'อ.ไชยันต์'ตามชำแหละวิทยานิพนธ์'ณัฐพล'อ้างอิงนสพ.ฉบับ10พ.ย.2490 ที่ก่อตั้ง24 มิ.ย.2500

'อ.ไชยันต์' ตามชำแหละวิทยานิพนธ์'ณัฐพล ใจจริง'ประเด็น 'ในหลวง ร.9 ทรงทราบแผนการรัฐประหาร 2490 ล่วงหน้า 2 เดือน'อ้างอิงนสพ.เอกราชวันที่ 10พ.ย.2490 แต่นสพ.เอกราชก่อตั้ง24 มิ.ย.2500

10พ.ย.2564- ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้
“ทุ่นดำ-ทุ่นแดง”
กรณีการกล่าวว่า "ในหลวงทรงทราบแผนการรัฐประหาร 2490 ล่วงหน้า 2 เดือน" ของ ณัฐพล ใจจริง
ประเด็นสำคัญอีกประเด็น คือ
“ในหลวง ร.9 ทรงทราบแผนการรัฐประหาร 2490 ล่วงหน้า 2 เดือน”
ซึ่ง ณัฐพล กล่าวว่า “โดยหนังสือพิมพ์ไทยร่วมสมัยได้พาดหัวข่าวขณะนั้นว่า 'ในหลวงรู้ปฏิวัติ 2 เดือนแล้ว' ทั้งนี้ พล ท.กาจ กาจสงครามให้คำสัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์ต่อมาว่า เขาได้เคยส่งโทรเลขลับรายงานแผนรัฐประหารให้พระองค์ทรงทราบล่วงหน้า 2 เดือนก่อนลงมือรัฐประหาร”

โดย ณัฐพล อ้างอิงจากหนังสือพิมพ์เอกราชวันที่ 10 พฤศจิกายน 1947
อย่างไรก็ดี สิ่งที่พวกเราต้องการบอกทุกท่านเป็นอย่างแรกคือ จะเป็นไปได้อย่างไรที่หนังสือพิมพ์เอกราชจะลงข่าวในปี พ.ศ.2490 (ค.ศ.1947) ?

เนื่องจากว่า “หนังสือพิมพ์เอกราชถือกำเนิดขึ้นโดยโรงพิมพ์เอกราชได้ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 24 มิถุนายน 2500” !
กล่าวคือ หนังสือพิมพ์ที่ก่อตั้งปี พ.ศ.2500 จะนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลาไปลงข่าว 10 ปีที่แล้วก่อนการก่อตั้งได้อย่างไร!?

(ดูประวัติการก่อตั้งจาก พัชราภรณ์ ครุฑเมือง, การดำรงอยู่ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เอกราช ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคม วิทยานิพนธ์นิเทศนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ ภาควิชาสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552)

มิหนำซ้ำ เรายังรู้สึกแปลกใจที่ ณัฐพล ใช้ปี ค.ศ. 1947 ในการระบุปี ขณะที่หนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ เขากลับใช้ พ.ศ. ทั้งหมด

ดังนั้น การอ้างถึง “หนังสือพิมพ์เอกราชวันที่ 10 พฤศจิกายน 1947” ของ ณัฐพลจึงทำให้เกิดข้อสงสัยว่า มีที่มาจากไหนกันแน่ ?

เพราะข้อเท็จจริงปรากฏว่า ไม่เคยปรากฏหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ขึ้นในบรรณพิภพในเวลานั้น
ประกอบทั้งการใช้ปี ค.ศ. ที่ไม่ปรากฏความต่อเนื่องสม่ำเสมอ (consistency) กับการเขียนวิทยานิพนธ์ในส่วนอื่น ๆของ ณัฐพล

เราจึงสงสัยว่าณัฐพลเอาข้อมูลในส่วนนี้มาจากไหนกันแน่ ?
หรือถ้ามีจริงทำไมเขาไม่อ้างจากหลักฐานชั้นต้นเช่นในจุดอื่นๆ ?

นอกจากนี้ ก่อนการรัฐประหาร 2490 บรรยากาศขณะนั้นก็เป็นที่รับรู้ทั่วไป ดังปรากฏข่าวลือว่าจะต้องมีการรัฐประหารเกิดขึ้นแน่ ๆ ไม่ว่าวันใดวันหนึ่ง

เนื่องจากสถานภาพของรัฐบาลปรีดี-หลวงธำรงฯ นั้นง่อนแง่นเต็มที่ ประชาชนไม่ให้ความเชื่อถือเพราะถูกกล่าวหาว่าเป็นรัฐบาลที่คอรัปชั่นอย่างรุนแรง

กระแสการรัฐประหารนั้นรุนแรงกระทั่งว่า หลวงธำรงฯ นายกรัฐมนตรีในเวลานั้นถึงกับให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ว่า “นอนรอคอยอยู่ที่บ้านก็ไม่เห็นมีปฏิวัติ”

ดังนั้น ไม่ว่าจะใครก็ตามในประเทศไทยหรือนอกประเทศในเวลานั้นก็ย่อมต้องคุ้นเคยกับข่าวรัฐประหารอยู่แล้ว เพราะข่าวนี้เป็นที่รับรู้กันทั่วไปไม่ใช่แค่เฉพาะในแวดวงชนชั้นสูง

เมื่อประมวลทั้งหมดแล้ว เราจึงขอถามกลับไปยัง ณัฐพล ว่า ในหนังสือขุนศึกฯ ที่เขาได้ตัดประเด็นทั้งส่วนทั้งสองนี้ออกไป ย่อมแสดงว่าณัฐพลรู้อยู่แก่ใจใช่หรือไม่ว่าไม่มีน้ำหนักใช่หรือไม่ ?
ทั้งในประเด็นแรกที่ณัฐพลเชื่ออย่างสนิทใจว่า “สมเด็จย่าอยู่เบื้องหลังรัฐประหาร”

ซึ่งหากณัฐพลต้องการจะให้น้ำหนักแก่สมมติฐานพวกเจ้าสนับสนุนการรัฐประหาร เขาก็ต้องคงเนื้อหาในส่วนนี้ไว้ เพราะได้จะสอดคล้องกับการให้ภาพที่ชัดขึ้นของพวกฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่สนับสนุนคณะรัฐประหารโดยดุษฎี
(ไม่ใช่มาพบความจริงตอนหลังว่าไม่ได้สนับสนุนแต่ต้น แต่เพราะถูกคณะรัฐประหารใช้ปืนจี้บังคับให้เซนแบบกรมขุนชัยนาทฯ เช่นที่พวกเราได้นำเสนอไปแล้ว)

อีกทั้งในประเด็นหนังสือพิมพ์เอกราชที่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2500 ซึ่งสามารถสาวโยงถึงในหลวงได้โดยตรง แต่ ณัฐพล ก็กลับตัดข้อเสนอสำคัญนี้ทิ้งเสียอย่างน่าแปลกใจ

อย่างไรก็ดี พวกเรามีความกังวลใจว่า สิ่งที่ณัฐพลกระทำไว้ในวิทยานิพนธ์นั้นได้แผ่ขยายออกไปไกลจนมีการอ้างอิงในวิกิพีเดียไปเสียแล้ว ควรบันทึกไว้ด้วยว่าไม่มีใครสามารถแก้ไขข้อมูลในประเด็นสมเด็จย่าสนับสนุนการัรฐประหารนี้ในวิกิพีเดียได้เลยจนบัดนี้

เพราะหากเมื่อทำการแก้ไขทีไร ก็มักจะมี “มือที่มองไม่เห็น” แก้กลับให้เป็นข้อมูลของณัฐพลทุกครั้ง
เราหวังใจเป็นอย่างยิ่งว่าการกระทำของพวกเรา ทุ่นดำ-ทุ่นแดง ในครั้งนี้ จะทำให้ทุก ๆ ท่านได้เห็นถึงการใช้หลักฐานและการพิจารณาบริบทแวดล้อมที่รายล้อมอยู่มากขึ้น

และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้เขียนข้อมูลวิชาการในฐานะผู้ต้องรับผิดชอบในความผิดพลาดที่ปรากฏขึ้นนี้ด้วย ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทิดพระเกียรติ 2 กษัตริย์ ขัตติยมหาราช

ตุลาคมเดือนที่ปวงชนชาวไทยสูญเสียพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักและเทิดทูนยิ่งถึง 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5      และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร  รัชกาลที่ 9  ที่เสด็จสวรรคตในวันที่ 23  ตุลาคม

‘สว.วีระศักดิ์’ สุดภูมิใจ เกิดในสมัย ร.9- รับโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นผู้ว่าฯพิจิตรรุ่นสุดท้าย

ในชีวิตของผม ภาคภูมิใจมากใน 2 เรื่อง ได้เกิดในรัชสมัยของพระองค์ท่าน และ ได้รับโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร

‘แก้วสรร’ ออกบทความสุดกินใจ ‘คุณค่า‘ ในชีวิตของคนชื่อ ’ภูมิพล‘

๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ ชีวิตในหลวงของเรา..ได้จากโลกนี้ไปแล้ว พวกเราคนไทยเศร้าโศกยิ่งและแสดงความรักอาลัยออกมามากมายหลายลักษณาการ จนมีผู้คนเป็นอันมากแปลกใจและไต่ถามขอคำตอบจากพวกเราอย่างจริงจังว่า “คุณค่า” ในชีวิตของพระองค์ท่านอยู่ที่ตรงไหน ต่างจากชีวิตอื่นๆที่จากไปในทุกๆวันอย่างไร?

เทียบหนังสือ 'อ.พวงทอง' ปชต.เป็นข้ออ้างที่จะเข้าแทรกแซงความมั่นคงภายในประเทศอื่น

ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กว่า