เอาแล้ว! โพลดับฝันเก้าอี้นายกฯ 'อุ๊งอิ๊ง-พิธา' ความนิยมลด

โพลดับฝัน “อุ๊งอิ๊ง – พิธา” ยังไปไม่ถึงเก้าอี้นายกฯ ปชช.เปิดใจ  ยังหาคนเหมาะสมไม่ได้ ขณะที่”หญิงหน่อย” ตีคู่ไปพร้อมกันกับ”อนุทิน” มาแรง ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น

25 ก.ย.65 – ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 3/2565” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-21 กันยายน 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,500 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคะแนนนิยมทางการเมือง การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 24.16 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 2 ร้อยละ 21.60 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ เข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคทำได้จริง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร อันดับ 3 ร้อยละ 10.56 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ ต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบอุดมการณ์ทางการเมือง และชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล อันดับ 4 ร้อยละ 10.12 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์สุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ นโยบายสามารถช่วยเหลือประชาชนได้จริง และต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง

อันดับ 5 ร้อยละ 9.12 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ ชื่นชอบผลงานในอดีต มีประสบการณ์ด้านการบริหาร ชื่อสัตย์สุจริต ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ อันดับ 6 ร้อยละ 6.28 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริงทำจริง มีความน่าเชื่อถือ มีความซื่อสัตย์สุจริต และเชื่อมั่นในการทำงาน อันดับ 7 ร้อยละ 2.56 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ อันดับ 8 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบนโยบายพรรคภูมิใจไทย

 อันดับ 9 ร้อยละ 2.20 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนที่พูดจริงทำจริงและมีความน่าเชื่อถือ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา อันดับ 10 ร้อยละ 2.16 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เพราะ มีความรู้ ความสามารถ ตั้งใจในการทำงาน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบแนวคิดและทัศนคติในการทำงาน อับดับ 11 ร้อยละ 2.12 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนา) เพราะ มีความรู้ ความสามารถ เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ มีประสบการณ์ด้านการบริหาร ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา อันดับ 12 ร้อยละ 1.92 ระบุว่าเป็น ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พรรคสร้างอนาคตไทย) เพราะ มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ เป็นคนที่พูดจริงทำจริงและมีความน่าเชื่อถือ ขณะที่บางส่วนระบุว่า เชื่อมั่นในการทำงาน อันดับ 13 ร้อยละ 1.68 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์

 และร้อยละ 3.12 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนา) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ (พรรคเพื่อไทย) และดร.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล)

เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2/65 เดือนมิถุนายน 2565 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และนายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนา) มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ ผู้ที่ระบุว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) และนายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

สำหรับพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 34.44 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 24.00 ระบุว่า ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย อันดับ 3 ร้อยละ 13.56 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 4 ร้อยละ 7.56 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 5.56 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 6 ร้อยละ 3.04 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.56 ระบุว่าเป็น  พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.44 ระบุ ไม่ตอบ/ไม่สนใจ อันดับ 9 ร้อยละ 2.32 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 10 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนา และร้อยละ 3.52 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคเพื่อชาติ พรรคเศรษฐกิจไทย พรรคประชาชาติ พรรครวมพลัง (พรรครวมพลังประชาชาติไทย) และพรรคไทยศรีวิไลย์

เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2/65 เดือนมิถุนายน 2565 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และพรรคพลังประชารัฐ มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย ผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติพัฒนา มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.64 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.16 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล     และภาคกลาง ร้อยละ 18.04 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.48 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.68 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.16 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.84 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 13.20 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.80 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.20 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.56 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.24 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.24 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.76 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.76 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ
และร้อยละ 0.24 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 31.76 สถานภาพโสด ร้อยละ 65.28 สมรส ร้อยละ 2.92 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.04 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่าง ร้อยละ 27.60 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.96 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.24  จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 24.52 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.56 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.12 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.44 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.08 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.52ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.56 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.92 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/
ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.20 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 5.04 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.24 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 23.24 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.56 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.28 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 8.12 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 5.24 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.36 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.20 ไม่ระบุรายได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ทักษิณ' ยันพรรครัฐบาลไม่แตะ 112 เผยเคยเตือนสติ 'ธนาธร' มาแล้ว!

"ทักษิณ" เผยพรรคร่วมรัฐบาล ลงสัตยาบันไม่แตะ มาตรา 112 โอดตัวเองตกเป็นเหยื่อเพราะถูกหมั่นไส้  เคยคุย "ธนาธร" ขอให้ช่วยกันทำเพื่อบ้านเมือง หากจะแก้กฎหมายควรทำทีละขั้นตอน อย่าไปมุ่งหาเสียง บางทีจุดโฆษณาอันตรายกว่าสิ่งที่ตั้งใจทำ

สมาพันธ์คนงานรถไฟ จี้มท.1 ทบทวนมติคณะกรรมการที่ให้ยุติการเพิกถอนเอกสารสิทธิพื้นที่เขากระโดง

นายสุวิช ศุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ (สพ.รฟ.) ทำหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

เพื่อไทยฉวยคดีเขากระโดง สบช่องเตะตัดขาภูมิใจไทย

ปมขัดแย้งกรณีที่ดินเขากระโดง แม้แกนนำรัฐบาลของทั้ง 2 พรรคคือ “ภูมิธรรม เวชยชัย” รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม แกนนำพรรคเพื่อไทย และ “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกฯ รมว.มหาดไทย

จับตา “พ่อใหญ่แม้ว” เยือนอุดรฯ เป่ากระหม่อม24พ.ย.สู้ศึกอบจ.

ในวันที่ 24 พ.ย.ที่จะถึงนี้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งก่อนหน้านี้มี “วิเชียร ขาวขำ” นั่งเป็นนายก อบจ.อุดรฯ แต่เจ้าตัวลาออกอ้างปัญหาสุขภาพ จึงต้องทำให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน และเป็นที่น่าจับตาว่า พรรคใหญ่ 2 พรรค ส่งคนสู้ศึกในครั้งนี้ใครจะเป็นผู้ชนะ

จับตา ส่อแตกหัก! เพลงกระบี่อำมหิตบรรเลงแล้ว 'เพื่อไทย' เดือด! กระซวกคืน 'ภูมิใจไทย'

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย นักวิจารณ์การเมือง โพสต์ข้อความว่า เพลงกระบี่อำมหิตบรรเลงแล้วเพื่อไทยเดือดกระซวกคื

'รวมแผ่นดิน' เปลี่ยนชื่อใหม่พรรคก้าวอิสระ 'มาดามหยก' นั่งหัวหน้า 'แว่น สิริรัตน์' โฆษก

นายมาโนช อุณหกาญจน์กิจ รองหัวหน้าพรรครวมแผ่นดิน เป็นประธานจัดการประชุมใหญ่ สามัญประจำปี ครั้งที่ 2/2567 สืบเนื่องจาก นายมนตรี พรมวัน ลาออกจากหัวหน้าพรรค เพื่อไปลงเลือกตั้งท้องถิ่น ทำให้ต้องมีการประชุมเพื่อเลือกหัวหน้าพรรค