'แพทยาสภา' ออกกฎผ่าตัดเปลี่ยนเพศไฟเขียวอายุ 18 ปีขึ้นไป!

แพทยาสภาตื่น! ออกข้อบังคับเรื่องจริยธรรมเรื่องผ่าตัดเปลี่ยนแปลงเพศ กำหนดชัดแพทย์ต้องมีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 5 ปี ผ่ามาแล้ว 50 เคส ส่วนใครต้องการเปลี่ยนต้องอายุ 18 ปีขึ้นไป

24 พ.ย.2565 - ศาสตราจารย์เกียรติคุณสมศรี เผ่าสวัสดิ์ นายกแพทยสภา ได้ออกข้อบังคับแพทยสภา
ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับการรักษาเพื่อเปลี่ยนเพศ พ.ศ.2565 เมื่อวันที่ 23 พ.ย.และจะมีผลบังคับใช้ในอีก 360 วัน โดยมีเนื้อหาว่า โดยที่เป็นการสมควรให้มีหลักเกณฑ์การประกอบวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับการรักษาเพื่อเปลี่ยนเพศ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 21 (3) (ช) (ฎ) ประกอบมาตรา 25 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 คณะกรรมการแพทยสภาโดยความเห็นชอบของสภานายกพิเศษแห่งแพทยสภา จึงออกข้อบังคับไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรมเกี่ยวกับการรักษาเพื่อเปลี่ยนเพศ พ.ศ. 2565”

ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 3 ให้ยกเลิกข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่องเกณฑ์การรักษาเพื่อแปลงเพศ พ.ศ. 2552

ข้อ 4 ในข้อบังคับนี้
“การรักษาเพื่อเปลี่ยนเพศ” หมายความว่า กระบวนการในการกระทาเพื่อเปลี่ยนเพศซึ่งประกอบด้วยการให้คำปรึกษาแนะนา การให้ยา การปรับสภาพร่างกายและจิตใจก่อนการผ่าตัดการผ่าตัดและการดูแลคุณภาพชีวิตภายหลังการผ่าตัด โดยหวังผลให้เปลี่ยนร่างกายและจิตใจเพื่อให้สอดคล้องกับเพศสภาพ

“เพศสภาพ” หมายความว่า ความเป็นหญิง ความเป็นชาย ที่มาจากความรู้สึกส่วนตัวโดยอาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิดที่ระบุว่าเป็นเพศหญิง เพศชาย

“การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนเพศ” หมายความว่า การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนเพศชายให้เป็นเพศหญิงหรือเปลี่ยนเพศหญิงให้เป็นเพศชาย โดยอาจเป็นการผ่าตัดอวัยวะแสดงเพศทั้งหมดหรือบางส่วนเพื่อให้สอดคล้องกับการรักษา

“แพทย์เวชศาสตร์ทางเพศ” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม
(1) ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการรักษาเพื่อเปลี่ยนเพศไม่น้อยกว่าห้าปี หรือมีจำนวนผู้รับการรักษาเพื่อเปลี่ยนเพศไม่น้อยกว่าห้าสิบราย โดยแพทยสภารับรอง หรือ
(2) ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่แพทยสภากำหนดหรือรับรอง หรือ
(3) ที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติแสดงว่าเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ทางเพศ เวชศาสตร์ทางเพศในสตรี เวชศาสตร์ทางเพศในบุรุษหรือได้รับหนังสือแสดงว่าเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ทางเพศที่แพทยสภารับรอง

“จิตแพทย์” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสืออนุมัติแสดงว่าเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาจิตเวชศาสตร์ หรือจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น

“ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเปลี่ยนเพศ” หมายความว่า
(1) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผ่าตัดเปลี่ยนเพศ
(2) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมฮอร์โมนข้ามเพศบำบัด

“ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผ่าตัดเปลี่ยนเพศ” หมายความว่า ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการผ่าตัดเปลี่ยนเพศที่แพทยสภารับรอง

“ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมฮอร์โมนข้ามเพศบำบัด” หมายความว่า
(1) สูตินรีแพทย์สาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์
(2) กุมารแพทย์สาขาต่อมไร้ท่อ
(3) กุมารแพทย์สาขาเวชศาสตร์วัยรุ่น
(4) อายุรแพทย์สาขาต่อมไร้ท่อ
(5) แพทย์เวชศาสตร์ทางเพศ
(6) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรฮอร์โมนข้ามเพศบำบัดที่แพทยสภารับรอง

ข้อ 5 การรักษาเพื่อการเปลี่ยนเพศมีหลักเกณฑ์และขั้นตอนตามลาดับ ดังต่อไปนี้
(1) การประเมินและให้คำปรึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนเพศ โดยจิตแพทย์หรือแพทย์เวชศาสตร์ทางเพศ หรือผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมฮอร์โมนข้ามเพศบำบัด
(2) การให้ฮอร์โมนข้ามเพศ โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมฮอร์โมนข้ามเพศบำบัด
(3) การประเมินและให้คำปรึกษาแนะนาก่อนการผ่าตัดเปลี่ยนเพศเพื่อประเมินความสอดคล้องของการดำเนินชีวิตกับเพศสภาพ โดยแพทย์เวชศาสตร์ทางเพศร่วมกับจิตแพทย์ หลังจากผู้จะรับการผ่าตัดเปลี่ยนเพศได้ดำเนินชีวิตมาเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี
(4) การผ่าตัดเปลี่ยนเพศ โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผ่าตัดเปลี่ยนเพศ
(5) การดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนเพศเพื่อตรวจติดตามและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมผ่าตัดเปลี่ยนเพศ
(6) การตรวจติดตามเพื่อให้ฮอร์โมนข้ามเพศในระยะยาวหลังผ่าตัดเปลี่ยนเพศ โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมฮอร์โมนข้ามเพศบาบัด
(7) การตรวจติดตามทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ โดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมเปลี่ยนเพศ
(8) การอื่นใดนอกจาก (1) - (7) เกี่ยวกับการรักษาเพื่อการเปลี่ยนเพศให้เป็นไปตามประกาศแพทยสภา

ข้อ 6 ผู้จะรับการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนเพศตามข้อบังคับนี้จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) อายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์แต่ยังไม่ถึงยี่สิบปี ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้อำนาจปกครองด้วย
(2) อายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์

ข้อ 7 ให้นายกแพทยสภาเป็นผู้รักษาการตามข้อบังคับนี้และให้มีอานาจออกประกาศ คำสั่งเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ให้นายกแพทยสภาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดและ
ให้เป็นที่สุด

บทเฉพาะกาล
ข้อ 8 ให้คณะกรรมการแพทยสภาออกประกาศ คำสั่ง หรือมติอื่นใดที่เกี่ยวกับข้อบังคับนี้ให้แล้วเสร็จภายในสามร้อยหกสิบวันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'โรม' จี้รัฐบาลสั่ง กฟภ. ยุติขายไฟฟ้าให้บริษัทเครือข่ายว้าแดงผลิตยาเสพติด

ที่รัฐสภา มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) โดยมีนายภราดร ปริศนานันทกุล รองประธานสภาฯคนที่2 เป็นประธานการ นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ตั้งกระทู้ถามทั่วไป เรื่

'อนุทิน' ลั่นใครผิดว่าไปตามผิดปมเด็ดชีพ 'สจ.โต้ง'

มท.1 ยังไม่ทราบปม 'สจ.โต้ง' ถูกยิงดับคาบ้าน 'สุนทร วิลาวัลย์' ขอให้ ตร.สืบสวนก่อน ยันทุกอย่างเดินตามกฏหมาย ไม่มีช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นพวกใคร

'นฤมล' ขึงขังไม่ถอยปม 'ไร่ภูนับดาว' แม้ พปชร.ขับ 20 สส.

'นฤมล' ยอมรับ 'ธนดล' เบรกลุยสอบ 'ไร่ภูนับดาว' ชี้ รมช.เกษตรฯ ขอไว้หวั่นถูกโยงกลั่นแกล้งการเมือง ลั่นไม่เกี่ยว พปชร.ยอมขับ 20 สส.ก๊วนธรรมนัส ยันไม่ใส่เกียร์ถอย

อดีต สว. เผยความจริง 4 ข้อเรื่อง MOU 44 ได้พิสูจน์ให้คนไทยเห็นความจริงที่น่าเศร้า

ดร.ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (อดีต สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า MOU 2544 ได้พิสูจน์ให้คนไทยเห็นความจริงที่น่าเศร้า”