ว่าที่นายกสภาทนายความ ลั่นองค์กรต้องเป็นที่พึ่งของปชช. มากกว่าทนายโซเชียล

29 ส.ค.2565 - นายวิเชียร ชุบไธสง ผู้สมัครนายกสภาทนายความ ที่ได้รับเลือกคะเเนนมาเป็นอันดับ1 ในการเลืกตั้งนายกสภาทนายความได้เปิดเผยภายหลังทราบผลคะเเนนอย่างไม่เป็นทางการ ว่า การเลือกตั้งนายกเเละกรรมการสภาทนายความในครั้งนี้ ตนชูนโยบายเเละแนวคิดในการจัดตัวผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งว่าจะต้องมีกรรมการสภาทนายความส่วนที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมดประกอบด้วยกรรมการ22คนเเละนายกสภาฯ1คนรวมเป็น23คน แนวคิดของตนคือต้องการที่จะสร้างความสามัคคีและผดุงเกียรติวิชาชีพทนายความจึงจำเป็นต้องรวมแม่น้ำทุกสายให้มาอยู่ในคณะของให้ได้ และแม่น้ำทุกสายนั้นจำเป็นต้องมีคน3 รุ่นมาร่วมคณะด้วยรุ่นแรกเป็นรุ่นอาวุโส รุ่นที่สองเป็นรุ่นกลางคน รุ่นที่สามเป็นรุ่นวัยรุ่นหรือคนรุ่นใหม่ ก็จะมีคำถามว่าทำไมต้องเอาคนรุ่นใหม่มาทำในคณะ

เนื่องจากเล็งเห็นว่าคนรุ่นใหม่ในวันนี้คืออนาคตขององค์กรเราภายภาคหน้าเพราะว่าทนายรุ่นใหม่ต้องเติบโตเติบใหญ่เป็นคลื่นลูกใหม่ที่จะไปแทนคลื่นลูกเก่า เราจึงจำเป็นต้องสร้างคนรุ่นใหม่เพื่อไปเรียนรู้ในการบริหารงานขององค์กร ที่สำคัญเราจำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ที่เป็นประโยชน์ในการที่จะร่วมกันพัฒนาองค์กรของเราอย่างเป็นระบบ จึงได้มาซึ่งแม่น้ำทุกสายและคนทั้ง3รุ่นหลังจากที่เราได้ผู้ร่วมคณะมาดังกล่าวแล้ว ก็มากำหนดยุทธศาสตร์ในการที่จะเข้าไปบริหารองค์กร

นายวิเชียร กล่าวว่าพอหลังจากวางยุทธศาสตร์เสร็จก็ถึงมากำหนดนโยบายเพื่อให้สอดรับยุทธศาสตร์ ซึ่งที่ผ่านมาทุกคณะเวลาลงเลือกตั้งจะกำหนดแค่นโยบายอย่างเดียว ไม่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ ตนก็สร้างมิติใหม่แห่งวงการด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์ นโยบายของเรามาซึ่งมี6ด้าน 30ข้อซึ่งแต่ละด้านแต่ละข้อนั้นเป็นนโยบายที่เราสามารถจับต้องได้เห็นเป็นรูปธรรมทำได้อย่างชัดเจนและเราจะดูแลทั้งด้านองค์กรด้านปรับปรุงสวัสดิการ,ด้านปรับปรุงเทคโนโลยีขององค์กร ด้านความโปร่งใสในการบริหารจัดการองค์กร ด้านทางวิชาการ และด้านการช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมาย

นโยบายจำเป็นต้องทำเร่งด่วนทุกข้อที่เราเล็งเห็นว่าตอนนี้จำเป็นคือเรื่องประสิทธิภาพในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน องค์กรของเราจำเป็นต้องทำงานเชิงรุกในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนทางกฎหมายอันดับ1ก่อนทุกวันนี้ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงกฎหมายของพี่น้องประชาชนผู้ยากไร้และไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้นมันเหลื่อมล้ำกันเกินไปคนที่มีเงินก็สามารถที่จะเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ง่ายกว่าคนไม่มีเงิน องค์กรของเราในฐานะที่เป็นเสาหลักเสาหนึ่งในกระบวนการยุติธรรมซึ่งเป็นเสาหลักที่ต้องอำนวยความสะดวกให้กับพี่น้องประชาชนทางด้านกฎหมายตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

ไม่เหมือนหน่วยงานอื่นที่จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเพียงแค่ต้นน้ำ บางที่แค่กลางน้ำ หรือปลายน้ำ จึงคิดว่าจะเข้าไปให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนเชิงลึกและการช่วยเหลือแบบรวดเร็วทันท่วงที เพราะหากใช้เวลาช้าจนเกินไปมันอาจจะทำให้เกิดความเสียหายเกินกว่าจะแก้ไขได้หรือแก้ไขลำบาก การช่วยเหลือประชาชนเป็นนโยบายแรกและนโยบายหลักที่ต้องทำด่วน

"สิ่งแรกที่เราจะทำคือตั้งศูนย์ออนไลน์ให้คำปรึกษาให้แก่ประชาชนประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนให้มาใช้บริการของสภาทนายให้มากที่สุดเพราะทุกวันนี้ ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ค่อยทราบบทบาทขององค์กรเรามากนัก เขามักจะไปพึ่งคนบางคนที่ออกสื่อ ออกทีวีบ่อยหรือเรียกว่าทนายโซเชียลก็ไม่ผิด บางคนไม่ได้เป็นทนายด้วยซ้ำแต่ออกสื่อบ่อย ชาวบ้านก็ไปเชื่อ"นายวิเชียร ระบุ

ว่าที่นายกสภาทนายความ กล่าวต่อว่า เราต้องการให้ประชาชนเข้าถึงการใช้บริการด้านกฎหมายของสภาทนายโดยเราจะกระจายอำนาจอย่างแท้จริงไปสู้ภูมิภาคให้ส่วนภูมิภาคมีอำนาจตัดสินใจในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างทันท่วงที ศูนย์ทนายความจะมีประธานสภาทนายความอยู่ทุกจังหวัดอยู่แล้ว เราจะใช้ที่ทำการของประธานสภาทนายความทุกจังหวัดเราจะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วประเทศให้รับรู้ว่าจังหวัดไหนที่ตั้งของสภาทนายความจังหวัดที่ตรงไหนเบอร์อะไรสามารถติดต่อประธานสภาทนายความจังหวัดได้ยังไง ต้องเน้นประชาสัมพันธ์ให้มาก ว่าหากมีปัญหาด้านกฎหมายเจอทนายความได้เลย

"ส่วนค่าใช้จ่ายโดยหลักปรึกษาฟรีอยู่แล้ว คดีไหนเข้าข่ายยากจนหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมตรงนั้นเราช่วยเหลือฟรีไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้เสียหายหรือว่าผู้ต้องหา ทุกคนสามารถเข้าไปปรึกษาได้ ได้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหายหรือว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยก็ตาม โดยหลักการจัดตั้งสภาทนายต้องให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนยากจนไม่ได้รับความเป็นธรรม ไม่ว่าจะอยู่สถานะไหนมีคดีสภาทนายความจะเข้าไปช่วยฟรีไม่ว่าจะเป็นการว่าความในศาลก็ตาม 2หลักเกณฑ์ใหญ่คือไม่ได้รับความเป็นธรรมกับยากจน ส่วนเรื่องปรึกษากฎหมายสามารถปรึกษาฟรีทุกคน ส่วนการเข้าไปทำงานตอนไหนนั้นต้องรอการประกาศรับรองผลการเลือกตั้งก่อน"

เขา กล่าวว่า ส่วนนโยบายเดิมของผู้บริหารชุดปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นทนายความประจำโรงพัก หรือวิทยาลัยทนายความ ความจริงตนเติบโตจากการเป็นทนายความอาสา เเละทนายประจำโรงพักคนเเรกๆของประเทศไทย นโยบายอันไหนดีตนต่อยอดอยู่แล้วครับ ส่วนอันไหนถ้าดูไม่มีประสิทธิภาพก็จะต้องพิจารณากัน.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับ ยุทธศาสตร์ และนโยบาย นายวิเชียร ชุบไธสง ผู้สมัครนายกเบอร์ 3 ว่าที่นายกสภาทนายความคนใหม่ เเละกรรมการสภาทนายความเบอร์ 23-44
มีนโนบายดังนี้

ปกป้อง ปรับปรุง โปร่งใส เปิดกว้าง ประสิทธิภาพ

1. ปกป้ององค์กรและผดุงเกียรติทนายความ

1.1 คัดค้านปฏิรูปการศึกษานิติศาสตร์แห่งชาติด้านวิชาชีพทนายความ

1.2 ยกมาตรฐานการกลั่นกรองก่อนรับเป็นคดีมรรยาท โดยความเห็นชอบของประธานคณะกรรมการมรรยาททนายความ

2. ปรับปรุงด้านสวัสดิการ

2.1 ฟื้นฟูกองทุนต่าง ๆ โดยเพิ่มเงินช่วยเหลือกรณีทนายความเจ็บป่วยทุพพลภาพสูงสุด 120,000 บาท

2.2 เพิ่มเงินเบี้ยทนายความอาวุโส ปีแรก 7,000 บาท ปีถัดไปปีละ 10,000 - 20,000 บาท

2.3 ปรับปรุงการฌาปนกิจสงเคราะห์ของสภาทนายความ จ่ายเงินเต็มตามจำนวนสมาชิก เช่น สมาชิก 10,000 คนจ่าย 200,000 บาท ทันที

2.4 ส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานการกีฬาทุกประเภท และสันทนาการอย่างทั่วถึงเพื่อความสามัคคี

2.5 นำสหกรณ์ออมทรัพย์ทนายความแห่งประเทศไทยกลับสู่สภาทนายความ และจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำไว้บริการสมาชิกในกรณีจำเป็น

2.6 ทำความร่วมมือกับสถาบันการเงินเพื่อส่งเสริมเครดิตการเข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยอัตราพิเศษ

2.7 เพิ่มค่าตอบแทนทนายความอาสาวันละ 1,500 บาท หรือตามแนวทางปฏิรูปของรัฐบาล

2.8 จ่ายเงินค่าตอบแทนทนายความอาสาภายใน 1 เดือน

2.9 เพิ่มค่าใช้จ่ายให้สภาทนายความจังหวัด ขั้นต่ำเดือนละ 7,000 บาท หรือตามภาวะเศรษฐกิจ

3. ปรับปรุงด้านเทคโนโลยี

3.1 นำเทคโนโลยีระบบ Digital และ Blockchain มาใช้ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้บริการทนายความ

3.2 จัดทำห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ E-Library บรรจุข้อมูลเกี่ยวกับแบบฟอร์มต่าง ๆ ของศาล ตัวอย่างคำคู่ความนิติกรรมสัญญา และคำพิพากษาศาลฎีกาใหม่ล่าสุด

3.3 เพิ่มช่องทางจัดทำใบอนุญาตให้เป็นทนายความแบบอิเล็กทรอนิกส์ และต่อใบอนุญาตให้เป็นทนายความ ผ่านแอพพลิเคชั่นไม่ต้องเดินทางไปยังที่ทำการสภาทนายความ และไม่ต้องส่งไปรษณีย์

3.4 เพิ่มช่องทางการสมัครผู้สอบรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

4. โปร่งใสในการบริหารองค์กร

4.1 เปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร โดยการกระจายอำนาจไปสู่ภูมิภาคอย่างแท้จริง ด้วยการให้ส่วนภูมิภาคมีบทบาทในการทำงานร่วมกับส่วนกลางอย่างมีประสิทธิภาพ

4.2 ยึดหลักการบริหารตามโครงสร้างของสภาทนายความตามหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด

4.3 สร้างความสามัคคีและความเสมอภาคให้สมาชิกอย่างเท่าเทียมกัน และเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์กรอย่างทั่วถึง

4.4 ปฏิรูปเจ้าหน้าที่สภาทนายความต้องบริการสมาชิกทนายความแบบมืออาชีพ

4.5 ปรับปรุงอาคาร สถานที่ จัดทำห้องรับรอง เพื่อให้บริการทนายความ และประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

5. เปิดกว้างด้านวิชาการและการมีส่วนร่วม

5.1 จัดอบรมหลักสูตรเฉพาะทางชำนาญการ 36 หลักสูตร เพื่อยกระดับมาตรฐานในการเพิ่มช่องทางการประกอบวิชาชีพทนายความ

5.2 จัดอบรมกฎหมายทั่วไปทั้งแบบ Online และ Onsite แบบ Onsite จะนำวิทยากร (คนส่วนน้อย) ไปบริการทนายความ (คนส่วนใหญ่) ในแต่ละจังหวัด

5.3 จัดอบรมและทดสอบผู้ขอจดทะเบียนและรับใบอนุญาตให้เป็นทนายความโดยจัดให้มีการสอบในส่วนภูมิภาค

5.4 เปิดศูนย์ออนไลน์ให้คำปรึกษาด้านคดีแก่ทนายความใหม่

5.5 จัดตั้งคณะทำงานศึกษากฎหมายที่เป็นการลิดรอนสิทธิประชาชน หรือกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อการประกอบวิชาชีพทนายความเพื่อทำการแก้ไขเพิ่มเติม โดยให้ทนายความทุกท่านมีส่วนร่วม

5.6 จัดตั้งคณะทำงานเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพทนายความ และประชาชน

5.7 ตั้งศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาวิชาชีพทนายความ

6. ประสิทธิภาพการช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมาย

6.1 ให้การช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ และไม่ได้รับความเป็นธรรมในเชิงรุกโดยให้

ส่วนภูมิภาคเป็นผู้อนุมัติให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

6.2 จัดให้มีคณะทำงานคดีสิ่งแวดล้อม คดีสิทธิมนุษยชน และคดีผู้บริโภคประจำทุกภาค และจัดตั้งอนุกรรมการทุกจังหวัด

6.3 ผลักดันของบประมาณจากรัฐบาล ให้ได้รับเพิ่มขึ้นเพื่อสอดรับกับภารกิจในการช่วยเหลือประชาชนทางด้านกฎหมาย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สนธิ' ร้องเรียนสภาทนายความ สอบมรรยาท 'ทนายษิทธา-ทนายเดชา'

ที่สภาทนายความ ถ.พหลโยธิน นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งสื่อเครือผู้จัดการและเจ้าของรายการสนธิทอร์ค, นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ พร้อม

นายกสภาทนายความ เข้าพบ ประธานศาลฎีกา หารือป้องกันทนายความปลอม

ที่ศาลฎีกา นายวิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ พร้อมด้วยคณะบริหารสภาทนายความและตัวแทนประธานสภาทนายความจังหวัด ได้เข้าพบนางชนากานต์ ธีรเวชพลกุล ประธานศาลฎีกา พร้อม

'ครูปรีชา' ยิ้มร่าฟ้าลิขิต หิ้วกาแฟ-ข้าวผัดเยี่ยม 'ทนายตั้ม'

'ครูปรีชา' ยิ้มร่ารับน้อง หิ้วกาแฟพร้อมข้าวผัด ฝาก 'ทนายตั้ม-ภรรยา' ปัดซ้ำเติม แต่ทุกอย่างเป็นไปตามกรรมจากการกระทำของตัวเอง

สภาทนายฯ แจง 'ทนายตั้ม' โดนหมายจับฝากขังในเรือนจำ คนละส่วนคดีมรรยาททนาย

กรณี ศาลอาญา รัชดา ได้อนุมัติหมายจับ นายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือ ทนายตั้ม ในข้อหา ฉ้อโกง, ฟอกเงิน, ร่วมกันฟอกเงินและสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่ 2 คน