'ดร.นิว' ชี้อำนาจลงมติเลือกนายกฯ ของ ส.ส.-ส.ว. ผิดหลักมายาวนานตั้งแต่ปี 2475

8 ก.ย.2565 - ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ ดร.นิว นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเรื่อง โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ไม่ควรลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี

การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของทั้ง ส.ส. และ ส.ว. ล้วนแล้วแต่เป็นการทำลายดุลอำนาจการปกครองแทนปวงชนของประมุขไม่แตกต่างกัน โดยไม่ได้สอดคล้องกับธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปของประเทศส่วนใหญ่ในระบอบประชาธิปไตยแบบราชอาณาจักรหรือ Constitutional Monarchy ที่มีสหราชอาณาจักรเป็นประเทศต้นแบบของระบอบการปกครอง ซึ่งอำนาจในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเป็นอำนาจของประมุข

ตามธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปของระบอบประชาธิปไตยแบบราชอาณาจักร ในกรณีที่เป็นเอกฉันท์ พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งผู้นำของฝ่ายที่ครองเสียงข้างมากในสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นนายกรัฐมนตรี และสำหรับกรณีที่ไม่เป็นเอกฉันท์ ก็จะมีกลไกพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งในการคัดเลือกและเสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยไม่ได้ผ่านการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีแต่อย่างใด

นับได้ว่าการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีเป็นกลวิธีหนึ่งของคณะราษฎร เพื่อรักษาอำนาจอธิปไตยของคนส่วนน้อยภายใต้ระบอบเผด็จการของคณะราษฎรไว้เสียเอง อีกทั้งยังทำให้นายกรัฐมนตรีมีลักษณะเป็นประธานาธิบดีมากยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบัน ดุลอำนาจการปกครองอยู่ภายใต้นายทุนนักธุรกิจการเมืองทั้งหลาย ที่อยู่เบื้องหลังพรรคการเมืองต่างๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนน้อยทั้งสิ้น ไม่ได้แตกต่างจากคณะราษฎรในอดีตแต่อย่างใด

การยกเลิกการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของทั้ง ส.ส. และ ส.ว. แล้วให้ผู้ถือดุลอำนาจการปกครองแทนปวงชนอย่างพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปของต้นแบบระบอบการปกครอง เฉกเช่น สหราชอาณาจักร จึงเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างประชาธิปไตย ทำอำนาจอธิปไตยให้เป็นของปวงชนอย่างแท้จริง ตลอดจนทำให้รัฐธรรมนูญและระบอบการปกครองปัจจุบันขับเคลื่อนไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น อำนาจในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีของทั้ง ส.ส. และ ส.ว. จึงเป็นการบ่อนทำลายดุลอำนาจการปกครอง ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ถือดุลอำนาจการปกครองแทนปวงชน อีกทั้งยังขัดต่อธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปของระบอบประชาธิปไตยแบบราชอาณาจักร ซึ่งนับได้ว่าผิดหลักวิชามาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ 24 มิถุนา 2475 เรื่อยมาจนถึงวินาทีนี้ ตลอดจนเป็นการบั่นทอนอำนาจอธิปไตยของปวงชนและพระราชอำนาจอันพึงมีอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นายกฯอิ๊งค์' ขอเคลียร์ปม 'พ.ร.บ.กาสิโน' หลังถก ครม.

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยก่อนการประชุมผู้สื่อข่าวสอบถามว่าจะมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถานบันเทิงครบวงจร หรือเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์

ข้องใจ! เงินให้กู้ยืมคู่สมรส ร้อง ป.ป.ช. สอบ 'นายกฯอิ๊งค์'

นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร กรณีเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ที่เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)

1ประเทศ2นายกฯ ระวังจบซ้ำรอยเดิม?

มีหลายส่วนในสังคม คนจำนวนไม่น้อยรู้สึกอึดอัดกับท่าทีของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่พ้นโทษออกมาโดยไม่ติดคุกแม้แต่วันเดียว แต่ทำตัวเปรียบเหมือนเป็นเจ้าของรัฐบาล