'อัษฎางค์' ฟาดกลุ่มไล่ 'ประยุทธ์' กดดันศาล อ้างตัวเป็นฝ่ายประชาธิปไตย แต่ไม่เคารพกติกา ย้ำ วาระ 8 ปี ของผู้ดำรงตำแหน่งนายกฯเป็นอำนาจและหน้าที่โดยตรงของฝ่ายตุลาการ
24ส.ค.2565- นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กมีเนื้อหาดังนี้
ประชาธิปไตย คืออะไร
ประชาธิปไตยคือ การปกครองที่ประชาชนเป็นใหญ่ และภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้เรามีสิทธิเสรีภาพ ที่จะคิด พูดหรือทำอะไร อย่างเต็มที่ *ภายใต้กฎหมาย กฎหมายที่ว่านั้นมาจากรัฐธรรมนูญ
ประชาธิปไตย คือ การที่เรามีสิทธิเสรีภาพ ที่จะคิด พูดหรือทำอะไร อย่างเต็มที่ *ทั้งนี้ ต้องเคารพเสียงส่วนใหญ่ ที่หมายความว่า เสียงส่วนใหญ่ว่าอย่างไร เราต้องว่าตามนั้น ถึงแม้จะไม่เห็นด้วยก็ตาม ไม่ใช่เสียงส่วนใหญ่ว่าอะไรเราไม่สน แต่ทุกคนต้องทำตามเราหรือพวกเราเท่านั้น
ประชาธิปไตย คือ การปกครองแบบตัวแทน กล่าวคือเราเลือกผู้แทนฯ ไปทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติแทนเราในรัฐสภา และรัฐสภาแห่งนี้เป็นที่ก่อเกิดของฝ่ายบริหาร(รัฐบาล)และฝ่ายตุลาการ(ศาล)
โดยที่สถาบันหลักทั้ง 3 ฝ่ายดังกล่าว มีระบบการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา คือ อำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน กล่าวคือ อำนาจการปกครองเป็นของประชาชน แต่ประชาชนไม่ได้ใช่อำนาจโดยตรง แต่เลือกผู้แทนราษฏรไปทำหน้าที่แทนตน
ประชาชนเลือกผู้แทนราษฏร(ฝ่ายนิติบัญญัติ-รัฐสภา)
สส.(ฝ่ายนิติบัญญัติ-รัฐสภา)เลือกนายกรัฐมนตรี (รัฐบาล)
รัฐบาล เลือก ผู้พิพากษา (ศาล)
โดยสถาบันหลักทั้ง 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่าย มีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันของตุลาการ
• ฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา)ตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายบริหาร (รัฐบาล)ได้ด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจ พิจิตรงบประมาณ ตั้งกระทู้
• ฝ่ายบริหาร(รัฐบาล) ตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา)ได้ด้วยการยุบสภาฯ
• ฝ่ายตุลาการ(ศาล)
ตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจอำนาจกับฝ่ายนิติบัญญัติ(รัฐสภา)และฝ่ายบริหาร(รัฐบาล)
โดยกระบวนการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การวินิจฉัยคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง การวินิจฉัยข้อพิพาทคดีปกครองและคดีทั่วไป
ดังนั้น เรื่องอายุราชการ 8 ปี ของผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นอำนาจและหน้าที่โดยตรงของฝ่ายตุลาการ ซึ่งเป็นอำนาจในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายบริหาร
การที่นักเรียน นิสิต นักศึกษา ครูอาจารย์และประชาชน ออกมากดดันหรือไม่ปล่อยให้ศาลได้ทำหน้าที่อย่างอิสระ หรือแม้แต่การไม่ยอมรับการพิจารณาคดีของศาล คือ
•1 อ้างตัวเป็นฝ่ายประชาธิปไตย แต่อ่อนด้อยทางความรู้เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง กล่าวคือไม่มีความเข้าใจในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
•2 อ้างตัวเป็นฝ่ายประชาธิปไตย แต่ไม่เคารพกติกาของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
•3 อ้างสิทธิ เสรีภาพ ทั้งที่ในทางปฏิบัติกลับใช้สิทธิเสรีภาพของตน เพื่อเบียดบังสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
•4 อ้างสิทธิ เสรีภาพ เพื่อบังคับให้ผู้อื่นทำตามความต้องการของตน ซึ่งเข้าข่ายความเป็นเผด็จการ
อ้างประชาธิปไตย ทั้งที่นิยามเผด็จการ
อ้างประชาธิปไตย ทั้งที่ตัวเองเป็นเผด็จการ
เผด็จการที่ทุกอย่างต้องเป็นไปตามที่ตนและพวกพ้วงต้องการเท่านั้นถึงจะเรียกว่าประชาธิปไตย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘อัษฎางค์’ ถาม ทำไมพรรคเพื่อไทย ใช้เด็กฝึกงานมาเป็นผู้นำประเทศ
การใช้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เช่น iPad ในการเจรจาทางการทูต ไม่ได้แสดงถึงความทันสมัยและการเปิดรับเทคโนโลยี แต่เป็นภาพลักษณ์ที่อาจถูกตีความในเชิงลบ
อดีตรองอธิการบดี มธ. สะกิดคนผิดหวังการเมือง อย่าเพิ่งท้อ หมากรุกต้องมองหลายชั้น
เมื่อมีข่าวว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี หลายคนดีใจ และแสดงความยินดี แต่หลายคนก็รู้สึกหมดแรง ท้อแท้ สิ้นหวัง ตัดพ้อว่าประเทศไทยเป็นอย่างนี้ได้อย่างไร ก็ขอบอกว่า ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ก็คือปรากฏการณ์ของระบอบประชาธิปไตยของไทยที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ยกผลงาน Citi Identity ของ 'อภิรักษ์' เทียบ 'ชัชชาติ' ไม่แปลกโดนวิพากษ์ยับเยิน
นายอัษฎางค์ ยมนาค หรือ เอ็ดดี้ นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กถึงเรื่องสติกเกอร์“กรุงเทพฯ Bangkok” ที่ติดอยู่บริเวณบนคานรถไฟฟ้า BTS เพื่อสร้าง City Branding หรือ Citi Identity ว่า
'อัษฎางค์' ตอกย้ำบุ้งไม่ได้ติดคุกและตายเพราะแสดงความเห็นทางการเมือง!
นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์โพสต์เฟซบุ๊ก
'อัษฎางค์' แฉชัดๆ ใครโหนศพหากินหรือไม่
นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กกรณี น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม
'อัษฎางค์' เปิดต้นตอใครชักนำหรือจูงใจ 'บุ้ง' สู่เส้นทางนี้
นายอัษฎางค์ ยมนาค นักประวัติศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊กกรณี น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม