กางตัวเลขตบหน้าข่าวลือโซเชียลยันอ่างเก็บน้ำยังไม่แตกไม่เต็ม

รองโฆษกรัฐบาล ย้ำอย่าเชื่อข่าวลืออ่างเก็บน้ำเต็ม กางตัวเลขระดับน้ำอ่างขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทุกหน่วยเตรียมพร้อมรับมือพายุโนรู

28 ก.ย.2565 – น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า จากประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาเตือนพายุโนรูทำให้มีการเผยแพร่ ข้อมูลมีเขื่อนแตกหรือไม่สามารถเก็บกักน้ำได้อีกแล้ว ผ่านสื่อโซเซียลจนเกิดความเข้าใจผิด จึงขอให้ประชาชนรับฟังข้อมูลข่าวสารการแจ้งเตือนและความเคลื่อนไหวของสถานการณ์จากหน่วยงานภาครัฐอย่างใกล้ชิด

น.ส.รัชดากล่าวว่า จากรายงานสถานการณ์น้ำของกรมชลประทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 ก.ย.2565) พบว่า สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง (447 แห่ง) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 55,078 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 72% ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2564 มากกว่าปี 2564 จำนวน 5,935 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 1,156.63 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย 462.06 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 21,030 ล้าน ลบ.ม.

น.ส.รัชดา กล่าวว่า สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 50,688 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 71% ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2564 มากกว่าปี 2564 จำนวน 5,727 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 798.10 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย จำนวน 175.47 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 20,249 ล้าน ลบ.ม. ในส่วนของอ่างเก็บน้ำภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักชลสิทธิ์ รวม 4 อ่างฯ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 16,307 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 66% ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 363.78 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบาย 22.37 ล้าน ลบ.ม.สามารถรับน้ำได้อีก 8,564 ล้าน ลบ.ม.

น.ส.รัชดา กล่าวอีกว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์ มากกว่า 80% ขึ้นไป ของความจุอ่างฯ จำนวน 15 อ่างฯ อาทิ อ่างฯ แม่งัดสมบูรณ์ชล (87%) อ่างฯ จุฬาภรณ์ (85%) อ่างฯ อุบลรัตน์ (82%) อ่างฯ ลาตะคอง (81%) อ่างฯ สิรินธร (85%) อ่างฯ ทับเสลา (85%) อ่างฯ กระเสียว (82%) และอ่างฯ ศรีนครินทร์ (82%) ซึ่งหลายอ่างฯไม่ได้อยู่ในพื้นที่ๆจะได้รับผลกระทบจากมรสุม และหน่วยงานภาครัฐมีแผนบริหารจัดการหากจำเป็นต้องระบายน้ำไว้แล้ว เพื่อให้ประชาชนในเขตพื้นที่รับน้ำได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

“อ่างเก็บน้ำทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในประเทศไทย ยังสามารถรับน้ำได้ ขอให้เชื่อมั่นต่อแผนรับน้ำ และการระบายน้ำของรัฐบาล ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานไม่ได้นิ่งนอนใจเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ พายุโนรูอยู่ตลอดเวลา โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้จัดประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อติดตามสถานการณ์เตรียมการรับมือและพร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนตัวของพายุโนรู (NORU) รวมถึงติดตามแนวทางการบริหารจัดการอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล และติดตามผลการดำเนินการการตรวจสอบความมั่งคงแข็งแรงของเขื่อนเพื่อป้องกันเกิดเหตุพนังกั้นลำน้ำแตก รวมทั้งเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือช่วยเหลือพื้นที่ประสบอุทกภัย และกลไกการเจ้งเตือนระดับน้ำที่คาดว่าจะสูงขึ้นในพื้นที่เสี่ยงให้ประชาชนเตรียมอพยพเคลื่อนย้ายสิ่งของและทรัพย์สินที่สำคัญล่วงหน้าได้ทันสถานการณ์”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตอนบนของประเทศ ฝนลดลง ชป.เดินหน้าเก็บกักน้ำปลายฤดูฝน สำรองไว้ใช้แล้งหน้าให้มากที่สุด

เมื่อวันนี้ 15 ต.ค. 67 ที่ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (swoc) อาคาร 99 ปี หม่อมหลวงชูชาติ กำกู กรมชลประทาน ถนนสามเสน ผศ.ดร.สิตางศ์ พิสัยหล้า ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร.ธเนศร์ สมบูรณ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา

ศปช. อัปเดตสถานการณ์น้ำทั่วไทย ภาคกลางแนวโน้มดี คืบหน้าเยียวยา-ฟื้นฟูพื้นที่อุทกภัย

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี และโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม หรือ ศปช. และ ศปช. ส่วนหน้าจังหวัดเชียงราย เปิดเผยว่า จากปริมาณฝนที่ยังตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ภาคใต้ในช่วงนี้

'เขื่อนเจ้าพระยา' ลดระบายน้ำต่อเนื่อง พื้นที่ลุ่มต่ำ 4 จ. ท่วมน้อยลง

แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ และแม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี มีปริมาณลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท