30 ก.ย.2565 - นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)กล่าวถึง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่า ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้ไปต่อ ตรงตามที่เนติบริกรทั้งหลายชี้นำว่าน่าจะนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ในวันที่ 6 เมษายน 2560 แต่ไม่ตรงตามที่ภาคประชาชนฟันธงว่าไม่น่ารอด ตามหลักการของรัฐธรรมนูญ ม.264 ที่ให้นับรวมการดำรงตำแหน่งก่อนหน้า แต่ศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยว่าให้เริ่มนับการดำรงตำแหน่งนั้นตั้งแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบัับนี้ คือเป็นนายกฯ รอบแรกตั้งแต่ 6 เมษายน 2560 แค่ 2 ปีเท่านั้นก่อนรับตำแหน่งนายกฯ รอบใหม่ตามรัฐธรรมนูญ 2560 ปัจจุบันจึงเป็นนายกฯ เพียงแค่ 5 ปี ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ เคยชี้แจง
การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะนำไปสู่ข้อเถียงสังคมอย่างกว้างขวางต่อไปว่า แล้วก่อนหน้านั้นการเป็นนายกฯ ตั้งแต่ปี 2557-2560 เป็นนายกฯ เถื่อนใช่หรือไม่ แล้วการตีความตรงตามลายลักษณ์อักษรมาตรา 264 จะอภิบายในห้องเรียนกฎหมายมหาชนของคณะนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยทั่วประเทศได้อย่างไร นักกฎหมายที่เคยออกมาเตือนสติพล.อ.ประยุทธ์ จะต้องประท้วงหยุดการเรียนการสอนหรือไม่ ส่วนประชาชนจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยด้วยกับคำตัดสินและตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการช่วยเหลือกันหรือไม่ก็คงจะมีการจัดการชุมนุมกันอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ศาลรัฐธรรมนูญอาจกลายเป็นคู่ความขัดแย้งทางการเมืองของสังคมไปด้วยเพราะเชื่อว่าถูกทำให้กลายเป็นศาลการเมืองจากคำวินิจฉัยดังกล่าว ซึ่งที่มาตุลาการยังถูกผูกโยงจากการรับรองเห็นชอบโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่คณะ คสช.แต่งตั้ง ซึ่งต้องรอดูคำวินิจฉัยส่วนตัวด้วยว่าเป็นอย่างไร แต่เชื่อว่าจะนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ไม่ต่างจากคดีความในอดีตที่มักใช้ทำลายคู่ขัดแย้งทางการเมืองของผู้มีอำนาจ และประชาชนบางกลุ่มนั้นอาจจะถือว่าเป็นคำวินิจฉัยอัปยศหรือ 2 มาตรฐานได้หากมีเปรียบเทียบกับคดียุบพรรคการเมืองและตัดสิทธิ์นักการเมืองในอดีต
อย่างไรก็ตาม ตนเห็นว่าการเคลื่อนไหวของ 99 พลเมืองและปัญญาชนที่ผ่านมา ได้ทำให้ความชอบธรรมของ พล.อ.ประยุทธ์ ทรุดโทรมลงอย่างมากจากหลักคุณธรรม-จริยธรรม การดึงดันที่จะอยู่ต่อในอำนาจได้ทำลายความชอบธรรมของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ลงแล้ว ซึ่งเชื่อว่าพล.อ.ประยุทธ์ คงจะเร่งเวลายุบสภาในเวลาอันใกล้นี้ อย่างช้าที่สุดก็คงหลังประชุมเอเปคตามแผนเดิม แต่ความชัดแย้งที่ขยายตัวอาจไม่อนุญาตให้อยู่ได้นาน เพราะสถานการณ์ทุกอย่างได้เปลี่ยนไปแล้ว ทุกคนคงเห็นตรงกันว่า ประยุทธ์รอด ประเทศพัง ระบบนิติรัฐ-นิติธรรม ถูกบั่นทอน
ทั้งนี้ ภาคประชาชน โดยสภาที่ 3 จะจัดเวทีอภิปรายในวันอาทิตย์นี้ เพื่อตั้งคำถามกับคำวินิจฉัยในเชิงวิชาการและทวงเอกสิทธิ์ในการเลือกนายกรัฐมนตรีกลับมาตามเจตจำนงค์ของประชาชน เวลา 13.30 น. ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และในสัปดาห์หน้าจะจัดประชุมเพื่อผลักดันการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับรอบใหม่ในทุกรูปแบบเพื่อปฏิรูปการเมืองทั้งระบบ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ไอติม' ร้องนายกฯ 'ยุบสภา' ซัดพรรคร่วมรัฐบาลขัดแย้งหนัก ทำถกแก้รธน.ล่ม!
สส.พริษฐ์ หรือ 'ไอติม' ตั้งคำถามถึงสาเหตุที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องชะงัก หลังพรรคเพื่อไทยล่มประชุมสภาต่อเนื่อง 2 วัน ซัดแรง!หรือแท้จริงแล้วเป็นเพราะความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล มากกว่าประเด็นข้อกังวลทางกฎหมาย พร้อมเรียกร้อง นายกฯ ควรพิจารณาข้อเสนยุบสภา!
ดร.ณัฏฐ์ ชี้เกมยื้อแก้รธน. 'ปชน.-พท.' ข้ามขั้นตอน เสี่ยงขัดคำวินิจฉัยศาลรธน. ส่งตีความก็ไม่ช่วย
“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน เผย พลิกเกมยื้อแก้ไข รธน.ฉบับ ปชน.-พท. แม้บรรจุเป็นวาระแล้ว เป็นการลักไก่ ข้ามขั้นตอน ไม่ใช่ปัญหาความขัดแย้ง แม้ส่งศาลรธน. ย่อมไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณา
'หมอเปรม' ยันไม่ถอนญัตติส่งศาลฯวินิจฉัย ชี้การเมืองสามก๊ก แก้รธน.ไม่มีทางสำเร็จ
นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ สว.ผู้เสนอญัตติต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาให้ส่งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมล่มเป็นวันที่ 2 ว่า สะท้อนให้เห็นว่าเป็นการเมืองแบบสามก๊กได้ชัดเจนมาก
'ความผิดสำเร็จ' ปมร้อนเพิ่มหมวด 15/1 'ปชน.-เพื่อไทย-วันนอร์' ขัดคำวินิจฉัยศาลรธน.?
การประชุมร่วมรัฐสภาครั้งที่ 4 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) ซึ่งมีวาระพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ การแก้ไขมาตรา 256 และการเพิ่มหมวด 15/1 ต้องปิดประชุมไปโดยปริยาย หลังองค์ประชุมไม่ครบ มีผู้แสดงตนเพียง 175 คน จากสมาชิกทั้งหมด 620 คน
'ภูมิธรรม' โต้ 'พท.' ตีสองหน้า ล่มสภาเอง ยันไม่กระทบรัฐบาล
'ภูมิธรรม' โต้ 'เพื่อไทย' ตีสองหน้า ล่มสภาแก้เกม รธน. แจงไม่กระทบรัฐบาล ปัดตอบทำไมไม่ยื่นศาลตีความแต่แรก
'ธรรมนัส' ชี้แก้รธน. รัฐบาลต้องเดินไปด้วยกัน ไม่โกรธหากเห็นต่าง
'ธรรมนัส' ยันวิปรัฐบาลคุยกันแล้ว ประเด็นแก้รัฐธรรมนูญต้องเดินไปด้วยกัน แต่ไม่โกรธกันถ้าต่างมีหลักการของตัวเอง