'วัชระ' เปิดข้อมูล 'กรศศิร์' ร่วมกรรมาธิการ ทั้งสนช.-ส.ว. รวม 4 คณะ


10 ก.ย.2565 - นายวัชระ เพชรทอง อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ตามที่ตนได้ทำหนังสือถึงน.ส.นภาภรณ์ ใจสัจจะ เลขาธิการวุฒิสภา ขอให้เปิดเผยรายละเอียดของส.ต.ท.หญิง กรศศิร์ บัวแย้ม เป็นผู้ช่วยดำเนินงานคณะทํางานหรือตําแหน่งอื่น ๆ ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และหรือสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.)คนใดนั้น สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้แจ้งผลการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในวงงานรัฐสภาของส.ต.ท.หญิง กรศศิร์ และส.ต.หญิง ปัทมา ศิริรัตน์ ในช่วงสมัยสนช. ระหว่างวันที่ 31 ก.ค. 57 ถึง 21 พ.ค. 62 และสมัยวุฒิสภา ระหว่างวันที่ 11 พ.ค. 62 ถึง 7 ก.ย. 65 โดยสรุปได้ดังนี้

กรณี ส.ต.ท.หญิง กรศศิร์ บัวแย้ม การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ และค่าตอบแทน ไม่พบว่ามีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจําตัวสมาชิกสนช. ผู้ชำนาญการประจำตัวสมาชิกสนช. และผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกสนช. แต่เคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ สนช. ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค. 61 (ไม่มีคำสั่งพ้นจากตำแหน่ง) โดยไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ไม่ได้กําหนดไว้ตามระเบียบรัฐสภา

ส่วนเรื่องการได้รับเบี้ยประชุม ในช่วงสนช. ของ ส.ต.ท.หญิง กรศศิร์ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการ 2 ครั้ง โดยไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม อย่างไรก็ตาม เคยร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานภายในประเทศ 2 ครั้ง ครั้งแรก ระหว่างวันที่ 17-18 ก.ย. 61 จังหวัดเชียงราย โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 4-6 มิ.ย. 61 จังหวัดระนอง โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง และไปศึกษาดูงานต่างประเทศ 1 ครั้งคือ การร่วม เดินทางไปประชุมทวิภาคีที่สหพันธรัฐรัสเซีย - สาธารณรัฐฟินแลนด์ ระหว่างวันที่ 7-16 เม.ย. 61 โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง นอกจากนี้ เคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการประจำคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. 61 ถึง21 พ.ค. 62 ไม่มีคำสั่งพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากสิ้นสุดตามวาระของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทั้งนี้ ได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบรัฐสภา กรณีแต่งตั้งบุคคล ที่เป็นข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของราชการ พนักงานส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ในอัตรา เดือนละ 4,500 บาท และเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการ โดยไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม


นายวัชระ กล่าวอีกว่า ในสมัยวุฒิสภา ระหว่างวันที่11 พ.ค. 62 ถึงวันที่ 7 ก.ย. 65 ไม่พบว่ามีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประจําตัวสมาชิกวุฒิสภา ผู้ชำนาญการประจำตัวสมาชิกวุฒิสภา และผู้ช่วยดำเนินงานของสมาชิกวุฒิสภา แต่เคยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ วุฒิสภา ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2562 - 30 กันยายน 2563 ไม่มีคำสั่งพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากสิ้นสุดวาระตามปีงบประมาณ ได้รับค่าตอบแทนตามระเบียบรัฐสภา ในอัตราเดือนละ 6,000 บาท เข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการ 4 ครั้ง โดยไม่มีสิทธิได้รับเบี้ยประชุม อีกทั้งยังได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต ประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ตั้งแต่วันที่ 24 ก.ย.62 ถึง 22 ส.ค.65 ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทน เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ไม่ได้กําหนดไว้ตามระเบียบรัฐสภา และเข้าร่วมประชุมคณะกรรมาธิการที่จังหวัดระยอง ระหว่างวันที่ 13-14 ก.พ. 63 โดยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

นายวัชระ กล่าวว่า ขอขอบคุณสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาที่ตอบหนังสืออย่างรวดเร็วภายใน 3 วัน นับเป็นหน่วยราชการที่มีมาตรฐานเทียบเท่าหน่วยงานของรัฐที่ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งจะไม่พบในหน่วยงานราชการทั่วไป จากข้อมูลเบื้องต้นที่ส่งมา แม้ว่าจะบอกว่าไม่พบว่าส.ต.ท.หญิงกรศศิร์ บเป็นผู้ช่วยสนช.หรือสว.ท่านใด แต่เธอได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาและเลขานุการหรือนักวิชาการ สภาละ2คณะคือ สมัยสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการการกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และกิจการตำรวจ สนช. และเลขานุการคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว สนช. มีการเดินทางไปดูงานราชการต่างประเทศที่รัสเซียและฟินแลนด์ ถ้าไม่ใช่บุคคลพิเศษจริงๆจะไม่ได้ไปเด็ดขาด ต้องขอข้อมูลว่าหัวหน้าคณะเป็นใคร มีบุคคลร่วมคณะทั้งหมดกี่คน ใครเป็นคนเสนอชื่อให้ไป และเป็นผู้ติดตามสนช.ท่านใดไปปฏิบัติราชการต่างประเทศ ใช้งบประมาณเท่าไร ไปกับบริษัททัวร์ชื่ออะไร กลับมาแล้วทำรายงานพร้อมภาพถ่ายส่งประธานสนช.อย่างไร มีจำนวนกี่หน้า ประสบความสำเร็จในการไปดูงานต่างประเทศหรือไม่ คุ้มค่ากับงบประมาณนับล้านบาทที่เสียไปหรือไม่

"ต่อมาในสมัยสว. ปัจจุบันเธอได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ประจำคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต ประพฤติมิชอบและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เธอยังได้เดินทางไปราชการภายในประเทศ ทั้งที่จ.เชียงราย จ.ระนอง จ.ระยอง แสดงว่ามีความสำคัญมากต้องดูรายชื่อคณะกรรมาธิการที่ร่วมเดินทางทั้งหมด และผลรายงาน ภาพถ่ายการเดินทางไปปฏิบัติราชการต่างจังหวัดด้วย ซึ่งต้องทำหนังสือขอให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเปิดเผยรายละเอียดต่อไป" นายวัชระ ระบุ

นายวัชระ กล่าวด้วยว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่า การที่เธอได้สิทธิเดินทางไปราชการต่างประเทศนั้น ถ้าไม่ใช่บุคคลพิเศษของท่านผู้ทรงเกียรติจริงๆ จะได้ไปหรือไม่ ไปสายการบินอะไร ต้องดูเลขที่นั่งบนเครื่องบิน
เธอนั่งเฟิร์สคลาสติดกับสนช.คนใด เช็คตั๋วเครื่องบินกรุงเทพฯ-มอสโก-ฟินแลนด์-กรุงเทพฯ ทั้งดูว่าเธอเป็นผู้ติดตามของกรรมาธิการคนใด เพราะในเอกสารที่ขออนุมัติการเดินทางไปราชการต่างประเทศต่อนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติในขณะนั้น หากไม่ใช่กรรมาธิการ ต้องระบุสถานะของบุคคลร่วมคณะทั้งหมดทุกคนว่าติดตามกรรมาธิการคนใด ใครเป็นผู้เสนอชื่อในคณะกรรมาธิการให้พิจารณาอนุมัติด้วย ซึ่งเชื่อว่ามีข้อมูลมากกว่านี้แต่ข้าราชการอาจจะตาพร่าตกหล่นได้ จึงจะทำหนังสือถึงเลขาธิการวุฒิสภาสั่งการให้ผบ.กลุ่มงานตรวจสอบให้ละเอียดรอบคอบอีกครั้งหนึ่งในทุกประเด็นต่อไป อยากขอเตือนว่าการปกปิดทำลายข้อมูลหรือส่งข้อมูลเท็จอาจนำไปสู่ศาลอาญาคดีทุจริตได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฉายาสภา 'เหลี่ยม(จน)ชิน' 'บิ๊กป้อม-ธิษะณา' คว้าดาวดับคู่

สื่อสภาตั้งฉายาสภา 'เหลี่ยม(จน)ชิน' – 'เนวิ(น)เกเตอร์' สภาสูง 'วันนอร์' รูทีนตีนตุ๊กแก – ประธานวุฒิฯ 'ล็อกมง' – ผู้นำฝ่ายค้านฯ 'เท้งเต้ง' 'บิ๊กป้อม-ธิษะณา' คว้าคู่ 'ดาวดับ' ยกขันหมาก 'พท.-ปชป.' เหตุการณ์แห่งปี

'วัชระ' ไล่บี้ ป.ป.ช. เร่งสอบ 2 กรณี ทุจริตรัฐสภาใหม่-กรมที่ดินขัดคำสั่งศาลปมเขากระโดง

นายวัชระ เพชรทอง เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า ตามที่สื่อมวลชนนำเสนอข่าวเรื่องอธิบดีกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย ไม่เพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ออกทับซ้อนกับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) บริเวณเขากระโดง อ.เมือง จ

สภาสูง ยั๊วะ รัฐบาล ข้ามหัว เทตอบ 5 กระทู้ ‘ยุคล’ ตั้งฉายา ‘นายกฯนินจา’ หนีสภา

‘สภาสูง’ ยั๊วะ รบ.ข้ามหัว เทตอบ 5กระทู้ ‘ยุคล’ ตั้งฉายา ‘นายกฯ นินจา’ หนีสภา ‘หมอเปรม’ อาลัย ‘แพทองโพย’ ไร้รับผิดชอบ แขวะใส่ชุดนอนตรวจทหาร หิ้วผัวใต้ออกงาน

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน  

มติเอกฉันท์! ศาลรธน. ตีตก 7 คำร้อง ขอให้วินิจฉัยเลือก สว. ไม่ชอบ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับ 7 คำร้องที่มีการร้องขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยคำร้องของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ,นายวัฒนา ชมเชย ,ว่าที่ร.ต.วิชชุกร คำจันทร์ นายจิรัฎฐ์ แจ่มสว่าง,นายปรีชา เดชาเลิศ,นางฤติมา กันใจมา,