ศาลฎีกานักการเมืองยกฟ้อง “จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ “ สมัยเป็น มท.1 รับข้อเสนอม๊อบเสื้อเเดง ชี้ คดีถูกสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาดตามคำสั่งอัยการเเล้ว ปปช.ไม่มีอำนาจฟ้องซ้ำ ดำเนินคดี116 เนื่องจากกฎหมายเก่าไม่ได้ให้อำนาจไว้
2 ก.ย.2565 - ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 10/2564 ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ยื่นฟ้อง นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ กรณีที่จำเลยรักษาการในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้รับรายงาน สถานการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. ที่อาคารลิปตพัลลภฮอลล์ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จังหวัดนครราชสีมา แต่จําเลยไม่ได้มีข้อสั่งการอย่างไร จำเลยกลับเดินทางไปกล่าวปราศรัยยอมรับข้อเสนอที่นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ สรุปให้ฟังเป็นเหตุให้มีกลุ่มผู้ชุมนุมเดินทางเข้ามาชุมนุมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปิดล้อมสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีการนำป้ายผ้าไวนิลที่ปรากฏข้อความใน ลักษณะแบ่งแยกประเทศไปติดตามท้องที่ต่าง ๆ
ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157มาตรา 116(2) (3) พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561มาตรา 132 ประกอบมาตรา 30และ 192
จําเลยไม่มาศาลและศาลได้ออกหมายจับจําเลยแล้ว แต่ไม่สามารถจับได้ พิจารณา คดีโดยไม่ ต้องกระทําต่อหน้าจําเลย และถือว่าจำเลยให้การปฏิเสธ
สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157และ พรป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 123/1องค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่า ขณะ เกิดเหตุจําเลยรักษาการในตำแหน่ง รมว.มหาดไทย มีอำนาจหน้าที่ตาม พรบ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และพรบ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 มาตรา30
ทางปฏิบัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ก็ใช้จํานาจเข้าไปสั่งการในเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแลและสั่งการให้ พนักงานฝ่ายปกครองดำเนินการให้มีผลสอดคล้องกับนโยบายหรือแนวทางที่จำเลยกำหนดในเรื่องการรักษา ความสงบเรียบร้อย แต่การที่จะถือว่าจำเลยปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นความผิดจะต้องเป็นกรณี ที่มีหน้าที่ที่จักต้องกระทําเพื่อป้องกันผลนั้นโดยตรง ซึ่งย่อมขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาและข้อเท็จจริงแต่ละกรณี ซึ่งองค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้างมากเห็นว่า พนักงานปกครองจัดทำบันทึกรายงานสถานการณ์ข่าวการ ชุมนุมเสนอ จําเลยแต่ขณะนั้นยังไม่ปรากฎข้อเท็จจริงใดบ่งชี้ว่าจะมิใช่เป็นการชุมนุมโดยสงบและปราศจาก อาวุธ ทั้งเป็นการนัดชุมนุมภายในอาคารเพียงชั่วคราว
นายธงชัยและนายชยาวุธ (ไม่บอกนามสกุล) เสนอเพียงว่าให้ติดตาม ความเคลื่อนไหวและดูแลความสงบเรียบร้อย เมื่อระยะเวลาตั้งแต่มีการรายงานข่าวจนถึงวันชุมนุมเป็นเวลา เพียง 2วัน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับทราบบันทึกรายงานข่าววิทยุด้วยตนเองหรือไม่ เมื่อใด
ประกอบกับ กระทรวงมหาดไทยถูกปิดล้อมตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2556 เป็นเวลาประมาณ 6เดือน กรณีไม่แน่ว่าในช่วง เกิดเหตุจำเลยจะมีข้อมูลครบถ้วนและมีเวลาเพียงพอที่จะใช้ดุลพินิจในการพิจารณาสั่งการผู้ใต้บังคับบัญชาได้ อย่างรอบคอบเพียงใด นอกจากนี้จำเลยมีข้อสั่งการในที่ประชุมกระทรวงมหาดไทย ลงวันที 4 มิ.ย.2556ไว้แล้ว นายธงชัยและนายชยาวุธมิได้มีข้อเสนอใดเพื่อให้จำเลยมีข้อสั่งการอีก
พนักงานฝ่ายปกครองและเจ้าพนักงานตำารวจได้ดูแลสถานการณ์การชุมนุมตามหน้าที่อยู่แล้ว นายวิบูลย์เน้นย้ำให้ทาง จังหวัดรักษาความสงบเรียบร้อย ไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรง อันเป็นการสั่งการตามหน้าที่ของปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นพนักงานฝ่ายปกครองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(16) และ (17) (ก) จำเลยจึงหาต้องมีข้อสั่งการในเรื่องเดียวกันซ้ำอีก กลุ่ม นปช.ได้แสดงออกซึ่งการไม่ยอมรับการ กระทําของฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาลแล้วก็ได้ยุติการชุมนุมเอง
ไม่มีพยานโจทก์ปากใดยืนยันว่าจําเลยควรจะต้องมี ข้อสั่งการอย่างใด จึงจะถือได้ว่าเป็นการบริหารจัดการที่มีขอบเขตและกำหนดระยะเวลาเหมาะสมไม่เกินกว่า กรณีแห่งความจําเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย
ส่วนข้อที่จําเลยกล่าวปราศรัยยอมรับข้อเสนอของกลุ่ม นปช. นั้น ไม่ปรากฏว่าจําเลยได้รับทราบเนื้อหาคำปราศรัยในลักษณะให้มีการแบ่งแยกประเทศของแกนนำคนอื่น ส่วนข้อเสนอข้ออื่นก็มิได้มีการกำหนดวันเวลาและสถานที่ที่จะเคลื่อนไหวให้เป็นที่แน่นอน โดยให้ผู้ชุมนุมรอการ แถลงข่าวก่อน จึงมีลักษณะเป็นการเสนอวิธีการสําหรับเหตุการณ์ในอนาคตซึ่งยังไม่ทราบได้ว่าจะเกิดขึ้นจริง หรือไม่
กรณีหาใช่เป็นเหตุอันกำลังจะเกิดขึ้นจริงที่จำเลยจะต้องเร่งสั่งการ เจ้าพนักงานก็มิได้มีผู้ใดถือเอาคำปราศรัยของจำเลยมาเป็นข้อสั่งการในการปฏิบัติราชการ ประกอบกับข้อเสนอแต่ละข้อหา เรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อีกทั้งการที่จะให้จําเลยสั่งการเพื่อให้เร่งชี้แจงสร้างความเข้าใจที่ ถูกต้องแก่ประชาชนนั้นมิใช่เรื่องง่าย เนื่องจากขณะนั้นเกิดปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยก ส่วนการ ชุมนุมของกลุ่มผู้ชุมนุมอีกฝ่ายหนึ่งนั้นจําเลยก็มิได้มีข้อสั่งการใดเช่นกัน กรณียังถือไม่ได้ว่าจำเลยปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่อันพึงคาดหมายได้จากจำเลยในฐานะรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใน
ภาวะเช่นนั้น ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า จำเลยกระทําความผิดข้อหา ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116(2) (3)
องค์คณะผู้พิพากษาเสียงข้าง มากเห็นว่า พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ มิได้บัญญัติให้อำานาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการไต่สวนข้อเท็จจริงข้อหา ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
พรป.ว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 ก.ค.2561โดยมาตรา 28ประกอบมาตรา 30เพิ่งบัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงข้อหาความผิดที่เกี่ยวข้องกับความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ซึ่งคดีนี้คือข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 แต่พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561ทําหนดเงื่อนไขไว้ในมาตรา 55(2 ) ว่า ห้ามมิให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับหรือยกเรื่องที่มีการดำเนินการต่อ ผู้ถูกร้องหรือผู้ถูกกล่าวหาตามกฎหมายอื่นเสร็จสิ้นและเป็นไปโดยชอบแล้ว และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่าการ ดำเนินการนั้นไม่เที่ยงธรรม เว้นแต่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้งและคณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นว่าเป็นกรณีที่เป็น การกระทําที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง เมื่อได้ความว่าได้มีผู้กล่าวโทษจําเลยจากการกระทําตาม ฟ้องโจทก์ว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113,114,116และ 119 และพนักงาน สอบสวนมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องเมื่อวันที่ 11 ส.ค.2559
ต่อมาเมื่อวันที่ 31 ก.ค.61 พนักงานอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องจำเลย คำสั่งของพนักงานอัยการเป็นคําสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาด มีผลเท่ากับ ว่าได้มีการดำเนินการต่อจำเลยในการกระทําความผิดข้อหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อันเป็นกฎหมายอื่นเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าการดำเนินการของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ เป็นไปโดยไม่ชอบหรือมีกรณีต้องด้วยข้อยกเว้นของมาตรา 55(2)แห่ง พรป. ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 คณะกรรมการ ป.ป.ช. ย่อมไม่มีอำนาจรับหรือยก เรื่องเกี่ยวกับการกระทําของจำเลยในข้อหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116(2)(3)ขึ้นไต่สวนอีก โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องข้อหานี้ พิพากษายกฟ้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.
หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
'นิพิฏฐ์' เผยคนที่เรียกว่า 'ทนายความ' อาจชั่วกว่า 'นักการเมือง' เสียอีก
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตส.ส.พัทลุง โพสต์ข้อความว่า ผมเป็นเพียงคนๆหนึ่งคนที่เดินแทรกตัวอยู่ท่ามกลางคน 66,052,6
ป.ป.ช.สะดุ้ง! ยก 6 เหตุผลปราบคอร์รัปชันไร้ประสิทธิภาพ คนโกงจึงเหิมลำพอง
สาเหตุที่การป้องกันและปราบปรามการทุจริตไม่ได้ผลไร้ประสิทธิภาพและพวก คนโกงคนชั่วหรือเหิมลำพอง อยู่ได้ก็เพราะ
'อดีตบิ๊กข่าวกรอง' เห็นนักการเมืองเกรงใจกัมพูชาเรื่องเกาะกูด แล้วรู้สึกอเนจอนาถใจ สิ้นไร้ไม้ตอก
นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์ข้อความว่า อเนจอนาถ จะมีใครรู้สึกเหมือนผม
'ทวี' ชี้ ‘เขากระโดง’ คำวินิจฉัยศาลฎีกา 5,083 ไร่ เป็นที่ดินของการรถไฟ ถือสิ้นสุด
เรื่องนี้ไม่ใช่ศาลฎีกาอย่างเดียว กฤษฎีกาก็วินิจฉัยแล้ว ป.ป.ช.ก็วินิจฉัยแล้ว ก็ถือว่าสิ้นสุด ที่สำคัญมีการบังคับคดีและยึดที่คืน
นักกฎหมาย หวั่นคำสั่งทางปค. กรณีที่ดินเขากระโดง อยู่เหนือคำพิพากษาศาลฎีกา จะขัดต่อหลักนิติรัฐ
“ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน ชี้ มติเขากระโดง หักมุม ไม่เชื่อรูปแผนที่ในคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาย่อมเหนือกว่าคำสั่งทางปกครอง