น่ากังวล 'ผู้ว่าฯชัชชาติ' เจองานยากของจริง 7-10 ตุลาคมนี้

3 ต.ค.2565 - ที่อาคารสมาคมประกันวินาศภัยไทย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงกรณีระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ว่า ที่สถานีบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันมีน้ำถึง 3,409 ลบ.ม./วินาที ซึ่งมีความจุสูงสุดที่ 3,500 ลบ.ม./วินาทีเท่านั้น จึงเป็นที่กังวลว่าอาจจะมีน้ำเกินความจุหรือไม่ ทั้งนี้จากการรายงาน เมื่อเช้าน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น 20 ซม.ซึ่งเป็นระดับที่มากกว่าปกติ แต่ยังอยู่ในสภาวะที่รับมือได้ เพราะจากการตรวจสอบยังมีพื้นที่รับน้ำเหลืออีกประมาณ 1 เมตร

ทั้งนี้ ได้สั่งการให้เฝ้าระวังทุกจุด ขณะเดียวกันต้องขอความร่วมมือกับกรมเจ้าท่ากรณีเรือแล่นทำให้เกิดคลื่นปะทะเขื่อนบางจุดเสียหาย ต้องไปสูบน้ำออกและเสริมความแข็งแรงมากขึ้น สถานการณ์ขณะนี้ต้องเฝ้าระวัง กทม.กำลังอยู่ในจุดเปราะบางที่สุดคือเรื่องน้ำเหนือไหลลงมา ประกอบกับมีน้ำทะเลหนุนเพิ่มเติม จากการคาดการณ์น่าจะสูงสุดในช่วง 7-10 ต.ค.นี้

นายชัชชาติ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องผลการประชุมกับกระทรวงมหาดไทยในวันนี้ เกี่ยวกับแนวทางจัดการน้ำที่กทม.เสนอไปยังต้องรอสรุปความชัดเจนอีกครั้ง โดยกทม.กับกรมชลประทาน มีแนวทางเสนอต่างกันคือ กทม.เสนอทำทางด่วนน้ำในเขตลาดกระบัง จากคลองลำปลาทิวลงมาทางทิศตะวันออก เพราะน้ำจุดนี้ระบายออกยาก หากสูบออกทางคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิตก็ไม่ได้ ติดพื้นที่น้ำท่วมของเกษตรกร หากจะสูบน้ำลงมาทางใต้สู่คลองสำโรงก็เท้อ จึงจำเป็นต้องระบายออกคลองพระโขนง เหตุนี้ กทม.จึงเสนอทางด่วนน้ำจากคลองลำปลาทิวไปออกที่คลองร้อยคิว ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร

นอกจากนี้ กรมชลประทาน เสนออีกทางหนึ่งว่า ให้ระบายน้ำออกทางคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต แต่เสริมคันคลองตลอดแนวไปถึงบางปะกง ดังนั้น ต้องรอผลสรุปอีกครั้ง เพราะการก่อสร้างอยู่นอกพื้นที่กทม. ต้องให้กรมชลประทานเป็นผู้ตัดสินใจว่าแบบไหนเหมาะสม เพราะไม่ว่าแบบใดก็คือทางด่วนน้ำเหมือนกัน ตามเกณฑ์ต้องสูบน้ำได้อย่างน้อย 50 ลบ.ม./วินาที อาจเป็นอุโมงค์หรือคลองส่งน้ำก็ได้ ต้องคุยรายละเอียดอีกครั้ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้

อากาศเปลี่ยนแปลง ‘กทม.’ อุณหภูมิลดลง ‘เหนือ-อีสาน’ หนาวเย็น ‘ภาคใต้’ ฝนตก

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว

ศปช. ส่งสัญญาณพื้นที่แล้ง 7 จังหวัด รีบกักเก็บน้ำในช่วง 16-18 พ.ย.นี้

นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายภููมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย