25 พ.ย.2565 - ที่รัฐสภา นายโกวิทย์ พวงงาม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังท้องถิ่นไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกระจายอำนาจ การปกครองท้องถิ่น และการบริหารรูปแบบพิเศษ สภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายสฤษฏ์พงษ์ เกี่ยวข้อง ส.ส.กระบี่ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะกมธ. ร่วมกันแถลงจุดยืนขอเสนอให้ทบทวนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การเข้าชื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น และเห็นด้วยที่จะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นอิสระ
นายโกวิทย์ กล่าวว่า ขอเรียกร้องให้คณะกมธ.ฯถอนร่างพ.ร.บ.การเข้าชื่อถอดถอนฯ ที่ค้างอยู่ในการพิจารณาของสภาฯ วาระ 2 - 3 ออกไป เพราะมีปัญหามาตลอด ตั้งแต่ประเด็นการเปิดโอกาสให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ ตั้งคณะกรรมสอบสวนสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น ล่าสุดยังมีประเด็นให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเข้าชื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งหากครบตามเกณฑ์จะทำให้หลุดจากตำแหน่งทันที ปัญหาคือมีการเปิดเผยรายชื่อผู้เข้าชื่อถอดถอนด้วย ซึ่งเป็นข้อถกเถียงกันว่าเปิดเผยได้หรือไม่ ซึ่งของเดิมการลงคะแนนจะเป็นเรื่องลับ ทั้งนี้ หากเปิดเผยอาจประเด็นที่นำมาสู่ความขัดแย้ง เพราะจะรู้หมดว่าใครเข้าชื่อถอดถอนจนเกิดปัญหาความไม่พอใจได้ เราจึงเสนอให้ทบมวนถอนร่างดังกล่าวกลับไปพิจารณาให้รัดกุมรอบคอบมากขึ้น ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หมวด 14 ว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จะมีการพิจารณาวันที่ 29 – 30 พ.ย.นี้ เราเห็นว่าจะเป็นประโยชน์หากแก้หมวดนี้ เพื่อให้ท้องถิ่นมีอิสระในการกำหนดนโยบาย มีอิสระในการบริหารงาน จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลหยิบยกกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูประบบราชการมาพิจารณา ดังนั้น เราเห็นว่าการทำหน้าที่ของสภามีประโยชน์กับประชาชนอย่างมาก หากยุบสภาพี่น้องประชาชนจะเสียประโยชน์หลายเรื่อง ตนอยากเรียกร้องให้ส.ส. ทำหน้าที่ต่อไปอย่างแข็งขัน เพื่อมีส่วนร่วมในการผลักดันกฎหมายสำคัญให้ประชาชน
นายสฤษฏ์พงษ์ กล่าวว่า ถ้าเราผ่านร่างกฎหมายการเข้าชื่อถอดถอนฯ ออกไปโดยไม่ศึกษารายละเอียด จะทำให้เกิดความขัดแย้งเรื่องการแข่งขันในตำแหน่งอย่างรุนแรง อาจถึงขั้นทำร้ายเข่นฆ่ากัน เนื่องจากมีการเปิดเผยรายชื่อซึ่งการถอดถอนเป็นเรื่องการทำลายอำนาจ เป็นความเห็นต่างอย่างรุนแรง เราจึงไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้ และอยากให้ถอนร่างกฎหมายดังกล่าวออกไปทบทวน ส่วนความเห็นเรื่องยุบสภา ตนเห็นว่าส.ส.ควรใช้เวลาในการทำงานฝ่ายนิติบัญญัติอย่างเต็มที่ในการออกพ.ร.บ.ต่างๆ ซึ่งปัญหาสภาล่มทำให้เสียโอกาสในการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ที่ค้างอยู่ดังนั้น การยุบสภาโดยใช้เหตุผลทางการเมือง เพื่อสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบจึงไม่เกิดประโยชน์ต่อประเทศ แต่ควรใช้อายุสภาที่เหลือยู่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย และแก้กฎหมายที่ล้าสมัย เพื่อก่อให้เกิดโอกาสรายได้ความมั่นคงแก่ประชาชน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทักษิณ' ยันพรรครัฐบาลไม่แตะ 112 เผยเคยเตือนสติ 'ธนาธร' มาแล้ว!
"ทักษิณ" เผยพรรคร่วมรัฐบาล ลงสัตยาบันไม่แตะ มาตรา 112 โอดตัวเองตกเป็นเหยื่อเพราะถูกหมั่นไส้ เคยคุย "ธนาธร" ขอให้ช่วยกันทำเพื่อบ้านเมือง หากจะแก้กฎหมายควรทำทีละขั้นตอน อย่าไปมุ่งหาเสียง บางทีจุดโฆษณาอันตรายกว่าสิ่งที่ตั้งใจทำ
'เสี่ยหนู' ลั่น 'เพื่อไทย-ภูมิใจไทย' ไม่เคยขัดแย้งปมที่ดินเขากระโดง!
'เสี่ยหนู' ยัน พท.-ภท. ไม่เคยขัดแย้งปมเขากระโดง ขอคนไม่อยู่ในวงอย่าคาดคะเน ชี้ไม่มีเหตุผลต้องปกป้องผลประโยชน์ใคร โอดกว่าจะนั่งคุม มท.แทบตาย ไม่ให้ใครมาด่าสาดเสียเทเสีย
3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยื่นหนังสือ เลขาธิการพรรคภูมิใจไทย แก้ไขปัญหาในส่วนของท้องถิ่น 4 เรื่อง
วันที่ 12 พ.ย.2567 ที่พรรคภูมิใจไทย คณะกรรมการบริหารพรรค นำโดยนายไชยชนก ชิดชอบ เลขาธิการพรรค, นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ รองหัวหน้าพรรค, นายเจเศรษฐ์ ไทยเศรษฐ์ รองเลขาธิการพรรค, นางสาวพิมพฤดา ตันจรารักษ์ รองเลขาธิการพรรค, นายกรวีร์
'สุริยะ' ลั่น รฟท.ไม่ยอมเสียที่ดินให้ใคร ขอให้จบในชั้นเจ้าหน้าที่ อย่าขยายประเด็นการเมือง
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คมนาคม ให้สัมภาษณ์กรณีกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนสิทธิ์ที่ดินเขากระโดง ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)และกรมที่ดิน
ไร่ละพันบาท คืนชาวนา ! “แนน บุณย์ธิดา” เผย สส.พรรคภูมิใจไทย รับทราบปัญหาชาวนา ต้องการโครงการช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 นางสาวแนน บุณย์ธิดา สมชัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดอุบลราชธานี เขตเลือกตั้งที่ 8 ในฐานะโฆษกพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคภูมิใจไทย ได้รับทราบปัญหาของพี่น้องชาวนา
'ชูศักดิ์' ลั่นหาทางแก้รัฐธรรมนูญให้เร็วขึ้น เสร็จในรัฐบาลนี้
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ว่า ในส่วนของพรรคเพื่อไทย ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ไปแล้วว่าจะใช้เสียงข้างมากชั้นเดียว ก็คงจะยืนตามนั้น