ช่อจุ้นข้ามโลก! ซัดฟิลิปปินส์ทำไอโอเหมือนไทย

น้องช่อโผล่! ร่วมงานคณะทำงานสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน สอบข้อเท็จจริงปรากฏการณ์ไอโอฟิลิปปินส์ พบใช้กองทัพจัดตั้ง-จ้างแบบเดียวกับไทย

31 ส.ค.2565 - กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อสิทธิมนุษยชน (APHR - ASEAN Parliamentarians for Human Rights) โดยคณะทำงานประกอบไปด้วยสมาชิกรัฐสภามาเลเซีย มาเรีย ชิน อับดุลเลาะห์ และ เคลวิน อี้ ลี่ เหวิน พร้อมด้วย น.ส.พรรณิการ์ วานิช โฆษกคณะก้าวหน้า เข้าร่วมปฏิบัติการค้นหาข้อเท็จจริง ในกรณีการเผยแพร่ข่าวปลอมอย่างเป็นระบบก่อนการเลือกตั้ง ที่กลายเป็นกระแสการสร้างความเกลียดชังในโซเชียลมีเดียที่แพร่หลายในประเทศฟิลิปปินส์ก่อนหน้าการเลือกตั้งประธานาธิดีที่ผ่านมา

จากแถลงการณ์โดย APHR ระบุว่าคณะทำงานได้พบข้อมูลที่บ่งชี้ ว่าการเผยแพร่ข่าวปลอมที่เกิดขึ้นเป็นปฏิบัติการที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐเพื่อหวังผลด้อยค่าฝ่ายค้าน นักสื่อสารมวลชน นักสิทธิมนุษยชน และนักกิจกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุด ที่มีการระดมติดแท็กสีแดงอย่างกว้างขวางในโซเชียลมีเดีย กล่าวหากลุ่มบุคคลต่างๆ ว่ามีความเชื่อมโยงกับกลุ่มก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในฟิลิปปินส์

ถ้อยแถลงของ APHR ยังระบุด้วย ว่าที่ผ่านมาสื่อกระแสหลักในประเทศฟิลิปปินส์ถูกลดทอนคุณค่า และโซเชียลมีเดียได้กลายมาเป็นเครื่องมือการสื่อสารหลักในประเทศ ซึ่ง 68% ของประชากรเข้าถึงอินเตอร์เน็ต และมีบันทึกผู้ใช้งานมากกว่า 92 ล้านบัญชี โดยมีบันทึกการเข้าใช้งานเฉลี่ยวันละ 255 นาที แต่ด้วยความที่อัลกอริธึ่มของโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน มีลักษณะที่เน้นสร้าง echo chambers ที่ทำให้ผู้ใช้งานได้รับข่าวสารเพียงด้านเดียว โดยไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากอีกฝั่งตรงกันข้าม และยังไม่มีมาตรฐานอย่างสื่อกระแสหลัก แต่กระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นกลับเป็นไปด้วยความล่าช้าไม่ทันการณ์ ทำให้การเผยแพร่ข่าวปลอมได้ผล

นอกจากนี้ คณะทำงานยังพบว่ากระบวนการเผยแพร่ข่าวปลอมอย่างเป็นระบบนี้ เกิดขึ้นก่อนหน้าการเลือกตั้งหลายปี โดยมีการจัดตั้งและสอดประสานไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งกว่าที่จะมีการรับรู้และเริ่มกระบวนการต่อต้านข่าวปลอมขึ้น กระแสข่าวปลอมก็ได้ฝังรากลึกลงไปทั่วทั้งสังคมแล้ว

น.ส.พรรณิการ์ได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมด้วยว่า จากการที่ได้พูดคุยกับประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งของฟิลิปปินส์ รวมถึงสื่อมวลชนท้องถิ่น และนักการเมือง ส.ส. และ ส.ว.หลายคนของฟิลิปปินส์ พบว่ารูปแบบของบวนการเผยแพร่ข่าวปลอมในฟิลิปปินส์มีความคล้ายคลึงกับไทย และถือเป็นรูปแบบเดียวกันในอีกหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงในยุโรป คือ 1. มีการตั้ง troll farm หรือบริษัทไอโอ เพื่อปั่นข่าวและแพร่กระจายข่าว รวมถึงโจมตีเป้าหมายตามโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยมักทำในลักษณะทัวร์ลง หรือไปรุมคอมเมนต์ทีละมากๆในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อปั้นแต่งและชี้นำทิศทางความคิดเห็น

2. เป้าหมายมักเป็นนักการเมืองหญิงที่มีลักษณะหัวก้าวหน้า หรือเป็นตัวแทนของกลุ่มคนชายขอบ เช่นในกรณีฟิลิปปินส์ เป้าหมายหลักของการปล่อยข่าวปลอมคือเลนี โรเบรโด อดีตผู้สมัครประธานาธิบดี และริซา ฮอนติเวโรส วุฒิสมาชิก รวมถึงซารา เอลาโก ส.ส. หญิงที่อายุน้อยที่สุดในสภาผู้แทนราษฎรฟิลิปปินส์ และ 3. รัฐบาลและกองทัพมีส่วนสำคัญในการเผยแพร่ข่าวปลอม แทนที่จะเป็นผู้ป้องกันการเผยแพร่ข่าวปลอม ในกรณีของฟิลิปปินส์ รัฐบาลตั้งคณะทำงานปราบปรามคอมมิวนิสต์ และใช้กฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย ในการป้ายสีนักการเมือง นักข่าว และองค์กรภาคประชาสังคมว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และปิดกั้นเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียของผู้ถูกกล่าวหา

“รัฐสภาฟิลิปปินส์ควรมีบทบาทมากกว่านี้ในการตรวจสอบกรณีการเผยแพร่ข่าวปลอมโดยรัฐอย่างเป็นระบบและบริษัทไอโอ รวมทั้งทบทวนนโยบายในการควบคุมบริษัทโซเชียลมีเดียให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งาน แต่ขณะเดียวกันกฎหมายที่จะออกมาควบคุมกระแสข่าวปลอมเหล่านี้ก็ควรมีข้อจำกัดและถูกใช้อย่างระมัดระวัง ไม่ให้กลายเป็นการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารโดยรัฐ จนกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงออกด้วย”น.ส.พรรณิการ์กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมาคมประกันวินาศภัยฯ เตือนอย่าแชร์ข้อมูลเท็จรายชื่อบริษัทประกันรถที่ถูก Black List

นายสมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความเท็จเกี่ยวกับรายชื่อบริษัทประกัน (รถยนต์) ที่ถูก Black List ซึ่งเป็นข้อความเก่าที่ยังคงมีผู้หลงเชื่อนำกลับมาเผยแพร่และแชร์ต่อกันทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งสมาคมประกันวินาศภัยไทย และสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ร่วมกันประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ถูกต้อง

ดีอี เตือนระวัง 'โจรออนไลน์' สวมรอยหน่วยงานรัฐหลอกลวง

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตรวจพบข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์รายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “ธ.อิสลาม ช่วยเหลือประชาชน รับรวมหนี้ ต่อธุรกิจ ปิดหนี้ และหมุนธุรกิจ” รองลงมาคือเรื่อง “กรุงไทยปล่อยสินเชื่อ ผ่านเพจสินเชื่อส่วนบุคคล SME” โดยขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และมีผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง

'ช่อ พรรณิการ์' สังเกตการณ์เลือก สว. มั่นใจคำตัดสิน ศาลรธน. จะไม่ทำให้การเลือกเป็นโมฆะ

'ช่อ พรรณิการ์' ร่วมสังเกตการณ์ เชื่อคดีรอตัดสิน 18 มิ.ย.นี้ ไม่ทำ ‘เลือก สว.’ เป็นโมฆะ เปรียบพื้นที่กรุงเทพฯ เหมือนสมรภูมิ คนดังลงเยอะการแข่งขันสูง หวั่น มีฮั้ว หลังรอบอำเภอข้อมูลผู้สมัครหลุดกว่า 2 หมื่นชื่อ

ดีอี เตือนระวัง 'โจรออนไลน์' อ้างเป็นแบงค์รัฐ 'ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ'

ดีอี ตรวจพบข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์รายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “ธ.อิสลาม ช่วยเหลือประชาชน รับรวมหนี้ ต่อธุรกิจ ปิดหนี้ และหมุนธุรกิจ” รองลงมาคือเรื่อง “กรุงไทยปล่อยสินเชื่อ ผ่านเพจสินเชื่อส่วนบุคคล SME” โดยขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และมีผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง