อดีตรองอธิการมธ.ชำแหละ'ศาสดาเจียม'สารตั้งต้นมั่วคำวินิจฉัยศาลรธน. จนสามนิ้วตั้่งแต่'น.ศ.-ส.ส.'เอาไปมั่วตาม

‘รศ.หริรักษ์’ แย้ง ‘เจียม’มั่วคำวินิจฉัยศาลรธน. กลายเป็นสารตั้งต้นให้นักศึกษา ยันส.ส.สามนิ้วมั่วตาม ระบุ ข้อความที่ว่า “อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” เพิ่งจะมีขึ้นในรัฐธรรมนูญหลังการรัฐประหาร 2490 ไม่ใช่รัฐธรรมนูญ 2475 ของคณะราษฎร

17 พ.ย.2564- รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก Harirak Sutabutr ว่า อ.สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลโพสต์ใน fb ว่า ในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคดีล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ศาลรัฐธมมนูญมั่ว บอกว่าข้อความที่ว่า “อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” นั้นมีมาตั้งแต่รัฐธรรมนูญฉบับ 2475 แต่ความจริงแล้วข้อความนี้ เพิ่งมีขึ้นในรัฐธรรมนูญหลังการรัฐประหาร 2490

ความจริงเห็นโพสต์นี้ของอ.สมศักดิ์หลายวันแล้ว ใจคิดว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่น่าจะผิดพลาดเช่นนี้ได้ แต่ไม่ได้อยากจะโต้แย้งอะไร แต่พอเห็นแถลงการณ์ของ 23 องค์กรนักศึกษาค้านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เหตุผลข้อหนึ่ง ได้นำเอาสิ่งที่ อ.สมศักดิ์โพสต์มาอ้างคือ

“ประการที่สาม ถ้อยวลีของคำว่า ‘ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข’ ในประเทศไทยนั้น ถูกปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 อันเป็นผลพวงมาจากการรัฐประหารปี พ.ศ. 2490 ดังนั้นเหตุผลการวินิจฉัยของศาลที่อ้างว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 ได้บัญญัติให้เรียกระบอบการปกครองว่า ‘เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจึงไม่อาจเชื่อถือได้”

วันต่อมายังได้เห็น นาย รังสิมันต์ โรม นำเหตุผลเดียวกันนี้ไปอ้างในการสนทนากับ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ในรายการของจอมขวัญ เพื่อจะบอกว่า ศาลรัฐธรรมนูญแค่นี้ยังอ้างผิด แล้วคำวินิจฉัยจะน่าเชื่อถือได้อย่างไร

เมื่อเห็นการทำงานกันเป็นขบวนการเชื่อมโยงกันเช่นนี้จึงอดไม่ได้ที่จะต้องไปอ่านคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญฉบับเต็มดู ซึ่งก็มีข้อความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรัฐธรรมนูญ 2475 อยู่ 2 จุด

จุดที่ 1 มีดังนี้

“ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยมีว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้ง 3 เป็นการใช้สิทธิ์หรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่งหรือไม่ พิจารณาเห็นว่าหลักการตามรัฐธรรมนูญรากฐานระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข คุณค่าทางรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นแก่นของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกอบด้วยคุณค่าสำคัญได้แก่

การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญหมวด 3 ทั้งนี้ การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมีการบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามพุทธศักราช 2475 มีการบัญญัติเรื่อยมาในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ”

จุดที่ 2 มีดังนี้

“โดยหลักการตามมาตรา 49 วรรคหนึ่งบัญญัติเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามพุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495มาตรา 35 และบัญญัติในทำนองเดียวกันในรัฐธรรมนูญทุกฉบับเป็นการวางหลักการเพื่อปกป้องการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากภัยคุกคามอันเกิดจากการกระทำซึ่งเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญในลักษณะมุ่งหมายให้กับกลาย และคุณค่าของรัฐธรรมนูญที่รองรับการดำรงอยู่ของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีให้ล้มเลิกหรือสูญเสียไป”
ถ้าอ่านให้ดีจะเห็นว่า

จุดที่ 1 ศาลหมายถึง การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยมีบัญญัติไว้ครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามพุทธศักราช 2475 มิได้บอกว่า ข้อความว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีบัญญัติไว้ครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับ 2475

จุดที่ 2 ศาลบอกว่า หลักการตามมาตรา 49 วรรค 1 ซึ่งเป็นหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขบัญญัติไว้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอานาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495 ซึ่งหมายถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งตามข้อเท็จจริง ข้อความว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ได้มีการใช้เป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับ 2492 ร่างโดยกลุ่มอนุรักษ์นิยม หลังจากพลโท ผิน ชุณหะวัณ ทำรัฐประหารในปี 2490 ต่อมาในปี 2494 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำรัฐประหารรัฐบาลตัวเอง จึงได้นำรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 กลับมาใช้ ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมในปี 2495 มิได้หมายถึงว่า มีข้อความว่า

” อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 แต่อย่างใด

ดังนั้นสรุปได้ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ผิดพลาด แต่อ.สมศักดิ์อาจอ่านและตีความผิดพลาด หลังจากนั้น การที่บรรดาสาวกนำการตีความนั้นมาใช้ในการโจมตีศาลรัฐธรรมนูญ จึงผิดพลาดเช่นเดียวกัน

นี่คือการทำงานที่สอดรับกันเป็นขบวนการ เมื่อหัวขบวนผิดพลาด หางขบวนจึงผิดพลาดเช่นเดียวกัน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ครช.' บุกกกต.จี้ให้เลื่อนการเลือกสว.จนกว่าศาลรธน.มีคำวินิจฉัย เตือนผิดม.157

ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายพลภาขุน เศรษฐญาบดี ตัวแทนผู้ประสานงานคณะราษฎรไทยแห่งชาติ (ครช.) ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง เลขลงรับที่ 7414 โดยเนื้อหาในหนังสือระบุ

ผ่า 2 คดีดัง 'ยุบก้าวไกล-ถอดเศรษฐา' รอดหรือร่วง!

ทีมพรรคก้าวไกลเขาสู้คดีไว้ถูกต้องตามแนวทางในกฎหมายแล้วนะครับว่า แม้การกระทำจะไม่ถูกต้อง ก็ไม่ได้หมายความว่าต้องยุบพรรคนะครับ รัฐธรรมนูญ ก่อ

อดีตรองอธิการบดี มธ. เชื่อศาล รธน.วินิจฉัยคดี ‘นายกฯ’ เป็นคุณต่อประเทศแน่นอน

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละท่าน มีความรู้ ผ่านการทำงานใหญ่มามากมาย มีความเป็นอิสระ ทั้งยังมีความเที่ยงธรรม

5 เหตุผล 'เศรษฐา' รอดชั่วคราว

ทำไมคุณเศรษฐา ถึงรอดมาจากเงื้อมมือของศาลรัฐธรรมนูญได้ อย่างฉิวเฉียดขนาดนี้ (5:4) ซึ่งผมคิด แล้วก็เดาเอาเองว่ามันน่าจะมีสาเหตุมาจากหลายๆเรื่

'เศรษฐา' รอดยาก! จับตาเอกสารสลค.สำคัญที่สุดในการเข้าข่ายเลี่ยงกฎหมาย

นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กว่า ยังไม่สิ้นกระบวนความ แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับฟ้อง พิชิต ชื่นบาน เพราะลาออกไปก่อน

'พิชิต' ลาออกก็ไม่จบ 'เศรษฐา' ตกที่นั่งลำบาก ส่งสัญญาณถึง 'ทักษิณ' รอรับผลคดี 112

'พิชิต' เด็กปั้นจันทร์ส่องหล้า ลาออกก็ไม่จบ 'จตุพร' คาด 'เศรษฐา' ตกที่นั่งลำบาก ส่อถูกสั่งหยุดทำหน้าที่นายกฯ เชื่อส่งสัญญาณถึง 'ทักษิณ' รอรับผลคดี 112 เย้ยจะสู้หรือมอบตัว ฟาดเกมอภิสิทธิ์ชนเปิดศึกเผชิญหน้า ส่วน ปชช.หดหู่ไม่ได้ประโยชน์อะไร