‘ศรีสุวรรณ’ นำชาวบ้านฉาง ฟ้องศาลปกครอง ระงับรันเวย์ที่ 2 สนามบินอู่ตะเภา ชี้เปลี่ยนแปลงแผนเส้นเสียงทำประชาชนเดือดร้อน
14 พ.ย. 2565 – เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ศาลปกครองกลาง นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน พร้อมกับแกนนำชาวตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จ.ระยอง ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มประชาชนผู้ได้รับผลกระทบทางเสียงและมลพิษทางอากาศจากการพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภาในโครงการก่อสร้างรันเวย์ที่ 2 เข้ายื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองกลาง โดยฟ้องกองทัพเรือ คณะกรรมการ EEC สำนักการบินพลเรือน และคณะกรรมการ คชก. ฐานใช้ดุลยพินิจโดยมิชอบและละเลยการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า รัฐบาลได้ผลักดันโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภารตะวันออก (EEC) เพื่อรองรับสถานการณ์เศรษฐกิจหลังสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 โดยมอบหมายให้กองทัพเรือเป็นผู้ดำเนินการว่าจ้างให้เอกชนจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งรายงาน EHIA ดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไปแล้วเมื่อ 17 ก.พ.65 และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้วเมื่อ 1 พ.ย.65 นี้
ทั้งนี้เนื่องจากชาวตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จ.ระยอง ได้คัดค้านมาโดยตลอดว่าการจัดทำรายงาน EHIA มีความผิดปกติหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำแผนที่เส้นเสียงสูงสุด (NEF มากกว่า 40) ครั้งล่าสุด ที่มีการเปลี่ยนแปลงเส้นเสียงใหม่ ทำให้เหลือบ้านเรือนของชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบที่อยู่ในเส้นเสียง NEF-40 ลดลงจากครั้งก่อน 480 ครัวเรือน เหลือ 80 ครัวเรือน และมาเพิ่มขึ้นเป็น 93 ครัวเรือน จึงทำให้ชาวบ้านไม่สามารถยอมรับได้กับการทำแผนที่เส้นเสียงในครั้งนี้ จึงต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสั่งให้มีการทบทวนการคิดคำนวนเสียใหม่ โดยให้สถาบันวิชาการที่เป็นกลาง อาทิ NIDA มาดำเนินการศึกษาเพื่อให้เป็นที่ยอมรับตามหลักวิชาการ
นายศรีสุวรรณ กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นชาวตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง พยายามเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้สั่งการให้มีการทบทวนเรื่องดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนายกรัฐมนตรี ส.ส.ในพื้นที่ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งยื่นต่อคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นสนามบินอู่ตะเภาของสำนักงานการบินพลเรือนฯ ด้วย แต่ก็ไม่เป็นผลแต่อย่างใด ในที่สุดจำต้องมาขอให้สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนได้ช่วยเป็นภาระในการฟ้องร้องศาล เพื่อเพิกถอนกระบวนการจัดทำ EHIA และระงับการก่อสร้างรันเวย์ที่ 2 ของสนามบินอู่ตะเภาด้วย
อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ คงไม่จบลงง่ายๆ เพราะเมื่อสืบข้อมูลเชิงลึกลงไปแล้วโครงการนี้มีกลิ่นไม่ค่อยดีหลายโครงการ จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบข้อมูลต่อไป เพราะมีผลประโยชน์นับหมื่นล้านบาท แต่ภาครัฐกลับมองเห็นความทุกข์ร้อนของชาวบ้าน คิดแต่เพียงจะลดค่าใช้จ่ายที่จะต้องซื้อคืนที่ดินจากชาวบ้านให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อันเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างชัดเจน จำเป็นที่สมาคมฯจะต้องออกมาช่วยชาวบ้านในเรื่องนี้อย่างจริงจัง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลโอ่ผลงานยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออกเชื่อมโยงอีอีซี
รัฐบาลยกระดับเส้นทางสู่ภาคตะวันออก เพิ่มประสิทธิภาพการจราจร เชื่อมโยงอีอีซี ล่าสุดกรมทางหลวงขยาย 4 ช่องจราจร ทล.3481 ตอน บ้านหัวไผ่ - การเคหะฯ จังหวัดปราจีนบุรี แล้วเสร็จ
ทร. เตรียมจัดเสวนาเรื่องเส้นเขตแดนทางทะเล ปม MOU 44 หวังสื่อสารให้สังคมเข้าใจ
พล.ร.อ.จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กล่าวภายหลังทำพิธีวันสถาปนากองทัพเรือ ครบรอบ 118 ปี เมื่อถามว่า อดีต ผบ.ทร. ได้ฝากถึงกรณี MOU 44
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ขรก.ฝ่ายศาลปกครอง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ 3 ราย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง
ชาวบ้านเกาะเต่า ร้องผู้ตรวจฯ ชงศาลปค. เพิกถอนกฎกระทรวงห้ามออกโฉนดบนเกาะ
นายอนันต์ชัย ไชยเดช ประธานมูลนิธิทนายกองทัพธรรม พร้อมด้วยชาวบ้านเกาะเต่า อ.เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ตรวจสอบและมีความเห็นเสนอต่
'ทร.' เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย 'วันลอยกระทง' ดูแลตลอดลำน้ำเจ้าพระยา
ทร. เปิดศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยวันลอยกระทง จัดกำลังพล 239 นาย เรือ 44 ลำ ดูแลความปลอดภัยตลอดลำน้ำเจ้าพระยา
'ภูมิธรรม' ไม่ขีดเส้นตาย 'ทัพเรือ' ชี้แจงเปลี่ยนเครื่องยนต์เรือดำน้ำเป็นของจีน
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเรือดำน้ำ หลังสั่งการให้กองทัพเรือไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติม ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์ CHD620 ของจีน และการขยายสัญญา 1,217 วัน