น

เหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นจุดสำคัญที่ทำให้กระแสการขับทักษิณออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งนำโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขยายตัวออกไปในวงกว้าง

ในปี 2563 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอ่านคำพิพากษาลับหลังจำเลยให้จำคุก 5 ปีฐานแปลงสัญญาสัมปทานกิจการโทรคมนาคม เป็นภาษีสรรพสามิตเอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจของตน

“คดีโกงชาติของทักษิณ” ได้แก่
• คดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินย่านรัชดาภิเษก คุณหญิงพจมานประมูลซื้อที่ดินริมถนนเทียมร่วมมิตร ใกล้กับศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เนื้อที่ประมาณ 33 ไร่ ราคา 772 ล้านบาท จากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง โดย ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ร่วมลงนามยินยอมในฐานะคู่สมรส
ทักษิณ" สั่งการเลื่อนวันหยุดปีใหม่ 2546-47 โดยให้วันที่ 31 ธันวาคม 2546 ให้เป็นวันทำงาน และให้ไปหยุดวันที่ 2 มกราคม 2547 แทน เพราะถ้าหากการโอนกรรมสิทธิ์เสร็จไม่ทัน 31 ธ.ค. 46 ผู้ซื้อคือคุณหญิงพจมานจะเสียค่าธรรมเนียมการโอนเพิ่มอีกหลายล้านบาท ศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 2 ปี

• คดีทุจริตโครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว 2 ตัว

• คดีสั่งการให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim Bank) อนุมัติเงินกู้สินเชื่อ 4,000 ล้านบาทแก่รัฐบาลสหภาพพม่า ศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี

• คดีให้บุคคลอื่น (นอมินี) ถือหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน ศาลพิพากษาลงโทษจำคุก 5 ปี

• คดีกล่าวหาการอนุมัติสั่งซื้อเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อนุมัติการสั่งซื้อเครื่องบินแบบ A340-500 จำนวน 4 ลำ เมื่อปี 2545-2547 และปี 2554 อนุมัติโครงการจัดหาเครื่องบิน จำนวน 75 ลำ ไม่คุ้มค่าทำให้การบินไทยมีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น

• คดีทุจริตการขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ในสมัยยิ่งลักษณ์ ที่สร้างความเสียหายต่อรัฐหลายแสนล้านบาท มีทักษิณ อยู่เบื้องหลังในการสั่งการให้มีโครงการระบายข้าวจีทูจี

“ประชาธิปไตยจำแลง” ด้วยภาระกิจ Mission Impossible เอาทักษิณกลับบ้าน ตลอดเวลาของการประท้วงทั้งในปี 2552 และ 2553 ทักษิณ พรรคเพื่อไทยและขบวนการคนเสื้อแดง ก่อการชุมนุมใหญ่ หวังล้มรัฐบาล
โดย ทักษิณ ชินวัตร แสดงตัวอย่างชัดเจนว่า สนับสนุนการประท้วงด้วยการ video call เข้ามาสั่งการ และให้กำลังใจผู้ประท้วงหลายครั้ง

ทั้งมีการสั่งการให้ไปรวมตัวกันที่ศาลากลางจังหวัดต่างๆ หากมีการสลายการชุมนุม และยังประกาศว่าหากมีการใช้อาวุธสลายการชุมนุม จะออกมานำการชุมนุมด้วยตัวเอง ปฏิบัติการนำนักโทษชายทักษิณกลับบ้าน และกลับเข้ามามีอำนาจโดยพ้นจากความผิดทุกประการ ด้วยการก่อความรุนแรงทุกรูปแบบ ปิดถนนปิดศูนย์เศรษฐกิจการค้า เผาบ้านเผาเมือง

ที่เลวร้ายที่สุด คือการจะเปลี่ยนประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทยใหม่ โดยเอาเหตุการณ์การก่อความรุนแรงเผาบ้านเผาเมืองปี 2553 เป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เอาคนผิดคนเผาบ้านเผาเมืองเป็นวีรชน ยกย่องทักษิณผู้ร้ายหนีคดีให้กลายเป็นผู้นำประชาธิปไตย เอาผู้รักษากฏหมาย “อภิสิทธิ์และสุเทพฯ กปปส พันธมิตรเพื่อประชาธิปไตย“ มาเป็นแพะรับบาปแทนตนเอง

“ธนาธร ผู้มาสานต่อ Mission Impossible “ การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจำแลง กับ 2 ภาระกิจ Mission Impossible เอาทักษิณกลับบ้าน และสร้างสาธารณรัฐไทยของพรรคเพื่อไทยที่สร้างสถานการณ์ความวุ่นวายเผาบ้านเผาเมือง แต่ภารกิจนั้นไม่สำเร็จ ในที่สุดถูกสานต่อนักการเมืองมหาเศรษฐีหน้าใหม่ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และพรรคอนาคตใหม่ โดยธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งปัจจุบันคือ พรรคก้าวไกลและคณะก้าวหน้า คือผู้เล่นตัวใหม่ใน Mission Impossible เอาทักษิณกลับบ้านและสร้างสาธารณรัฐไทย กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยจำแลง

ธนาธร ลั่นคืนความเป็นธรรมให้'ทักษิณ'พากลับบ้านรื้อคดีใหม่ วันที่ 3 มีนาคม 2562 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ให้สัมภาษณ์บางกอกโพสต์ ออนไลน์ เพื่อเป็นการโชว์วิสัยทัศน์สร้างประเทศให้เป็นประชาธิปไตยทั้งนี้ตอนหนึ่งของการให้สัมภาษณ์ นายธนาธรเรียกร้องความเป็นธรรมให้นายทักษิณ ชินวัตร
“คดีคุณทักษิณ มันชัดเจนว่าคดีอาญาที่ฟ้องคุณทักษิณทำขึ้นในรัฐบาลทหาร เราจึงขอเสนอว่า เราต้องคืนความยุติธรรมให้เขา เอาทักษิณกลับมา”

“ดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาสู่ความขัดแย้งทั้งปวง” หลังจากปฏิบัติการ 2 ภารกิจ Mission Impossible ที่ยังเคยประสบไม่สำเร็จ เมื่อธนาธน พรรคก้าวไกลและคณะก้าวหน้า ลงมาเล่นก็เพิ่มดีกรรความร้อนแรงให้มากขึ้นด้วยการดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาสู่ความขัดแย้งทางการเมือง และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นแพะรับบาปจากความผิดทั้งปวงที่นักการเมืองเป็นผู้กระทำ ว่ามีพระมหากษัตริย์อยู่เบื้องหลังและเป็นตัวถ่วงในการพัฒนาชาติด้วยการปลุกระดมให้ผู้คนและเยาวชนเดินขบวนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเลิกกฎหมายมาตรา 6 และมาตรา 112 ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์จากความขัดแย้งกับการเมืองและสังคม ด้วยการอ้างคำว่า “ปฏิรูป” ซึ่งถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า เป็นการปฏิรูปที่ซ่อนเร้นความพยายามในการล้มล้างการปกครอง อันเป็นความผิดฐานกบฏ ซึ่งมีหลักฐานอันเป็นที่ประจักษ์มากมายทั้งในโลกจริง โลกออนไลน์และโซเชียลมีเดีย ว่ากลุ่มคนที่สังคมเรียกว่าขบวนการคนเสื้อแดงและสามกีบ มีความต้องการที่จะบันทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ และล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไปสู่ระบอบสาธารณรัฐ

”การปฏิรูปที่ซ่อนเร้น” และ”ประชาธิปไตยจำแลง” ภาระกิจ Mission Impossible ที่เริ่มต้นจากทักษิณ พรรคเพื่อไทยและคนเสื้อแดง และถูกสานต่อโดยธนาธร พรรคก้าวไกลและคณะก้าวหน้าที่จะพาทักษิณกลับบ้าน และสร้างสาธารณรัฐไทย เป็นกระบวนการ”การปฏิรูปที่ซ่อนเร้น” และ”ประชาธิปไตยจำแลง” ที่มีเยาวชนคนหนุ่มสาวและผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองอีกมากมายหลงกลกับการดึงสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมาสู่ความขัดแย้ง สร้างข้อมูลบิดเบือนเพื่อบันทอนและทำลายความน่าเชื่อถือต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อนำไปสู่การล้มล้างการปกครอง ด้วยการเรียกร้องประชาธิปไตยและปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่”ซ้อนเร้นและจำแลง”
หนึ่งในผู้นำของคนรุ่นใหม่ที่หลงกลนี้คือไอติม หลานชายอภิสิทธิ์ น้าชายที่เป็นทั้ง ผู้ได้รับอานิสงส์ เป็นนายกรัฐมนตรี “ผู้รักษากฎหมายและบ้านเมือง” ในยามวิกฤติ และในขณะเดียวกันก็ตกอยู่ในฐานะ”เหยื่อ” ของภาระกิจ Mission Impossible เอาทักษิณกลับบ้านด้วยประชาธิปไตยจำแลง แต่ไอติม บัณฑิตเกียรตินิยมจากมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ไม่มีภูมิคุ้มกันใดๆ จากเชื้อโรคร้ายนั้นเลย

ซึ่งไอติม เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่าง ยังมีบัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิตอีกมากมายที่มีความรู้มากล้น แต่ไม่มีปัญญาพิจารณาแยกแยะ ดีชั่ว ถูกผิด กรุงศรีอยุธยาไม่ได้แตกเพราะพม่าข้าศึก แต่แตกเพราะคนไทยแตกแยกและเป็นไส้ศึกฉันใด กรุงเทพมหานครซึ่งไม่มีข้าศึกรุกราน แต่จะล่มสลายก็ด้วยเพราะถูกคนไทยด้วยกันรุกราน และจะล่มสลายด้วยสาเหตุเดียวกันกับสมัยอยุธยาแตกฉันนั้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อิ๊งค์' แค่พยักหน้า ปม รพ.ตร. ไม่ยอมส่งเวชระเบียน 'พ่อนายกฯ' ให้ ป.ป.ช.

'นายกฯอิ๊งค์' ปฏิเสธตอบคำถาม ปม รพ.ตำรวจ ไม่ส่งเวชระเบียนรักษาตัว 'ทักษิณ' หลัง ‘ป.ป.ช.’ ทวงแล้ว 3 ครั้ง ทำแค่พยักหน้ารับทราบ

'ปชน.' ตีปี๊บ! 1 ปีฝ่ายค้านผลงานเพียบ เมินเรตติ้งร่วง โต้ฮั้ว พท.

'พรรคประชาชน' โวผลงานฝ่ายค้าน 1 ปี' เสนอกฎหมาย 84 ฉบับ ตั้งเป้าทำงานผสมผสานได้ทั้ง 'รุก-รับ' ปัดฮั้ว 'เพื่อไทย' เมินผลโพลคะแนนร่วง เปรียบ 'เตะบอล' ต้องรอจบ 90 นาที

ชี้ช่อง ‘รังสิมันต์’ เอาผิดนักโทษเทวดา สมุดบันทึกสีน้ำเงินเล่มใหญ่ หลักฐานมัดความผิดปกติ

ข้อมูลจากเอกสารสมุดบันทึก และรายงานจากแอพพลิเคชั่นไลน์แทน ถ้าไม่มีหลักฐานชิ้นนี้ สามารถสันนิษฐานได้เลยว่ามีเหตุผิดปกติเกิดขึ้น

เอาแล้ว 'ไพศาล' ปูด ปปช. เตรียมจับผู้บริหารรพ.ตำรวจ ปมชั้น 14

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กส่วนตัว Paisal Puechmongkol มีใจความว่า ปปช.เตรียมแจ้งความจับ ผู้บริหารโรงพยาบาลตำรวจ

เอ็มโอยู44-เอื้อนายทุน จุดจบรัฐบาลไม่ครบเทอม

หากอ้างอิงข้อมูลจากนิด้าโพลเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา หัวข้อ รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ อยู่ครบเทอมหรือไม่ โดยประชาชนมากกว่า 57.71% มองว่าอยู่ไม่ครบเทอม ประกอบด้วยสัดส่วนร้อยละ