เครือเนชั่น แจ้นร้องสมาคมนักข่าวฯ บอกถูกพรรครวมไทยสร้างชาติ 'คุกคาม'!

24 พ.ย.2565 - กองบรรณาธิการเนชั่นทีวี เนชั่นออนไลน์ และสื่อในเครือ ยื่นหนังสือให้สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย พิจารณาข้อเท็จจริงการนำเสนอข่าวของสื่อในเครือเนชั่น กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เตรียมเข้าสังกัดพรรครวมไทยสร้างชาติ มีเนื้อหาดังนี้

ตามที่พรรครวมไทยสร้างชาติ ทำกราฟฟิกแบนเนอร์เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ของพรรค และส่งไปยังกลุ่มไลน์ของสื่อมวลชน เพื่อจงใจกล่าวหาว่า ข่าวการสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นเฟคนิวส์ โดยได้แนบลิงค์ข่าวของเนชั่นออนไลน์ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 เรื่อง “บิ๊กตู่" สมัครเป็นสมาชิก "พรรครวมไทยสร้างชาติ"
https://www.nationtv.tv/news/politics/378893620

จนเกิดกระแสวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งข้อเท็จจริงของข่าวนี้ และการกระทำของพรรครวมไทยสร้างชาตินั้น

กองบรรณาธิการเนชั่นทีวี และเนชั่นออนไลน์ ตลอดจนสื่อทุกสื่อของเครือเนชั่น ยืนยันว่า การนำเสนอข่าวนี้ทั้งในแพลตฟอร์มออนไลน์ และทีวี ได้ปฏิบัติตามหลักจริยธรรม จรรยาบรรณ และมาตรฐานทางวิชาชีพสื่อสารมวลชน ด้วยอุดมการณ์ “สถาบันสื่อมืออาชีพ” โดยได้ตรวจสอบข้อมูลข้อเท็จจริงในข่าว และเปิดโอกาสให้หัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติได้ชี้แจง ซึ่งก็ได้นำเสนอคำชี้แจงของหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติไปพร้อมกันด้วย

https://www.bangkokbiznews.com/politics/1039313

การทำหน้าที่สื่อมวลชน อย่างถูกต้อง อาจจะไม่ถูกใจ บางคนบางกลุ่ม ดังนั้นควรแยกแยะ ออกมาให้ชัดเจนว่า เนชั่นทีวี ปฎิบัติหน้าที่’ไม่ถูกต้อง’อย่างไรบ้าง

ฉะนั้นการที่พรรครวมไทยสร้างชาติได้ทำแบนเนอร์ กล่าวหาใส่ร้ายว่าการนำเสนอข่าวของเครือเนชั่นเป็น “เฟคนิวส์” หรือ “ข่าวปลอม” พร้อมกระจายไปตามช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ของพรรค และกลุ่มไลน์สื่อมวลชน ถือว่าเป็นการ “คุกคามสื่อ” รูปแบบหนึ่ง และเป็นการจงใจทำลายความน่าเชื่อถือของสื่อ ทั้งๆ ที่บุคลากรของพรรคสามารถชี้แจง อธิบาย ปฏิเสธข่าว รวมถึงใช้สิทธิทางกฎหมายดำเนินคดีกับสื่อเครือเนชั่นได้ หากเห็นว่าการเสนอข่าวของเครือเนชั่นก่อความเสียหายให้กับพรรค แต่ทางพรรคกลับใช้วิธีการป้ายสี ทำลายความน่าเชื่อถือของสื่อแทน ซึ่งมาตรฐานการดำเนินการเช่นนี้ ถือเป็นอันตรายต่อการทำหน้าที่สื่อสารมวลชน ไม่ว่าแขนงใด

ยิ่งไปกว่านั้น การให้สัมภาษณ์ในเวลาต่อมาของผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะบุคคลที่ตกเป็นข่าวเอง รวมถึง นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย ก็เป็นแนวแบ่งรับแบ่งสู้ และไม่ได้ปฏิเสธโดยสิ้นเชิงเกี่ยวกับการเข้าเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ

ทั้งนี้ “ข่าวปลอม” มักถูกเขียนและพิมพ์เผยแพร่โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงบุคคลในทางที่ผิด สร้างความเสียหายต่อหน่วยงาน นิติบุคคล หรือบุคคล หรือเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงิน หรือเพื่อชักจูงการเมือง ซึ่งผู้สร้างข่าวปลอมมักใช้ข้อความพาดหัวในลักษณะเร้าอารมณ์ หลอกลวง หรือกุขึ้นทั้งหมด เพื่อเพิ่มยอดผู้อ่าน การแบ่งปันออนไลน์ และรายได้จากคลิกอินเทอร์เน็ต ซึ่งในกรณีหลังคล้ายกับพาดหัว “คลิกเบต” ออนไลน์ ในการเร้าอารมณ์ และอาศัยรายได้จากการโฆษณาจากกิจกรรมนี้ โดยไม่สนใจว่าเรื่องที่เสนอไปนั้นจะถูกต้องหรือไม่ ซึ่งจากนิยามของ “ข่าวปลอม” หรือ “เฟคนิวส์” แตกต่างจากการรายงานข่าวของสื่อเครือเนชั่นอย่างสิ้นเชิง

กองบรรณาธิการเนชั่นทีวี เนชั่นออนไลน์ และสื่อในเครือ จึงขอให้สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย พิจารณาเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานในการทำหน้าที่สื่อสารมวลชน และการแสดงท่าทีของพรรคการเมืองต่อข่าวสารที่พาดพิงไปยังพรรคการเมืองนั้นๆ ต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าก่อนหน้านี้ เฟซบุ๊ก "พรรครวมไทยสร้างชาติ United Thai Nation Party" โพสต์ข้อความระบุว่า "ตามที่มีข่าวใน www.nationtv.tv ว่า "บิ๊กตู่" สมัครเป็นสมาชิก "พรรครวมไทยสร้างชาติ" เรียบร้อยแล้ว พรรครวมไทยสร้างชาติขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง #FAKE NEWS" ซึ่งเป็นการกล่าวพาดพิงการนำเสนอข่าวของเว็บไซต์เนชั่นทีวี ที่นำเสนอข่าวหัวข้อ ""บิ๊กตู่" สมัครเป็นสมาชิก "พรรครวมไทยสร้างชาติ" เรียบร้อยแล้ว" เมื่อวันที่ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.ธนกร หนุนประกาศขยายพื้นที่นำร่องอีก 10 จังหวัดแก้ยาเสพติด

นายธนกร วังบุญคงชนะ รองหัวหน้าพรรคและสส.บัญชีรายชื่อพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) กล่าวว่า ตนสนับสนุนที่นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล เดินหน้าสานต่อการแก้ปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วน

'เทพไท' เรียกร้องนิรโทษกรรมทุกกลุ่ม รวมคดี 112 ด้วย

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "พรบ.นิรโทษกรรม:ปรองดองจริงหรือ?" ระบุว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.

ดร.เสรี ถามลั่น มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เกิดขึ้นกี่โมง?

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาอดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ทำงานไม่เป็น ไม่เห็นผลงานเชิงประจักษ์ใดๆ ที่หาเสียง

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 45: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร