'เจี๊ยบ' ควง 'ช่อ' รำลึก 14 ตุลา โวยประชาธิปไตยไทยไม่ตรงปก

‘ก้าวไกล-ก้าวหน้า’ รำลึก 14 ตุลา ​’เจี๊ยบ’ ชี้เป็นเหตุการณ์ทั้งชนะและแพ้ ประชาธิปไตยไม่ตรงปก ‘ช่อ’ เสริมไล่เผด็จการคนหนึ่งไปคนใหม่ก็มา ต้องปฏิรูปทุกสถาบัน

14 ต.ค. 2565 – นางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล พร้อมด้วย น.ส.พรรณิการ์ วานิช กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า เดินทางไปยังอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว ร่วมรำลึกเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ของประเทศไทย วัน 14 ตุลา มหาวิปโยค ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2516 โดยมีมวลชนจำนวนมหาศาลเข้าร่วมต่อต้านเผด็จการในเวลานั้น โดยกิจกรรมวันนี้มีทั้งญาติวีรชนเหตุการณ์ ประชาชน นักกิจกรรมต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย นักการเมืองเข้าร่วมงาน

นางอมรัตน์​ กล่าวว่า เป็นทั้งชัยชนะและความพ่ายแพ้ โดยที่กล่าวเช่นนั้นเพราะว่าเหตุการณ์ 14 ตุลา สามารถขับไล่เผด็จการที่ครองอำนาจไว้ได้ แต่ขณะเดียวกันภายในเวลา 3 ปีเท่านั้นเผด็จการกลับมาของอำนาจและกลับมามีบทบาทในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งครั้งของความรุนแรงที่ก่อโดยรัฐ ที่ปัจจุบันยังไม่มีผู้กระทำผิดได้รับโทษ

“ไม่ว่าจะเป็น 14 ตุลา 2516 6 ตุลา 2519 หรือเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ จนถึงเหตุการณ์ความรุนแรงเมื่อปี 2553 ซึ่งทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่า เราไม่สามารถขับไล่เผด็จการและมีชัยชนะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ เป็นเพราะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมืองความคิดของประชาชนทั้งหมดได้ ดังนั้นการขับไล่เผด็จการยังไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงประเทศแต่ต้องเป็นการเปลี่ยนแปลงในระดับโครงสร้างและในระดับรัฐบาล เราต้องเปลี่ยนที่โครงสร้างของประเทศ เอากองทัพออกไปจากการเมืองยุติการเข้ามาของอำนาจนอกรัฐธรรมนูญ หรือมือที่มองไม่เห็นหยุดการแทรกแซงทางการเมืองจากองคาพยพที่ไม่เกี่ยวข้อง” นางอมรัตน์ ระบุ

ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันเป็นเวลากว่า 90 ปีแล้วที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่ประเทศไทยยังไม่ตรงปกประเทศรัฐธรรมนูญเสียที ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์เป็นภารกิจสำคัญที่ต้องทำ

ด้าน น.ส.พรรณิการ์ ตัวแทนจากคณะก้าวหน้าที่เดินทางมาพร้อมกัน กล่าวเสริมถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาว่า ไม่ควรมีใครต้องต่อสู้เรียกร้อง และล้มตายเพื่อประชาธิปไตย และเหตุการณ์ 14 ตุลา เป็นทั้งชัยชนะและความพ่ายแพ้ เพราะเป็นการตื่นตัวของนิสิตนักศึกษา มวลชน กรรมกร ชาวนา ครั้งใหญ่ ทั่วประเทศลุกฮือกัน ไม่ใช่เพียงเฉพาะกรุงเทพมหานคร แต่ชัยชนะในครั้งนั้นกลายเป็นความพ่ายแพ้เพราะไม่ใช่ชัยชนะที่ยั่งยืน บทเรียนจาก 14 ตุลา สอนให้รู้ว่า ไล่เผด็จการออกไป เผด็จการคนใหม่ก็เกิดขึ้นเสมอ ตราบใดที่เราไม่เปลี่ยนโครงสร้างของประเทศให้รับใข้ประชาชนอย่างแท้จริง และปฏิรูปทุกสถาบันให้อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผู้สูงอายุไทยหลังเกษียณงานอายุ 60 ยังมีโอกาสทำงานต่อไปได้อีกกี่ปี?

ในปีพ.ศ. 2567 นี้ ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ประชากรคนไทยทั้งหมด 100 คน จะมีผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 20 คน และผู้สูงอายุเหล่านี้จะมีอายุขัยหรือชีวิตยืนยาวไป อีกประมาณ 21 ปี ช่วงชีวิตที่ยืนยาวต่อไปนี้

'ปชน.' ตีปี๊บ! 1 ปีฝ่ายค้านผลงานเพียบ เมินเรตติ้งร่วง โต้ฮั้ว พท.

'พรรคประชาชน' โวผลงานฝ่ายค้าน 1 ปี' เสนอกฎหมาย 84 ฉบับ ตั้งเป้าทำงานผสมผสานได้ทั้ง 'รุก-รับ' ปัดฮั้ว 'เพื่อไทย' เมินผลโพลคะแนนร่วง เปรียบ 'เตะบอล' ต้องรอจบ 90 นาที

สอน 'เพื่อไทย' หัดเอาอย่าง 'อภิสิทธิ์' นักการเมืองรักษาสัจวาจา

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เพื่อไทย ไม่นิรโทษ มาตรา 112 ไม่แคร์มวลชน แต่แคร์พรรคร่วม

'นิกร' รับสภาพกฎหมายประชามติไม่ทันเลือกตั้งครั้งหน้าใช้ รธน.เดิม!

'นิกร' ระบุ พ.ร.บ.ประชามติ ไม่ทันเลือกตั้งท้องถิ่นต้นปีหน้า พ้อเลือกตั้งทั่วไปครั้งหน้า ยังใช้รัฐธรรมนูญปัจจุบัน