8 ก.ย.2565 - ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และอดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "ทำไมลาดกระบัง กรุงเทพตะวันออกจมน้ำ มีคำตอบ" มีเนื้อหาดังนี้ เช้าวันนี้ แทบไปส่งลูกที่โรงเรียนไม่ได้ ท่วมทั้งถนนจริงๆ เด็กสนุกตื่นเต้นกับน้ำท่วม แต่ผู้ใหญ่ไม่สนุก
เข้าใจ และเห็นใจ เพราะเจอกับตัวเองเหมือนชาวบ้านทุกคน แต่ชาวบ้านที่ไม่มีรถ หนักหนาสาหัส ยิ่งกว่าเราเยอะ ขอเป็นกำลังใจให้ครับ
ผมขอแสดงความคิดเห็นในฐานะชาวบ้านในพื้นที่ และวิศวกรธรณีเทคนิคคนหนึ่งว่า การแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก พื้นที่กรุงเทพตะวันออก ตั้งแต่คลองสาวา หนอกจอก มีนบุรี ลงมาลาดกระบัง ประเวศ เราควรทำอะไรบ้าง
1. ต้องรู้ว่าพื้นที่กรุงเทพตะวันออก เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำระดับต่ำใกล้น้ำทะเล ฝนตกมา ก็เป็นแอ่งกะทะ น้ำท่วมได้ทันที และจะท่วมหนักขึ้นเพราะเป็นดินอ่อน ทรุดตัวง่ายมากที่สุดในกรุงเทพ ปล่อยปัญหาไว้ไม่ได้
2. ทางรอดเร่งด่วนทางเดียว คือ การระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด ทำไดัโดยการใช้ระบบเครือข่ายเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า ที่มีประสิทธิภาพ ทำงานอัตโนมัติ เพราะหากเครื่องสูบน้ำไม่เพียงพอ ยังทำงานแบบรอคนมาเปิดปิด ไม่ทัน ยิ่งหากยังใช้เครื่องดีเซลอยู่ ต้องรอเติมน้ำมัน ไม่ทันการณ์
3. เส้นทางสูบน้ำท่วมออก ช่วยพื้นที่กรุงเทพตะวันออก มี 2 เส้นทางหลัก คือ 1. ทางตะวันออก ออกทางจังหวัดฉะเชิงเทรา ผ่านทางคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต และ 2. ทางใต้ ออกทางคลองประเวศบุรีรัมย์ มุ่งสู่สถานีสูบน้ำพระโขนง เพื่อสูบน้ำขึ้นระบายบนแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อยู่สูงกว่า
4. เมื่อเห็นภาพตาม ข้อ 1 ถึงข้อ 3 แล้ว ความจริงคือ 1. การประสานงานระหว่างจังหวัด กทม. และฉะเชิงเทรา เป็นอุปสรรค ทำให้ไม่สามรถบริหารจัดการปัญหาน้ำท่วมร่วมกันไดัจริงๆ น้ำท่วมจึง (ไม่ค่อย) ได้ถูกระบายทางตะวันออก ซึ่งอยู่ใกล้จุดน้ำท่วมมากที่สุด มีประสิทธิภาพมากที่สุด
จึงเหลือเพียง ทางออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา ที่อยู่ห่างไกลร่วม 30 กิโลเมตร ผ่านทางคลองประเวศฯ แต่วันนี้ ไม่ยอมให้น้ำไหลออกทางนี้มากนัก ประตูน้ำปิด เพราะตลิ่งในเขตชั้นในยังทำไม่เรียบร้อย กลังคุมระดับน้ำไม่ได้
น้ำจึงท่วมลาดกระบังสาหัสมาก เพราะไปทางไหน ไม่ได้เลย ไม่มีใครยอมช่วย ตะวันตกก็ไม่ยอม ทางใต้ก็กีดกันไม่ให้น้ำไป
สุดท้าย ลาดกระบังจมน้ำ ทั้งที่เราจะแก้ปัญหา ก็ทำได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศปช. ส่งจนท.-เครื่องจักร เร่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อุทกภัย 3 จังหวัดใต้
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ในฐานะโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง
ผอ.ศปช. สั่งเกาะติดฝนถล่มภาคใต้สัปดาห์นี้ เสี่ยงวาตภัยน้ำท่วมฉับพลันใน 10 จังหวัด
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า หลังวานนี้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อ.เมือง และ ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67