3 ต.ค.2565-นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อคววามในเฟซบุ๊ก “เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค” หัวข้อ “นายกฯ 8 ปี” ตอนที่ 1 อธิบายเรื่องนายกฯ 8 ปี ด้วยภาษาชาวบ้าน ระบุว่า ขออธิบายเรื่องนายกฯ 8 ปี ด้วยภาษาชาวบ้าน ภายใน 10 ข้อ 1. ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมติของสภาผู้แทนราษฎร โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ 2.ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560 นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ 3.ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ใช้บังคับ นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ มิได้บัญญัติให้มีผลย้อนหลังได้ ซึ่งหมายความว่า “กฎหมายฉบับดังกล่าว ไม่มีมีผลย้อนหลัง”
4. ดังนั้นก่อนปี 2560 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2557 ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งมาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ถวายคำแนะนำ 5.จะเห็นได้ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ใช่นายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร 6.อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีซึ่งแม้จะเข้าสู่ตำแหน่งรัฐมนตรีโดยรัฐธรรมนูญฉบับอื่นก็ตาม ย่อมเป็นคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย. 2560
7. ด้วยเหตุนี้ ต้องนับว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงนายกรัฐมนตรีตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ 2560 ตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย. 2560 ซึ่งเป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 8. เมื่อนับถึงวันที่ 24 ส.ค. 2565 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยังไม่ครบ 8 ปี 9.การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา 8 ปี ตามรัฐธรรมนูญ 2560 จะครบกำหนดการในวันที่ 6 เม.ย. 2568
10.สรุปย่อทั้ง 9 ข้อให้สั้นที่สุดได้ว่า (10.1) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เริ่มดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. 2557 โดยได้รับแต่งตั้งจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามคำแนะนำของ คสช. “อันหมายความว่า คสช.คือผู้ที่เลือกนายกรัฐมนตรี” ถวายให้ในหลวงแต่งตั้ง” (ขอย้ำว่า ในหลวงไม่ได้มีพระราชอำนาจในการที่จะเลือกพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาหรือใครเป็นนายกรัฐมนตรี) ซึ่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวของ คสช.นั้น ไม่มีบทบัญญัติ ที่บังคับให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียง 8 ปี
(10.2) รัฐธรรมนูญปี 2560 บัญญัติว่า นายกรัฐมนตรีมาจากมติของสภาผู้แทนราษฎร โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี “อันหมายความว่า สภาผู้แทนราษฎร คือผู้ที่เลือกนายกรัฐมนตรี ถวายให้ในหลวงแต่งตั้ง”(ขอย้ำว่า ในหลวงไม่ได้มีพระราชอำนาจในการที่จะเลือกพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หรือใครเป็นนายกรัฐมนตรี) (10.3) ทั้งนี้ เมื่อรัฐธรรมนูญปี 2560 ประกาศใช้ ได้บังคับให้คณะรัฐมนตรีของ คสช.ชุดพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องถูกบังคับตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งมีบทบัญญัติ ที่บังคับให้นายกรัฐมนตรีอยู่ในตำแหน่งได้เพียง 8 ปี
(10.4) ดังนั้น กติกาว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพียง 8 ปีนั้น จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญปี 2560 ประกาศใช้ ซึ่งนั้นคือวันที่ 6 เม.ย. 2560 กติกาว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้เพียง 8 ปี ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ไม่มีผลย้อนหลัง ให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีก่อนรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ประกาศใช้ได้ ซึ่งหมายความว่า การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งแต่ วันที่ 24 ส.ค. 2557 ถึง วันที่ 5 เม.ย. 2560 ไม่ถูกบังคับตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย. 2560 เป็นต้นไป
(10.5) จะเห็นได้ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี 2 ช่วง โดยช่วงแรก เป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวของ คสช. ตั้งแต่ วันที่ 24 ส.ค. 2557 ที่ไม่มีข้อบังคับเรื่องระยะเวลา 8 ปี และช่วงที่ 2 เป็นนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญปี 2560 โดยผ่านมติสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย. 2560 ที่มีข้อบังคับเรื่องระยะเวลา 8 ปี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล
ที่บริเวณหน้าศาลรัฐธรรมนูญ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์
'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร : ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้