'พล.ท.นันทเดช' ย้อนประวัติศาสตร์ 'ประเทศไทยในสถานการณ์สู้รบ' สยามฝ่าพายุร้ายจากตะวันตกนับเกือบ 200 ปี พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงตั้งรับไว้ได้ย่างเหมาะสม สยามจึงที่มีทั้งความสงบและเจริญ ในลำดับ 1 ของเอเซีย ซัดคณะราษฎรไม่ได้สร้างโครงสร้างพื้นฐาน ชิงอำนาจกันเอง จนเกิดเผด็จการทางสภา
5ต.ค.65- พลโทนันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ(ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง ประเทศไทยในสถานการณ์สู้รบ ตอนที่ 1 มีรายละเอียดดังนี้
สยามฝ่าพายุร้ายจากตะวันตก ที่พัดกระหน่ำซัดใส่มานาน แสนนาน นับเกือบ 200 ปีแล้ว แต่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ ทรงได้ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ภูมิทัศน์ และแนวตั้งรับ ของประเทศไว้ได้ย่างเหมาะสม โดยทรงภารกิจ จัดวางโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เครื่องมือสนับสนุนการประกอบอาชีพ ให้ราษฎร และทรงคุ้มเกล้าให้กำลังใจ ความหวัง ร่วมทุกข์ร่วมสุข กับประชาชนตลอดมา
โดยเฉพาะในรัชสมัยอันยาวนานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทำให้คนไทยได้มองเห็น และเข้าใจถึง “สิ่งดีๆ“ ที่เคยเกิดขึ้นในวันก่อน ซึ่ง“สิ่งดีๆ”เหล่านั้น จะอยู่มาจนถึงวันนี้ หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่คนไทยหลากหลายวัยในยุคปัจจุบันนี้ ว่าจะช่วยกันรับมืออย่างไร เมื่อมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามริดรอนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทย ที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ให้ลดน้อยลงไป เหลือเป็นเพียง ”สัญญลักษณ์” หรือ สาบสูญไป เพียงหวังอย่างเดียวว่า “ ถ้าเป็นผลสำเร็จ พวกเขาจะซื้อขายประเทศไทย กันได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงการเดินทางกลับประเทศไทย ของคนอีกกลุ่มหนึ่งก็จะง่ายขึ้นด้วย ”
นอกจากนั้น ก็ยังมีอีกหลายประเทศ ที่ไม่อยากให้ประเทศไทยเติบโตไปมากกว่านี้อีก เพราะจะส่งผลกระทบต่อ สถานภาพของประเทศพวกเขา จึงได้เข้ามาผสมโรง สนับสนุนคนกลุ่มนี้
เรียงความตอนที่ 1 เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร วันที่ 13 ตุลาคม 2565
ตอนที่ 2 : เปรียบเทียบการใช้พระราชอำนาจของในหลวงรัชกาลที่ 5 และ ในหลวงรัชกาลที่ 6 กับการใช้อำนาจ ของรัฐบาล คณะราษฎร ว่าตรงส่วนไหนท่ีจะทำให้ประเทศไทยดีขึ้น
รัชสมัย ร.5 พระองค์ทรงใช้พระราชอำนาจอย่างเต็มที่หลายเรื่อง เพื่อปรับปรุงพัฒนาประเทศให้ทันสมัย เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วที่สำคัญ คือ
(1) การกำหนดขอบเขตแผ่นดินสยาม(สยามไม่เคยมีเส้นเขตแดนชัดเจนมาก่อน)
(2) การเลิก ไพร่ / ทาส
(3) การลงทุนปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของประเทศทุกด้าน (ตลอด 25 ปีของรัฐบาลคณะราษฎร ไม่เคยทำเรื่อง โครงสร้าง อย่างจริงจังเลย มาเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาล พล.อ.เปรม เป็นครั้งที่2 แล้วก็เลยมาที่รัฐบาลลุงตู่ นี่แหละ เป็นครั้งที่3 น่าเศร้าใจไหมครับ)
(4) การปูพื้นฐานทางด้านประชาธิปไตย เช่น การเลือก กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน, การให้อำนาจตัดสินคดีแก่ศาล,การส่งนักเรียนทุนหลวงไปศึกษาต่างประเทศ ฯลฯ แต่นักเรียนทุนบางคนกลับมาทำปฏิวัติผู้ส่งไปเรียนเสียเอง รวมทั้งจับกุมนักเรียนทุนท่ีไม่เห็นด้วยไปขังคุก โดยตั้งศาลพิเศษ (ญี่ปุ่นซึ่งมีความเจริญไล่ๆกันกับไทย และมีรัฐธรรมนูญท่ีจักรพรรดิ์ มีอำนาจเหนือรัฐธรรมนูญ ได้นักเรียนทุนกลับมาพัฒนาประเทศ เจริญก้าวหน้าไปกว่าไทย ทั้งท่ีส่งคนไปเรียนพร้อมๆกัน จำนวนคนไปเรียนก็พอๆกันประมาณ400คน)
ในรัชสมัย ร.6 พระองค์ ทรงหาทางแก้ไขการทำสัญญาทางการค้า ที่เสียเปรียบต่างชาติ ดังนั้นพระองค์ทรงใช้พระราชอำนาจ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ประกาศสงครามกับเยอรมัน ท่ามกลางคำคัดค้านของทหาร และขุนนาง เมื่อชนะสงคราม สยามก็ได้รับการค้ำประกันอิสรภาพ ในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้งองค์การสันนิบาตชาติ และได้รับการแก้ไข สัญญาที่ไม่เป็นธรรมทุกฉบับ รวมถึงการซื้อเครื่องบินจำนวนมาก กลับมาใช้ในราชการไทย ( จอมพล ป.เข้าร่วมกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามโลกครั้งท่ี2กับประเทศกลุ่มพันธมิตร
โชคดี ที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ทูตไทย ประจำสหรัฐฯไม่ยอมรับคำสั่งรัฐบาล จัดตั้งกลุ่มเสรีไทยขึ้น และส่งคนไปจัดตั้งที่อังกฤษ เพิ่มขึ้นอีก ต่อมานายปรีดี ได้จัดตั้งขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นขึ้นในไทย ซึ่งได้กลายเป็นจุดประสานงานของกลุ่มเสรีไทย เมื่อสงครามจบ ไทยยกเอาเรื่องเสรีไทยขึ้นมาอ้าง สหรัฐฯยอมรับ แต่อังกฤษ จะเอาไทยเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ ประชาชนเดือดร้อนกันมาก ม.ร.ว.เสนีย์ ใช้ความเป็นทูตประจำสหรัฐฯ เจรจาจนสำเร็จแม้จะเสียเปรียบบ้างก็ตาม )
นอกจากนั้น ในหลวง ร.6 ยังทรงระดมสร้างโครงงานพื้นฐานของประเทศต่อจาก ร.5 จนสำเร็จหมดทุกโครงการจากการกู้เงินในตลาดการเงินยุโรปเพื่อนำมาลงทุน เพิ่มเติม รวม 5 ล้านปอนด์ เมื่อโครงงานเสร็จ การค้าขาย นาข้าว การขนส่งฯลฯ ก็เจริญก้าวหน้าขึ้น เศรษฐกิจเริ่มดีมากขึ้น รัฐบาลก็ทยอยได้รับเงินคืนมามากขึ้นเช่นกัน
ดังนั้น เมื่อ ร.7 เสด็จขึ้นครองราชย์ในปีท่ี 2 ทรงสามารถใช้เงินกู้จำนวนนี้ได้ครบถ้วน โดยไม่ต้องตั้งงบประมาณแผ่นดินแต่อย่างไร “สยาม”จึงเป็นประเทศเดียวในเอเซียที่มีทั้งความสงบ และเจริญ ในลำดับ 1 ของเอเซีย” (ในขณะที่ทางรัฐบาลคณะราษฎร หลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 ยุติลง ได้กู้เงินเช่นกัน แต่ไม่ได้นำมาสร้างโครงสร้างพื้นฐาน คงนำมาแก้ไขปัญหาเผชิญหน้าของรัฐบาล ในตอนนั้น ทำให้ต้องตั้งงบประมาณแผ่นดินเพื่อใช้คืนเงินกู้ บ้านเมืองในขณะนั้น แบ่งฝ่ายจากภายในคณะราษฏรด้วยกันเอง บ้านเมืองก็เต็มไปด้วยโจร ประชาชนไร้ความสงบสุข
คณะราษฎรเองก็มาถึงจุดแตกแยก ชิงอำนาจกันเอง จนเกิดเผด็จการทางสภาฯขึ้น )
ติดตามตอนที่3 ; ในหลวง ร.7 และ ร.8 ทรงช่วยรัฐบาล คณะราษฎร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ย้อน วันรัฐธรรมนูญ ร.7 ทรงถามว่า 'ศรีอาริย์' หมายถึง การปกครองแบบโซเวียตหรือไม่
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า วันรัฐธรรมนูญ
'อดีตบิ๊ก ศรภ.' แนะให้อำนาจทหารจัดการพม่าจริงจังไม่อย่างนั้นเจอเหตุแกล้งละเมิดเขตอธิปไตยเรื่อยๆ
พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ
'ดร.นิว' ชี้การเซ็นรัฐประหารไม่มีอยู่จริง มีแต่คณะราษฎรนิรโทษกรรมตัวเอง
ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ “ดร.นิว” นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of
อดีตบิ๊ก ศรภ.วิเคราะห์เหตุ สว.หัก สส.ปมกฎหมายประชามติ
พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.)
อุ้ย! อดีตบิ๊กศรภ. บอกแบ่งงบซอฟต์พาวเวอร์แจก ’หมูเด้ง’ บ้าง จะได้มีผลงาน
อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ แนะนำเงิน Soft power จำนวนมหึมา ของนายก อุ๊งอิ๊ง นั้นควรแบ่งมาแจกให้ 'น้องหมูเด้ง'
'นายกฯอิ๊งค์' อยู่ได้เกิน 6 เดือนไหม! ขึ้นอยู่กับ 2 ทางรอด
พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อุ๊งอิ๊งจะอยู่เกิน 6 เดือนไหม