ขอปลายทาง 30 ก.ย. คำนึงความสงบสุขประเทศ

เปิดเวทีคณะหลอมรวมฯ ขอปลายทาง 30 ก.ย.คำนึงความสงบสุขประเทศ สับยับมีพรรคจระเข้ขวางในสภา “เจษฎ์” จับตาล่วงหน้าหลุมพรางรัฐประหารแล้วตีกิน ต้องเดินหน้าทำให้อำนาจเป็นของประชาชน

18 ก.ย.2565 –  ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา คณะหลอมรวมประชาชน จัดเสวนา “นับหนึ่งประเทศไทยของปวงชน หลัง 30 กันยายน”  โดยมีนายเจษฎ์ โทณะวณิก ประธานคณะนิติศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย และ อดีตที่ปรึกษากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) นายพิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผอ.หลักสูตรปริญญาเอกสาขาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา นิด้า และนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

นายเจษฎ์ กล่าวกรณี วาระ 8 ปี ของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ว่า  การที่ต้องกำหนดเวลา เพื่อแก้ไขการผูกขาดอำนาจ ดังนั้นแล้วเมื่อถามว่าอำนาจอธิปไตยของปวงชนอยู่ที่ไหนเรื่องนี้ก็ต้องกลับไปยังสภาอีก และประชาชนจะอยากให้มีหรือไม่มีต้องทำอย่างไรบ้าง นอกเสียว่าประชาชนจะผลักดันให้มีการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยกลไกที่ประชาชนมีส่วนร่วม อาจจะให้มีส.ส.ร.ที่มาจากทุกภาคส่วนมายกร่างฯ เพราะถ้าไม่ทำอย่างนี้หลังวันที่ 30 ก.ย. อำนาจอธิปไตยของประชาชนก็อยู่ที่มือบรรดาผู้แทนราษฎรของท่าน ซึ่งไม่รู้ว่าท่านอยากเลือกหรือเต็มใจเลือกเข้ามาหรือไม่

นายเจษฎ์ กล่าวว่า  ถ้าศาลให้วันที่ 24 ส.ค. พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดนายกฯ เรื่องก็ไม่จบ และยิ่งจะเป็นเรื่องใหญ่ เพราะต้องเลือกนายกฯคนใหม่ ตามที่มีรายชื่อที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคเคยเสนอชื่อไว้ แต่ถ้าไม่เอานายกฯตามรายชื่อดังกล่าวก็จะต้องไปใช้เสียงของสภากึ่งหนึ่งให้มีการเอานายกฯคนนอกมา เรื่องนี้อำนาจอธิปไตยก็ยังอยู่ที่สภา และสุดท้ายเขาก็กลับมาอีก เพราะถ้าดูตามกฎหมายรัฐธรรมนูญพล.อ.ประยุทธ์สามารถกลับมาเป็นนายกฯรักษาการได้ และสามารถยุบสภา ตั้งรัฐมนตรีได้ หรือถ้าศาลบอกนับตั้งแต่ปี 62 นั้นแสดงว่าการเป็นนายกฯได้ก็ต่อเมื่อมีการเลือกตั้งนั้นเอง

“ ไม่ได้มองว่าการเคลื่อนไหวของประชาชนนั้น ไม่ใช่การไม่เหมาะไม่ควร แต่ให้ระวัง เพราะมันจะมีคนอีกกลุ่มหนึ่งเข้ามา ในภาวะการชุมนุมมันจะมีกลุ่มคนที่ตีกิน ฉะนั้นพอเราเคลื่อนไหวของประชาชนแล้วมีคนกลุ่มหนึ่ง ถ้าเราชุมนุมจนเขาอ้างว่ามันไม่สงบ เท่ากับว่าจะมีการรัฐประหารแล้วตีกินอีก เราต้องทำให้อำนาจของเราเป็นอำนาจที่ไม่มีใครมาตีกินได้” นายเจษฎ์ ระบุ

ด้านนายพิชาย กล่าวว่า อำนาจอธิปไตยเราโดยปกติแสดงได้ผ่านการเลือกตั้ง แต่ 8 ปีนั้นอำนาจเราอยู่ในกรง ถูกจับและขังเอาไว้ ในปี 57 ถูกขัง และมาปี 60 แม้เอากำแพงออกแต่ใส่ลูกกรง กรงที่ขังนั้นคือรัฐธรรมนูญปี 2560 และมีเครื่องมือเป็นการให้อำนาจ ส.ว.ที่ให้เลือกนายกฯได้ ฉะนั้น ส.ว.จึงไม่ได้มีหน้าที่อะไร แต่ทำหน้าที่ตามเจ้าของกรง

“ ดังนั้นทางเดียวที่เราจะออกจากกรงขังคือเราต้องร่างรัฐธรรมนูญที่เป็นของประชาชน แต่มันก็ยังมีการขัดขวางอยู่ แล้วยังมีคนที่ประชาชนเลือกเข้าไปยังสภาไปร่วมมือกับเขา มีพรรคการเมืองบางพรรคไปจับมือกับเขาแล้วทำตัวเป็นจระเข้ขวางคลองขัดขวางการร่างรัฐธรรมนูญของประชาชน มีนักการเมืองส่วนหนึ่งร่วมมือกันกักขังอธิปไตยอำนาจของปวงชน” นายพิชาย ระบุ

นายธีระชัย กล่าวว่า  ตนเองอยากคิดว่าถ้าการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไรให้คำนึงถึงความสงบของประเทศและการเมือง ตนเองไม่อยากคิดเลยว่าใน 8 ปีนั้นมันเป็นการเลี้ยงความขัดแย้ง จึงจำเป็นต้องนับหนึ่งประเทศไทย และ 8 ปีนั้นมีการปิดประตูไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมอะไรเลย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รวมแผ่นดิน' เปลี่ยนชื่อใหม่พรรคก้าวอิสระ 'มาดามหยก' นั่งหัวหน้า 'แว่น สิริรัตน์' โฆษก

นายมาโนช อุณหกาญจน์กิจ รองหัวหน้าพรรครวมแผ่นดิน เป็นประธานจัดการประชุมใหญ่ สามัญประจำปี ครั้งที่ 2/2567 สืบเนื่องจาก นายมนตรี พรมวัน ลาออกจากหัวหน้าพรรค เพื่อไปลงเลือกตั้งท้องถิ่น ทำให้ต้องมีการประชุมเพื่อเลือกหัวหน้าพรรค

'แพทองธาร' นำประชุมใหญ่สามัญเพื่อไทย 19 พ.ย. ยังไม่ปรับโครงสร้างพรรค

พรรคเพื่อไทย (พท.) มีกำหนดการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2567 พรรค พท. เพื่อรับรองผลการดำเนินงานของพรรค ตามกฎหมายคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน