ดร.สันต์ระบุน้ำท่วมไทยปีนี้แม้เทียบปี 2554 ไม่ได้ แต่ก็รุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี ชี้หากพายุหมดแล้วยังโล่งใจแต่หากยังมีอีกคงต้องตัวใครตัวมัน เพราะสถิติน้ำในเขื่อนใกล้วิกฤต
06 ต.ค.2565 - ดร.สันต์ ศรีอรรฆ์ธำรง อาจารย์พิเศษคณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “น้ำท่วมประเทศไทย: กราฟและตัวเลขที่ทำให้ดูไม่น่าสบายใจนัก” ระบุว่า ปีนี้ 2565 ตัวเลขต่างๆ ค่อนข้างชัดแล้วนะครับว่า น้ำมากที่สุดในรอบ 10 ปี บางทีผมว่ารัฐบาลก็ Downplay น้ำท่วมปีนี้ไปหน่อยโดยเน้นว่ายังไม่ถึงขั้นปี 54 ทั้งๆ ที่ถ้ามันมากที่สุดในรอบ 10 ปีโดยไม่ต้องขนาดปี 54 ก็ทำให้เกิดความเดือนร้อนได้มาก เสียหายได้มาก และประชาชนสมควรที่จะถูกเตือนภัยมากกว่านี้ครับ
น้ำในภาคอีสาน: ณ จุดนี้ แม้หลายพื้นที่ในประเทศโดยรวมยังไม่ถึงปี 54 แต่ภาคอีสานทั้งหมด ทุกเขื่อนใหญ่ ทั้งเขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนสิรินธร เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนลำตะคอง ทั้งหมดล้วนทะลุ Upper Rule Curve และเข้าสู่ระดับน้ำเดียวกับปี 54 ทั้งหมดแล้ว บางเขื่อนเช่นเขื่อนอุบลรัตน์อาจจะหนักกว่าด้วย จึงไม่น่าแปลกใจที่ภาคอีสานท่วมสาหัสมาก
ปัญหาจากนี้คือ เมื่อปี 54 พายุลูกสุดท้ายคือ นาลแก เข้ามา 3 ต.ค. จากนั้นไม่มีแล้ว แต่ปีนี้ถ้ายังไม่จบ ถ้ายังมีเข้ามาอีกสักลูกจะเกิดอะไรขึ้นที่ภาคอีสานนี้ น่าจะต้องมีคำตอบ และต้องมีแผนครับ
ภาคกลางและกทม. ตัวเลขและกราฟที่น่ากังวล:
1.เขื่อนภูมิพล ระดับน้ำสูงสุดในรอบ 10 ปีแล้ว กำลังจะวิ่งเข้าแตะ Upper Rule Curve ภายในไม่กี่วันข้างหน้า มองขึ้นไปอีกไม่ไกลก็เห็นระดับปี 54 แล้ว เราต้องดูกันต่อว่า ถ้าน้ำหลากจากเชียงใหม่มาถึงครบและเก็บกักไว้จนหมด กราฟจะไปอยู่ที่ไหน พอจะรับพายุได้อีกสักลูกหรือไม่
2.เขื่อนภูมิพล กราฟปริมาณน้ำไหลลงอ่าง ช่วงแรกๆไม่เท่าไหร่ แต่ตั้งแต่กันยาเป็นต้นมา น้ำเข้าเขื่อนในระดับไม่แพ้ปี 54 เลยครับ เป็นประเภทมาช้า แต่ก็มา ลานินญ่าเหมือนกัน
3.เขื่อนป่าสัก ทราบกันดีตามข่าวว่า เขื่อนเต็มแล้ว ตอนนี้ต้องระบายออกเยอะมาก ช่วยอะไรไม่ได้แล้ว และน้ำยังเข้ามาอีกวันละ 130 ล้านลบ.ม. และยังมาเรื่อยๆ จริงๆระดับน้ำป้วนเปี้ยนแถว Upper Rule Curve มานานแล้ว เห็นความพยายามในการพร่องน้ำเต็มที่ แต่ก็กดไม่ลงจริงๆครับ น้ำมาตลอด
4.น้ำที่บางไทร เมื่อวันก่อน 2 ต.ค. น้ำมากระดับ 3,687 ลบ.ม./วินาที มากที่สุดในรอบ 10 ปี เข้าใกล้ระดับปี 2554 ที่ 3,860 เข้าไปทุกที วันนี้ลดระดับลงมาหน่อย แต่ก็มากกว่า 3,000 ซึ่งกทม.ปริมณฑลได้รับผลกระทบแน่นอน คงต้องอุดให้แน่น ไม่ให้ฟันหลอครับ ใครอยู่ริมน้ำก็ต้องทำใจครับ
เดิมพันและความเสี่ยงตอนนี้:
ปี 2554 พายุลูกสุดท้ายคือ นาลแก วันที่ 3 ต.ค. 2554 ถ้าดูช่วงเวลาเดียวกันกับปีนี้แล้วเทียบว่ายังโอเค ผมว่าชักจะไม่โอเคแล้ว เพราะปีนี้พายุอาจจะยังไม่หมด เรายังไม่รู้ว่า มันจะ"น้อยกว่า"หรือว่ามัน"มาช้า"
พูดง่ายๆก็คือ ตอนนี้ เราอย่าได้มีพายุเข้ามา ไม่งั้นผมว่าเป็นเรื่องแน่
น้ำท่วมปีนี้ ถ้าโชคดีซึ่งก็มีโอกาสสูง อาจจะไม่แรงเหมือนปี 54 แต่ก็น่าจะสร้างความเสียหายได้มาก เอาแค่น้ำเหนือที่มีตอนนี้หลากลงมาถึงปริมณฑล จ่อคอหอยกทม. พร้อมๆน้ำฝนสัก 120 มม. น้ำทะเลหนุนอีกสักหน่อยก็น่าจะหนักพอสมควรแล้ว
แต่ถ้าสภาวะอากาศโหดร้าย พายุเข้ามาอีกสัก 2 ลูก ก็เห็นทีจะตัวใครตัวมันครับ หวังจริงๆ ครับว่าพายุจะหมดแล้วแค่นี้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยคุ้มครอง แล้วพวกเราก็แคล้วคลาดครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
โพลชี้คนเกินครึ่งไม่เข้าใจ MOU44 - เกาะกูด
นิด้าโพลเผยผลสำรวจประเด็น MOU 44 และเกาะกูด พบว่าประชาชนไม่เข้าใจเลย สูงถึง 58.86% และส่วนใหญ่ไม่ต้องการเข้าใจข้อโต้แย้งและสถานการณ์ที่ชัดเจน ส่วนคนที่เข้าใจมากและค่อนข้างเข้าใจ ชี้ 1 ใน 3 ไม่ไว้วางใจรัฐบาลปกป้องผลประโยชน์ของชาติได้
พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67
กรมอุตฯ ประกาศเตือนพายุ 'โทราจี' ฉบับสุดท้าย
นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ “โทราจี” ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า