ศาลเเพ่งยกคำร้องคุ้มครองชั่วคราวหลังตัวแทนนิสิตนักศึกษายื่นฟ้องขอคุ้มครอง นายก-ผบ.ทสส.ลักไก่ออกข้อกำหนดเพิ่มโทษชุมนุมเสี่ยงโควิด เหตุโจทก์ยังไม่ได้รับความเสียหาย ศาลชี้การออกประกาศมาตราการต้องใช้เพื่อคุมโรคตามกฎหมายเท่านั้น
23 ส.ค.2565 - ศาลเเพ่งนัดอ่านคำสั่งในคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวการชุมนุมในคดีที่เมื่อวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา นายนรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความประจำศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน พร้อมด้วยตัวแทน นิสิตและนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัย นายกองค์การบริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยอื่นๆ ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด( ผบ.ทสส. ) เป็นจำเลย ขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งเพิกถอน มาตรา 9 พรก.ฉุกเฉินฯ เเละข้อกำหนดนายกรัฐมนตรี ฉบับที่47 และ ประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ฉบับที่ 15 และขอให้ศาลเปิดไต่สวนเพื่อคุ้มครองชั่วคราว
โดยศาลมีการไต่สวนฉุกเฉิน เเละมีคำสั่งในวันนี้ว่า พิเคราะห์แล้ว เห็นว่า โจทก์ทั้ง7 ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งระงับการบังคับใช้ ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548(ฉบับที่ 47 ) ลงวันที่ 27 ก.ค.65 ข้อ 3 และประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่องห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ลงวันที่ 1 ส.ค.65 ข้อ 5 และวรรคท้าย
ได้ความตามทางไต่สวนว่า เมื่อวันที่ 27 ก.ค.65 จำเลยที่ 1ในฐานะนายกรัฐมนตรี ได้ออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่ง พรก.ฉุกเฉินฯ ข้อ 3 ความว่า “การชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธเป็นเสรีภาพ ของประชาชนที่ย่อมกระทำได้ภายใต้ขอบเขตการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยให้นำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุม รวมทั้งหน้าที่ของผู้จัดและผู้ชุมนุมตามที่กำหนด ในกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะมาใช้โดยอนุโลม
ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจสอบ ระงับยับยั้ง หรือยุติการ ชุมนุม การทำกิจกรรมหรือมั่วสุม ที่จัดขึ้นโดยมีลักษณะต่อการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างทันท่วงที ให้ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) กำหนดมาตรการขึ้นเป็น การเฉพาะเพื่อคุ้มครองประชาชน รวมทั้งการอำนวยความสะดวกและดูแลการชุมนุม รวมไปถึงกำหนดมาตรการอื่น ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสมกับสถานการณ์ได้...”
ต่อมา เมื่อวันที่ 1 ส.ค.65 จำเลยที่ 2 ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบได้ออกประกาศหัวหน้าผู้รับผิดชอบ ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่องห้ามการชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุม ที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด ลงวันที่ 1 ส.ค.65 ข้อ 5 ความว่า
“ให้นำหลักเกณฑ์การจัดและการแจ้งการชุมนุม รวมทั้งหน้าที่ ของผู้จัดและผู้ชุมนุมตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมการสาธารณะมาใช้โดยอนุโลม” และ ในวรรคท้าย ความว่า “หากผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ต้องรับโทษตามมาตรา 18 แห่ง พรก.ฉุกเฉินฯ ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน4 หมื่นบาท หรือทั้งจำและปรับ”
ข้อกำหนดและประกาศดังกล่าว โจทก์ทั้ง7 อ้างว่าเป็นกฎหมายระดับรองซึ่งออกมาเพื่อเพิ่มโทษบุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะซึ่งเป็นพรบ.และกฎหมายระดับสูงกว่าโดยมีการกำหนดโทษ หนักขึ้นไปกว่าที่กำหนดไว้ในพรบ.การชุมนุมสาธารณะฯ ทั้งการระบุเนื้อความ ไว้ในข้อกำหนด ฯ ข้อ 3 ยังเป็นการเปิดช่องให้จำเลยที่2ในฐานะหัวหน้า
ศปม. กำหนดมาตรการขึ้นเองเป็นการเฉพาะให้สามารถระงับยับยั้ง หรือยุติการชุมนุม ได้ด้วยตนเองทันที โดยไม่ต้องผ่านกลไกการร้องขอต่อศาลเหมือนที่ได้รับ การคุ้มครองไว้ตามพรบ.การชุมนุมสาธารณะ ฯ ข้อกำหนด ฯ และประกาศฯ ซึ่งออกโดยจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการสร้างภาระให้แก่โจทก์เกินสมควรแก่เหตุ เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพของโจทก์ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
เห็นว่า แม้ว่าข้อกำหนดที่ออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พรก.ฉุกเฉินฯลงวันที่ 27 ก.ค.65 ข้อ 3 วรรคท้าย ให้อำนาจศปม. กำหนด มาตรการขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อคุ้มครองประชาชน รวมทั้งการอำนวยความสะดวกและดูแลการชุมนุม แต่การออกมาตรการดังกล่าวย่อมต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อกำหนดข้อที่ 3 กล่าวคือ ต้องออกมาตรการกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันการ ระบาดของโรค
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาประกาศของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วน ที่เกี่ยวกับความมั่นคง เรื่องการห้ามชุมนุม การทำกิจกรรม การมั่วสุมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิดฯข้อ 5 ซึ่งเป็น มาตรการที่ออกโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่ เกี่ยวข้องกับความมั่นคง โดยอาศัยนัยยะตามข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว ไม่ปรากฏว่าเนื้อความในข้อกำหนดส่วนใดว่าผู้ที่จะชุมนุมหรือจัดให้มีการชุมนุมจะต้องดำเนินการตามมาตรการของประกาศ ดังกล่าวอย่างไร และไม่ปรากฏว่ามีการกำหนดมาตรการใดอย่างไรที่เป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ใน การควบคุมและป้องกันการระบาดของโรค
ดังนั้นประกาศฉบับดังกล่าวจึงถือว่ายังไม่ได้ออกตามความ ในข้อ 3 วรรคท้าย ของข้อกำหนดที่จำเลยที่ 1 ประกาศอันน่าจะเป็นผลให้ประกาศของจำเลยที่ 2 ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของข้อกำหนดดังกล่าวที่จะนำมาบังคับใช้กับผู้ชุมนุม ซึ่งรวมถึง โจทก์ทั้ง7ในการจัดการชุมนุมภายใต้สิทธิที่มีอยู่โดยชอบตามรัฐธรรมนูญได้
แต่ตามทางไต่สวนของ โจทก์ทั้ง7 ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้ง7 ได้ดำเนินการใด ๆ ตามข้อกำหนดและประกาศดังกล่าวจนได้รับความเดือดร้อนเสียหาย ประกอบกับเนื้อความในข้อ 3 วรรคท้าย ของข้อกำหนดดังกล่าว เป็นเพียงการวางเงื่อนไขในการออกมาตรการเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ออกมาตรการย่อม ไม่ถือว่าโจทก์ทั้ง7 จะได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการการทำของจำเลยทั้ง2 ในชั้นนี้จึงยังไม่มีเหตุจำเป็นและสมควรในการที่จะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้เพื่อระงับการบังคับใช้ ข้อกำหนดและประกาศดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) มาตรา 255(2) (ข) ประกอบมาตรา267วรรคหนึ่ง ยกคำร้อง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘ผบ.ทสส.’ โยนถาม ‘กองทัพเรือ’ เมียนมายิงเรือประมงไทย ทำเกินกว่าเหตุหรือไม่
ผบ.ทสส. ยัน ช่วย 4 คนไทยเต็มที่ ให้กลับประเทศเร็วสุด เผย ยังปลอดภัย โยน ทร.แจง เมียนมาทำเกินกว่าเหตุหรือไม่
'สนธิญา' ยื่นศาลสั่งปิดเฟซบุ๊ก 'อีซ้อขยี้ข่าว' ใส่ร้ายรับเงินบอสพอล ทำพระ ว.วชิรเมธี เสียหาย
ที่ศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก นายสนธิญา สวัสดี อดีตที่ปรึกษา กมธ.กฎหมายฯ สภาผู้แทนราษฎร
ศึกสายเลือด! ‘ธรรมวัฒนะ’ ฟ้องรอบใหม่
ยังไม่จบ! ศึกพี่น้องตระกูลธรรมวัฒนะภาคใหม่ "นพดล" รับมอบอำนาจน้องสาว ยื่นฟ้องเพิกถอนการโอนหุ้น "บริษัท สุวพีร์ฯ" ให้ "นฤมล" ชี้เป็นนิติกรรมฉ้อฉล ทำเเผนบริหารตลาดยิ่งเจริญเสียหาย
ศึกชิงมรดกตระกูล 'ธรรมวัฒนะ' ยังไม่จบ 'นพดล' ยื่นฟ้องน้องสาวฝ่าฝืนพินัยกรรม
ศึกตระกูลธรรมวัฒนะภาคใหม่ ‘นพดล’ ยื่นฟ้องเเพ่ง ‘นฤมล’ขอหุ้นคืนเข้าบริษัท สุวพีร์ หลัง ฝ่าฝืนคำสั่งพินัยกรรม โอนให้บุคคลอื่นโดยมิชอบ ศาลแพ่งนัดชี้สองสถาน 25 พ.ย.67
สวนทาง! สิ่งที่ต้องบังคับคดีมากที่สุดคือ 'นช.ทักษิณ' ต้องอยู่ในเรือนจำ
นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีศาลแพ่งมีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ก.ค. ให้ยุติการชุมนุมหลังศาลมีคำสั่งภายใน 7 วัน
แกนนำ คปท. เผยเหตุยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลแพ่งให้เลิกชุมนุม มีข้อเท็จจริงที่ศาลอาจไม่ทราบ
นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษา ประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ศาลแพ่งสั่งให้ คปท.เลิกชุมนุม เราเคารพคำสั่งศาลครับ เพียงแต่ว่าข้อเท็จจริงหลายประเด็นผิดจากความเป็นจริง ศาลท่านอาจจะไม่ได้รับทราบ