13 ก.ย.2565 - ขณะนี้ชาวเน็ตให้ความสนใจไปที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ซึ่งโพสต์เปรียบเทียบการรายงานสถานการณ์และแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร(กทม.) ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกทม. และพล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าราชการกทมคนก่อน โดยมีรายละเอียดดังนี้
เปิดไปดูเพจอดีตผู้ว่ากทม. อัศวิน ขวัญเมือง เลื่อนดูเล่นๆในช่วงเวลาหน้าฝนแทบทุกวันมีแต่ข้อมูล และรายงานว่าได้สั่งงานอะไรบ้าง
รายงานตัวเลขหมด
ความน่าจะเป็นที่กรมอุตตุเตือนรอบ7วันข้างหน้าว่าอาจจะมีฝนหนักแค่ไหน
มีการรายงานตัวเลขระดับน้ำแต่ละสถานีระบายน้ำ ว่าอยู่ระดับไหน พร้อมสำหรับรับน้ำแค่ไหน
ปริมาณน้ำจากแม่น้ำสูงแค่ไหน น้ำทะเลหนุนแค่ไหน ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านประตูในแต่ละวันระบายได้แค่ไหน เพื่อประเมินกำลังในการระบายหากฝนตกหนัก
มีการรายงานให้เห็นว่าได้ทำความสะอาดลำคองรอรับน้ำแทบทุกวัน
มีการประสานกองทัพเรือขอเรือมารอผลักดันน้ำให้ไปเร็วขึ้น กรณีที่น้ำทะเลหนุนสูง
มีการแจ้งขอกำลังพลทหาร มาประจำจุดเสี่ยงที่น้ำมักท่วม เผื่อเหตุฉุกเฉินประจำทุกจุด24ชม. แถมบางเดือนที่น้ำมาเยอะยังมีการขอรถทหารมาช่วยรับส่งประชาชน ช่วยขนของหนีน้ำ ฯลฯ
แถมยังรายงานแทบทุกวันซะด้วย
แต่มาดูเพจผู้ว่าคนปัจจุบัน ไม่มีข้อมูลอะไรเลย มีแต่คลิปไลฟ์สดจริงๆ
ไม่สามารถเข้าไปแล้วอ่านข้อมูล รายงานต่างๆได้เลย
ไปดูเปรียบเทียบกันได้เลย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
อากาศเปลี่ยนแปลง ‘กทม.’ อุณหภูมิลดลง ‘เหนือ-อีสาน’ หนาวเย็น ‘ภาคใต้’ ฝนตก
พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว
ศปช. ส่งสัญญาณพื้นที่แล้ง 7 จังหวัด รีบกักเก็บน้ำในช่วง 16-18 พ.ย.นี้
นางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายภููมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย
ไทยฝนฟ้ายังคะนอง กรุงเทพฯร้อยละ 30 ของพื้นที่
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย