“อัษฎางค์ ยมนาค” อธิบายชัดๆ ถึงที่มาที่ไป ทำไมศาลรัฐธรรมนูญถึงวินิจฉัยการกระทำของ 3 กับเป็นการล้มล้างการปกครอง พร้อมท้าเครือข่ายเก่งจริงกล้าสาบานไหม
11 พ.ย.2564 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ โพสต์รูปพร้อมเนื้อหาในลักษณะบทความเรื่อง “อะไรทำให้รู้ว่า ไม่ใช่เป็นการปฏิรูป แต่เป็นความพยายามที่จะล้มล้างการปกครอง” มีเนื้อหาว่า การล้มล้างการปกครอง มีความหมายเดียวกับ การปฏิวัติ
“ปฏิวัติ” ความหมายของคำว่า ปฏิวัติ คือ
• เปลี่ยนแปลงทั้งหมดอย่างฉับพลันทันใด
• การใช้กำลังเข้ายึดอำนาจและเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาลโดยฉับพลัน พร้อมทั้งเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองด้วย อริสโตเติลอธิบายการปฏิวัติทางการเมืองไว้สองประเภท ดังนี้
• การเปลี่ยนแปลงจากรัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งเป็นอีกฉบับหนึ่งโดยสมบูรณ์ (ซึ่งก็หมายถึง การล้มล้างรัฐธรรมนูญ)
• การดัดแปรรัฐธรรมนูญที่มีอยู่เดิม
“ปฏิรูป” ความหมายของคำว่า ปฏิรูป คือ ปรับปรุงให้เหมาะสม ปรับปรุงให้ดีขึ้น เปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
การชุมนุม "ธรรมศาสตร์จะไม่ทน" เมื่อ 10 สิงหาคม 2563 ที่ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต มีการประกาศของ”กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ฉบับที่ 1" ซึ่งระบุข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ที่เป็นประเด็นสำคัญในข้อกฎหมาย ได้แก่
• ยกเลิกมาตรา 6
• ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
ที่นี่มาดูว่า ทั้ง 2 มาตรา กำหนดไว้ว่าอย่างไร
• มาตรา 6 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะผู้ใดจะละเมิดมิได้
ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
• มาตรา 112 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 บัญญัติไว้ว่า "ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปีถึง 15 ปี"
ผมขออธิบายสั้นๆ ให้เข้าใจง่ายๆ มาตรา 6 กำหนดว่า “ห้ามละเมิด” เพราะพระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ มาตรา 112 กำหนดโทษ ผู้ละเมิด (ซึ่งรวมไปถึงดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย)
ต้องจำคุก
กฎหมายกำหนดชัดเจนว่า ห้ามละเมิด พระมหากษัตริย์ แต่”กลุ่มแนวร่วม” เรียกร้องให้”ยกเลิก” ซึ่งหมายความว่า ต้องการปล่อยให้มีการละเมิดพระมหากษัตริย์ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ซึ่งเท่ากับว่า เป็นการกระทำที่”บ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์” อันอาจนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” พระมหากษัตริย์ทรงเป็นกลางทางการเมือง และทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีผู้ใดจะละเมิด กล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ จึงต้องมีกฎหมาย เพื่อปกป้องพระมหากษัตริย์จากความขัดแย้งทางการเมืองและการกระทำในลักษณะหมิ่นประมาท อาฆาตมาดร้าย จึงเป็นที่มาของกฎหมายมาตรา 6 และมาตรา 112
ซึ่งหากมีผู้ใดหรือกลุ่มใดคิดยกเลิก มาตรา 6 และมาตรา 112 มันส่อพฤติกรรมว่า คนผู้นั้นหรือกลุ่มนั้น มีเป้าประสงค์ในทางการเมือง เพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์และการปกครองของไทยอย่างไม่ต้องสงสัย
เพราะประเทศไทยปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ที่แปลว่า พระมหากษัตริย์ เป็นหนึ่งในสถาบันหลักของชาติ และเป็นหนึ่งเดียวกับประชาธิปไตย
หากปล่อยให้มีใครละเมิดพระมหากษัตริย์ได้ ก็เท่ากับละเมิดประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญได้เช่นกัน
รัฐธรรมนูญกำหนดว่าอะไร มาตรา 5 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทําใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทํานั้นเป็นอันใช้บังคับ มิได้
***หมายความว่า ห้ามขัดหรือแย้ง ต่อรัฐธรรมนูญ แต่”กลุ่มแนวร่วม” ต้องการให้ยกเลิก ม.6 และ ม.112
ซึ่ง…มาตรา 6 กำหนดว่า “ห้ามละเมิด” เพราะพระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ
เท่ากับว่า กลุ่มแนวร่วม 1. ต้องการให้มีการ”ละเมิด”พระมหากษัตริย์ได้ และ 2. เป็นการกระทำที่ “ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ” ซึ่งกระทำไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญห้ามเอาไว้ว่า ห้ามละเมิด และห้ามขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นว่า ศาล”รู้ทัน”กลุ่มแนวร่วม เพราะในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า”ผู้ถูกร้องที่ 1-3 มี ‘เจตนาซ่อนเร้น’ เพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ใช่เป็นการปฏิรูป”
สิ่งที่ทำให้รู้ว่า ไม่ใช่เป็นการปฏิรูป แต่เป็นความพยายามที่จะล้มล้างการปกครอง ได้แก่… ความพยายามที่จะให้มีการยกเลิก มาตรา 6 และมาตรา 112 เนื่องจาก ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบ “ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” โดยมี”พระมหากษัตริย์”เป็นหนึ่งในสถาบันหลักของชาติ และเป็นหนึ่งเดียวกับประชาธิปไตย หากปล่อยให้มีใครละเมิดพระมหากษัตริย์ได้ ก็เท่ากับละเมิดประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญได้เช่นกัน ความพยายามในการละเมิดพระมหากษัตริย์ คือการบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์” ซึ่งเป็นความพยายามในการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งก็เท่ากับความพยายามล้มล้างการปกครอง
ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำวินิจฉัยว่า “การใช้สิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกร้องที่ 1-3 เป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างไม่สุจริต เป็นการละเมิดกฎหมาย มีมูลเหตุจูงใจ ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง”
“….หากยังคงให้ผู้ถูกร้องที่ 1-3 และองค์กรเครือข่าย กระทำการดังกล่าวต่อไป อาจนำไปสู่การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
“ด้วยเหตุข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1-3 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 49 วรรคหนึ่ง
และสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1-3 รวมถึงองค์กรเครือข่าย เลิกการกระทำดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคต ตามรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 มาตรา 49 วรรค 2”
หลังคำวิวินิจฉัยเสร็จสิ้น รุ้ง ปิยะบุตร และแกนนำ ยังคงเคลื่อนไหวและกล่าวว่า ที่ศาลตัดสินว่า “…ให้ผู้ถูกร้องที่ 1-3 รวมถึงองค์กรเครือข่าย เลิกการกระทำดังกล่าว” องค์กรเครือข่าย ที่ศาลอ้างถึงคือใคร กลุ่มใด เป็นพยายามของผู้ถูกร้องหรือแกนนำ และผู้อยู่เบื้องหลังองค์กรเครือข่าย เพื่อจะปฏิเสธว่า ไม่มีเครือข่ายอะไร เพื่อปกป้องให้เครือข่าย ได้เดินหน้าเคลื่อนไหวต่อไป หากผู้ถูกร้องหรือแกนนำถูกดำเนินคดี ทั้งที่ผู้ชุมนุม เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ใช้คำเรียกตนเองว่า “กลุ่มแนวร่วม” ซึ่งหมายความว่า ไม่ได้เป็นการกระทำของคนเพียงคนเดียว หรือแค่แกนนำ 3 (อานนท์ รุ้งและไมค์) แต่เป็นการกระทำร่วมกันของ”กลุ่มแนวร่วม” ซึ่งมีความหมายเดียวกับ “เครือข่าย” หลักฐานสำคัญก็คือ มีการอ่านประกาศของ”กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ให้ยกเลิก มาตรา 6 และมาตรา 112
ในภาพประกอบด้านล่าง คือภาพที่เบื้องหน้า ประกาศ ปฏิรูป แต่ข้อความด้านหลังเขียนชัดเจนว่า ต้องการ ปฏิวัติ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นว่า ศาล”รู้ทัน”กลุ่มแนวร่วม” เพราะในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า”ผู้ถูกร้องที่ 1-3 มี ‘เจตนาซ่อนเร้น’ เพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ใช่เป็นการปฏิรูป” ซึ่งไม่ว่าแกนนำที่อยู่เบื้องหน้าหรือที่อยู่เบื้อหลังโดยแอบอยู่ใต้กระโปรงนักศึกษา และกลุ่มเครือข่ายแนวร่วม จะอ้างว่า ตั้งใจเพียงแค่ ปฏิรูป แต่เชื่อได้สนิทใจว่า ทั้งหมดทุกคนรู้ดีอยู่แก่ใจว่า ตนเอง ต้องการปฏิวัติ ไม่ใช่แค่ ปฏิรูป
คนที่โกหกผู้อื่นและโกหกได้แม้กระทั่งโกหกตนเอง ยังมีความชอบธรรมอะไรมาอ้างว่าทำไปด้วยความหวังดี แต่ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และราษฎร เพราะคำกล่าวอ้างนั้นย่อมมีแต่การโกหกทั้งสิ้น ออกมาสาบานซิ…ว่าไม่จริง ถ้าจริงขอให้ตนเองและวงศ์ตระกูลฉิบหาย 7 ชั่วโคตร และขอให้การกระทำเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ไม่มีวันสำเร็จทั้งชาตินี้และชาติต่อๆ ไป ทักษิณ ธนาธร ปิยะบุตร พิธา ช่อ เจี๊ยบ รุ้ง เพนกวิน อานนท์ ไมค์ ฯลฯ กล้าสาบานไหม
กล้ารับคำท้าหรือไม่ การไม่กล้ารับคำท้า ก็คือยอมรับแต่โดยดีนั้นเอง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทักษิณ-พท.' อย่าเพิ่งตีปีก! ชั้น 14 ป.ป.ช. ใกล้งวด คดีครอบงำยิ่งชัด รอ กกต. เคาะ
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า หน้าแตกกันไปตามๆ กัน เมื่อได้ทราบผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่าไม่รับวินิจฉัยคำร้อง
'ชูศักดิ์' โล่ง ปลอดชนักล้มล้างการปกครอง
'ชูศักดิ์' มองเป็นสัญญาณดี ปม 'ศาล รธน.' ไม่รับคำร้อง 'พท.' ล้มล้างการปกครอง ชี้ รัฐบาลเดินหน้าทำงานได้แบบไม่กังวล
'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ
'วิสุทธิ์' เผยฝ่ายกฎหมายเพื่อไทย ร่างคําฟ้องเช็กบิล 'ธีรยุทธ' แล้ว
นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการฟ้องร้องผู้ยื่นคําร้องกล่าวหาว่าพรรคเพื่อไทยล้มล้างการปกครอง ว่า ตนได้คุยกับนายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
'นันทเดช' ลั่น! อย่ากลัว 'ทักษิณ' จะใหญ่โตไปกว่านี้
พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊กหัวข้อ อย่ากลั
'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว