'อัษฎางค์' ถามโพสต์ 'ส.ส.ก้าวไกล' เข้าข่ายล้มเจ้าหรือไม่

"อัษฎางค์ ยมนาค" ข้องใจโพสต์ของ ส.ส.ก้าวไกลปลุกให้กำจัดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ กำจัดระบอบกษัตริย์หรือล้มเจ้าใช่หรือไม่ เป็นท่าทีส่วนตัวหรือของพรรค

11 พ.ย.2564 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการ โพสต์รูปพร้อมข้อความตั้งคำถามว่า “ส.ส.ก้าวไกล ปลุกปั้นให้ล้มเจ้าหรือเปล่า?” มีเนื้อหาว่า ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือระบอบกษัตริย์ กำจัดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ กำจัดระบอบกษัตริย์ คือล้มเจ้า

คำว่า”กำจัดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้หมดสิ้นแผ่นดินไทย” เป็นการแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นความผิดตาม ม.112 หรือ ม.113 เป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองหรือไม่ หรือ ม.116 เป็นภัยต่อการปกครอง หรือไม่ เพราะระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีความหมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์

เมืองไทยเลิกปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาตั้งแต่ 2475 2564 ยังมีใจกำจัดระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งคงหมายถึง กำจัดสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือคิดล้มเจ้าให้หมดสิ้นแผ่นดินไทย
หรือไม่ โพสต์ความเห็นปลุกปั่นในนามส่วนตัว หรือในนามพรรค

พระมหากษัตริย์ไม่เคยเบียดบังราษฎร มีแต่นักการเมืองที่เห็นพระมหากษัตริย์เป็นก้างขวางคอ ดังนั้น หากกำจัด สถาบันพระมหากษัตริย์ไปได้ นักการเมืองก็จะได้เป็นใหญ่ เป็นประมุขแห่งรัฐแทนพระมหากษัตริย์ หากจำกัดสถาบันพระมหากษัตริย์ให้หมดหมดไป ผู้ที่รับผลประโยชน์เต็มๆ คือนักการเมือง

นักการเมืองที่ยุคทุกสมัย มีแต่พฤติกรรมฉ้อราษฎร์บังหลวง โกงกิน มาตั้งแต่ปล้นราชบัลลังก์เปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 โดยอ้างคำว่าประชาธิปไตย สิทธิความเสมอภาคของประชาชน แล้วก็กอบโกย ผลประโยชน์ของชาติและประชาชน มาเป็นของตนเองและพวก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘อัษฎางค์’ ถาม ทำไมพรรคเพื่อไทย ใช้เด็กฝึกงานมาเป็นผู้นำประเทศ

การใช้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่น iPad ในการเจรจาทางการทูต ไม่ได้แสดงถึงความทันสมัยและการเปิดรับเทคโนโลยี แต่เป็นภาพลักษณ์ที่อาจถูกตีความในเชิงลบ

ฟาดกลับ 'ด้อมส้ม' ไม่ต้องบอกว่าเจ็บปวด ตอนใส่ร้ายเจ้า มุ่งล้มเจ้า เขาเจ็บปวดมากกว่า

วิมล ไทรนิ่มนวล นักเขียนรางวัลซีไรต์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ระบุว่าเมิงไม่ต้องบอก บอกว่าเจ็บปวด

'ดร.อานนท์' หวดพวกส้ม สอนเด็กสามกีบล้มเจ้าชังชาติ ท้าเชิญยกพวกมาเลย พร้อมดีเบต

ศ.ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) โพสต์ข้อความผ่าน

ยกผลงาน Citi Identity ของ 'อภิรักษ์' เทียบ 'ชัชชาติ' ไม่แปลกโดนวิพากษ์ยับเยิน

นายอัษฎางค์ ยมนาค  หรือ  เอ็ดดี้  นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงเรื่องสติกเกอร์“กรุงเทพฯ Bangkok” ที่ติดอยู่บริเวณบนคานรถไฟฟ้า BTS เพื่อสร้าง City Branding หรือ Citi Identity ว่า