29 ก.ย.2565 - หลังจากที่พายุโนรูเข้าประเทศไทยที่บริเวณจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อช่วงเย็นวันที่ 28 กันยายนที่ผ่านมา ก่อนที่จะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว เป็นพายุดีเปรสชันและหย่อมความกดอากาศต่ำตามลำดับ ทำให้ประเทศไทยไม่เกิดภัยพิบัติน้ำท่วมในระดับรุนแรงก่อความเสียหายมากกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก กู้ชีพกู้ภัย อุบลราชธานี โพสต์ข้อความว่า #ไม่รู้ได้ไง......ไทยรอดจากพายุเพราะสิ่งนี้!!
เปิดตำนานเทือกเขาอันนัม ถือว่าเป็นเทวดาอารักษ์ ผู้ช่วยให้คนไทยรอดพ้นจากพายุและลมหนาวตลอดกาล
ทุกครั้งที่พายุก่อตัวในทะเลจีนใต้ ในหน้ามรสุม พายุจะพัดเข้าหาฝั่งจากทะเลจีนใต้ผ่านฟิลิปปินส์ เข้าสู่เวียดนาม ลาว แล้วเข้าสู่ประเทศไทย
แต่เมื่อใดที่พายุพัดขึ้นไปทางเหนือของเวียดนาม มักจะติดอยู่กับกำแพงธรรมชาติอันยิ่งใหญ่มหึมา นามว่า เทิอกเขาอันนัม (Annamese Mountains) อันเป็นเทือกเขาที่ทอดตัวยาว 1,100 กม. กั้นระหว่างชายแดนเวียดนามและลาว และทอดจากเหนือลงใต้กั้นเวียดนามกับกัมพูชาทางตอนเหนือ
มียอดสูงสุดชื่อภูเบี้ย (ลาว) สูง 2,819 ม.รทก. ซึ่งสูงกว่ายอดดอยอิทนนท์ของไทยประมาณ 300 เมตร
ความสูงระดับนี้เองจึงเป็นปราการด่านสำคัญที่ช่วยชีวิตคนไทยหลายต่อหลายครั้ง ให้รอดพ้นจากพายุที่พัดมาจากทะเลจีนใต้และอ่าวตังเกี๋ย ให้หยุดอยู่ที่ขุนเขา แห่งนี้หรือบางครั้งสลายตัวไป
เราจึงเห็นพายุสีแดงๆ หยุดแช่อยู่ที่ขุนเขาแห่งนี้เป็นเวลานานๆ เรียกว่าถ้าไม่แรงจริงก็จะไม่ทะลุฝ่ากำแพงอันแข็งแกร่งนี้มาถึงประเทศไทยได้
แต่บางทีก็เป็นข้อเสียอยู่บ้างที่สกัดกั้นฝนไม่มาถึงภาคอีสานของไทยในยามที่ต้องการน้ำเพื่อการเกษตร
ยอดเขาส่วนที่สูงอยู่ในช่วงกลางๆ ของประเทศค่อนไปทางเหนือ ตรงกับประเทศไทยก็ตั้งแต่ชายแดนนครพนมขึ้นไปหนองคายและจ.เลย
ยอดเขาอันนัมนอกจากจะกั้นไทยจากพายุแล้ว ในฤดูหนาว บางครั้งมวลอากาศเย็นที่แผ่ลงมาจากประเทศจีนก็ถูกสกัดกั้นให้หยุดอยู่ที่นั่นได้เช่นกัน ซึ่งน่าจะเป็นผลดีมากกว่า เพราะไม่อย่างนั้นเราจะไม่อะไรสกัดกั้นเมื่อยามมีภัย
ความสูงและกว้างใหญ่ของเทือกเขากันนัมนี้ยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติ ป่าเขาและสัตว์ป่า นับเป็นแหล่งธรรมชาติที่มีค่าของโลกแหล่งหนึ่ง
คาระวะจากใจ ขอบคุณและรักเทือกเขาอันนัม จากใจคนไทยทั้งประเทศ.
แอดมินอยากเล่า เช้า 29/9/65 หลังพายุโนรูสงบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67