4 ต.ค.2565 - ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงสถานการณ์น้ำปัจจุบัน ว่า ขณะนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย โดยเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 3 ต.ค. ฝนตกค่อนข้างหนักบริเวณถนนหลักสี่เกือบ 170 มล. ใน 6 ชม. และแถวบางนาประมาณ 120 มล. จึงส่งผลให้น้ำท่วมสี่แยกบางนาสูงถึง 50 ซม. แต่พยายามสูบลงคลองบางอ้อให้เร็วที่สุด โดยการติดตั้งปั๊มเพิ่มเข้าไป ซึ่งดูภาพอาจจะน่ากลัวเพราะฝนตกแรงมาก แต่น้ำก็ระบายได้ดีเป็นที่น่าพอใจ ส่วนอีกจุดที่มีปัญหาเยอะคือบริเวณแจ้งวัฒนะ ทั้งนี้ น้ำในคลองเปรมประชากรปัจจุบันน้ำค่อนข้างเพ้อ ซึ่งเมื่อวันที่ 3 ต.ค. น้ำขึ้นสูงสุดประมาณ 1.40 ม. ตอนนี้ระบายออกไปได้ประมาณ 15 ซม. แล้ว แต่น้ำก็ยังสูงอยู่ และน้ำในคลองลาดพร้าวระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ 1.20 ม. บริเวณบางบัว และวงเวียนบางเขน
นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า โดยตอนนี้ถนนหลักแห้งเกือบหมดแล้ว ทั้งถนนแจ้งวัฒนะขาออก เหลือแค่ขาเข้าที่น้ำเหลืออยู่เล็กน้อย แต่ที่ยังหนักคือภายในชุมชนช่างอากาศอุทิศ หมู่บ้านการเคหะท่าทราย หลังม.ธุรกิจบัณฑิต เพราะไม่สามารถเอาน้ำออกไปที่คลองเปรมฯได้ วงเวียนบางเขนขาเข้าเหลือเล็กน้อย และซอยรามอินทราเลขคี่ ที่เป็นจุดเปราะบางอยู่แล้ว แต่โชคดีที่ได้มีการพร่องน้ำไว้เยอะจึงสามารถเอาน้ำในถนนหลักออกได้ ทั้งนี้ ช่วงนี้สามารถหายใจได้เล็กน้อย แต่ประมาทไม่ได้ เพราะมีร่องความกดอากาศต่ำพาดผ่าน กทม. โชคดีที่ลมไม่ได้ปะทะที่ กทม. หากมีฝนอาจจะไม่ได้แช่นานเหมือนเมื่อวานนี้ (3 ต.ค.) ขณะที่สถานการณ์น้ำเหนือดีขึ้นเล็กน้อย เพราะมีน้ำขึ้นน้ำลงแค่ครั้งเดียวต่อวันทำให้ กทม.มีจังหวะดูดน้ำ
“เมื่อวานท่วมหนักจริงๆ และก็ยากที่ต้องรับมือกับฝน 170 มล. ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย แต่ต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ที่ทำงานอย่างเต็มที่ แต่ถามว่ามีผิดพลาดตรงไหน เราก็มีที่จุดแจ้งวัฒนะเพราะเป็นจุดเชื่อมกัน 2 จังหวัด ผมว่าเรื่องการดูแลคนผู้ที่สัญจร เรายังทำไม่ดีพอ รวมถึงยังมีเรื่องรถเสีย ที่หลายท่านไม่ทราบว่าจุดนี้น้ำลึก และต้องปรับปรุงเรื่องการประชาสัมพันธ์เรื่องการขนส่งคนให้ดีขึ้น ซึ่งน้ำท่วมอาจจะเป็นปัญหาหนึ่ง แต่อีกปัญหาตามมาที่คนเจอมากกว่าคือเรื่องการจราจร เพราะน้ำท่วมอาจจะท่วมแค่จุดเดียว แต่การจราจรติดทั้งกรุงเทพฯ ฉะนั้นบ้านคนที่น้ำไม่ท่วมอาจจะโดนเรื่องจราจรด้วย ทั้งนี้ เราต้องปรับปรุงทั้งเรื่องจัดการกับรถเสียในพื้นที่ และเรื่องประชาสัมพันธ์กับประชาชนล้วงหน้า” นายชัชชาติ กล่าว
นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า ถนนแจ้งวัฒนะคงต้องบูรณาการร่วมกับกรมทางหลวง และจังหวัดนนทบุรี เพราะเป็นจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น ส่วนประเด็นที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี ประธานด้านนโยบายปฏิรูปโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำ พรรคเพื่อไทย เสนอให้ใช้แผ่นปิดปากท่อเพื่อช่วยระบายน้ำ ซึ่งกทม.ทำอยู่แล้ว แต่จุดใดที่ไม่มีจะทำเพิ่ม
เมื่อถามถึงสถานการณ์น้ำเหนือจากเขื่อนป่าสักฯ นายชัชชาติ กล่าวว่า น้ำจากเขื่อนป่าสักฯ บางส่วนจะไหลมายังกทม.ผ่านคลองระพีพัฒน์ การแบ่งน้ำคงต้องคุยกับกรมชลประทาน เพราะเป็นผู้ควบคุมเขื่อนพระราม 6 และประตูระบายน้ำปลายคลอง 13 แต่ใจเราอยากให้ระบายน้ำลงแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีกำลังรับมากกว่าประตูระบายน้ำปลายคลอง 13 อยู่ที่ 3,000 ลูกบาศ์กเมตร
นายชัชชาติ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ กทม.ยังปรับรูปแบบการเรียงกระสอบทราย นำกระสอบทรายไปวางตรงกล่องเหล็ก ที่มีลักษณะเป็นเหล็กถัก ทำให้กระสอบทรายมั่นคงขึ้น นอกจากนี้เรื่องการขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการให้พนักงานเลิกงานเร็ว ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ค่อนข้างยาก ถ้าเป็นไปได้ให้หน่วยงานทำด้วยตัวเองดีกว่า เพราะแต่ละหน่วยงานน่าจะประเมินสถานการณ์ได้ง่ายกว่า หน้าที่เราคือพยามเตรียมการขนส่งให้ดีที่สุด เสริมจุดที่มีปัญหา และเตรียมประสานกับกรมเจ้าท่า ปักธงเตือนระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาให้กับเรือขนาดใหญ่ด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปักหมุดเมืองคอน Kick Off ศูนย์ซ่อม สร้าง สุข ช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
“พิพัฒน์” Kick Off เปิดศูนย์ซ่อม สร้าง สุข กรมพัฒน์จัดให้ ซ่อมฟรี ฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยหลังน้ำลด ส่งช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า ปักหมุดนครศรีฯ
เมืองคอนอ่วมน้ำท่วม 11 อำเภอ
นครศรีธรรมราช เผชิญน้ำท่วมหนักจากฝนตกต่อเนื่องและน้ำป่าจากเทือกเขาหลวง ล่าสุดมีพื้นที่ได้รับผลกระทบแล้ว 11 อำเภอ
กษ.ระดมสรรพกำลังเร่งช่วยเหลือน้ำท่วมภาคใต้ เกาะติดสถานการณ์ตลอด 24 ชม.
นายเอกภาพ พลชื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่านางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งกรมชลประทาน ติ
‘ธนกร’ ห่วง น้ำท่วมปักษ์ใต้หนักจี้รัฐบาลเร่งช่วยเหลือ
“ธนกร” ห่วง น้ำท่วมปักษ์ใต้หนักหลายจังหวัด ขอ รัฐบาล-ส่วนราชการเร่งช่วย หลังถูกพายุถล่มระลอก 2 ระดับน้ำสูงกว่า 1 เมตร ทำถนนสายเอเชีย 41 จมบาดาล ถูกตัดขาดการเดินทาง-น้ำ-ไฟ ฝากดูแล ผู้ป่วยติดเตียง คนแก่ วอน กองทัพรุดอพยพด่วน
คน กทม. เกินครึ่งไม่เห็นด้วยมาตรการเก็บค่าธรรมเนียมรถติด
นย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ ของประชาชน เรื่อง “สองมาตรการใหม่ คน กทม. จะเอาไง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กระจายระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับความคิดเห็นของคนกรุงเทพมหานคร หากมีการใช้มาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการเก็บขยะและค่าธรรมเนียมรถติด
ใต้อ่วม! ทางรถไฟ-ถนนขาด
ฝนตกหนักน้ำท่วม เส้นทางลงใต้อัมพาต ทางขาดทั้งรถไฟและถนนสายเอเชีย รถไฟไปต่อไม่ได้ ติดค้างที่ชุมพรเพียบ ชาวบ้านเดือดร้อนหนัก ส่วนที่นครศรีฯ น้ำทะเลจ่อหนุนซ้ำเติม