12 พ.ย. 2564 – รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า “ปฏิรูปไม่เท่ากับล้มล้าง”
“ถ้าปฏิรูปคือการล้มล้าง แล้วรัฐประหารคืออะไร”
การปฏิรูปก็คือความเหมาะสม คือการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมหรือเพื่อทำให้ดีขึ้น จะค่อยเป็นค่อยไป หรือจะทำอย่างรวดเร็วก็ได้
การล้มล้างคือการทำลาย การล้มล้างไม่จำเป็นต้องใช้กำลังก็เรียกว่าเป็นการล้มล้างได้
รัฐประหารคือการใช้กำลัง หรือบีบบังคับเพื่อยึดอำนาจ ส่วนใหญ่จะหมายถึงยึดอำนาจการปกครองของรัฐบาลที่ครองอำนาจอยู่
ไม่มีใครบอกว่า การปฏิรูปเท่ากับการล้มล้าง และไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่รู้ว่า ปฏิรูปไม่เท่ากับล้มล้าง แต่เป็นพวกที่เคลื่อนไหวกันในขณะนี้ รวมทั้งสาวก และแนวร่วม ที่ออกมาประสานเสียงกันว่า ปฏิรูปไม่เท่ากับล้มล้างนั่นแหละที่ไม่รู้ว่าการปฏิรูปแตกต่างกับการล้มล้างอย่างไร
คำพูดที่บอกว่าไม่ใช่เป็นการล้มล้างไม่อาจบ่งบอกความจริงได้ แต่การกระทำต่างหากจึงจะบอกได้ เพราะกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา ตลอดเวลากว่า 1 ปีที่ผ่านมา ลองมองย้อนกลับไปดูการกระทำและการแสดงออกของกลุ่มคนกลุ่มนี้ว่าพวกเขาทำอะไรกันบ้าง การแสดงออกในทางเหยียบย่ำ หมิ่นแคลน ข่มขู่ เช่นการโจมตีด้วยถ้อยคำหยาบคาย การเผาพระบรมฉายาลักษณ์ สาดสีใส่พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งของสมเด็จพระพันปีหลวงและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ใช้กิโยตินเป็นสัญญลักษณ์ข่มขู่ ทั้งในการชุมนุม และใน social media ทำทุกวิถีทางผ่านสื่อที่เป็นพวกเดียวกันสร้างและเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นลบต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อสร้างความเกลียดชังให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน ทำให้คนเชื่อว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ขัดขวางความเจริญของประเทศ เน้นย้ำเสมอว่าทุกคนในประเทศนี้ต้องเท่าเทียมกันทั้งหมด ไม่มีใครควรอยู่สูงกว่าใคร ตลอดจนแสดงความต้องการให้ประเทศเป็นแบบสาธารณรัฐในหลายโอกาส
หากต้องการเพียงการปฏิรูปจริง จำเป็นต้องทำกันถึงขนาดนี้หรือ
การกระทำเหล่านี้จึงบ่งบอกว่า พวกเขาไม่ต้องการให้มีสถาบันพระมหากษัตริย์อีกต่อไป สังคมที่ดีกว่าของพวกเขาก็คือสังคมที่ไม่มีพระมหากษัตริย์ นี่คือเจตนาของการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแจ้งชัด เพียงแต่พวกเขาหลับหูหลับตาเรียกมันว่า “ปฏิรูป” เท่านั้นเอง
แน่นอนว่าศาลรัฐธรรมนูญมิได้พิจารณาเพียงข้อเรียกร้องที่พวกเขาเรียกว่า เป็นการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ซึ่งหากปฏิรูปทั้ง 10 ข้อ แม้ไม่เรียกว่าล้มล้าง แต่ก็เสมือนหนึ่งล้มล้าง แต่ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาภาพรวมทั้งหมด ซึ่งหมายพฤติกรรมของทั้ง 3 คน รวมถึงผลกระทบที่เกิดตามมาหลังจากวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ด้วย
รัฐธรรมนูญมาตรา 49 วรรคหนึ่ง ให้ความคุ้มครอง การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมี 2 ส่วนคือ การปกครองระบอบประชาธิปไตย และการมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การคิดทำลายส่วนหนึ่งส่วนใดใน 2 ส่วนนี้ ย่อมถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรานี้
จะเชื่อหรือไม่ก็ตาม ไม่ว่าผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะถูกใจใคร หรือไม่ถูกใจใคร ขอบอกว่า ไม่มีใครสั่งศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้ให้วินิจฉัยไปในทางใดทางหนึ่งได้แน่นอน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ปชน.' ตีปี๊บ! 1 ปีฝ่ายค้านผลงานเพียบ เมินเรตติ้งร่วง โต้ฮั้ว พท.
'พรรคประชาชน' โวผลงานฝ่ายค้าน 1 ปี' เสนอกฎหมาย 84 ฉบับ ตั้งเป้าทำงานผสมผสานได้ทั้ง 'รุก-รับ' ปัดฮั้ว 'เพื่อไทย' เมินผลโพลคะแนนร่วง เปรียบ 'เตะบอล' ต้องรอจบ 90 นาที
'เพื่อไทย' ไม่ฟังเสียงต้าน! ดันทุรังเข็น 'กิตติรัตน์' นั่งปธ.บอร์ดแบงก์ชาติ
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า รัฐบาลที่มาจากพรรคเพื่อไทยตั้งแต่รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน
'หมอวรงค์' เปิดเบื้องลึก! ทำไมไม่ควรนิรโทษกรรมคดี 112
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ทำไมจึงไม่ควรนิรโทษกรรมคดี 112" โดยระบุว่า
จับตา! ปม 'นักโทษเทวดา' จุดตาย 'ทักษิณ-เพื่อไทย'
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นเพราะคุณไพบูลย์ นิติตะวัน โปรโมตเรื่องหมัดเด็ดที่อาจจะทำให้พรรคเพื่อไทยล่มสลายดีเกินไป
ต้องไม่ยอมมัน! อดีตรองอธิการบดี มธ. ปลุกขวางแก้ รธน. ทำลายความถูกต้อง-เป็นธรรม
ความพยายามในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราครั้งนี้ หากทำได้สำเร็จ จะเป็นลดความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริต และมาตรฐานทางจริยธรรม
ด้อมส้มร้องเสียให้ถูกคีย์ 'จักรภพ' แจงปฏิวัติไม่ได้แปลว่า โง่ทึบแสง!
นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก