'อัษฎางค์' ตอก 'หมีแข ชาลีจัญ' ผู้วางรากฐานของนโยบายต่างประเทศของไทยคือ ร. 5 ไม่ใช่ 'ปรีดี'

การดำเนินโยบายระหว่างประเทศที่ผิดพลาดของ อ.ปรีดี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ที่หลงกลรัฐบาลอังกฤษ จนเกือบทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม

23 ส.ค.2565- นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ นักประวัติศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ยมนาค ว่า สอนประวัติศาสตร์การเมืองให้ “ชาลีจัญ”

หมีแข ชาลีจัญ เอาอีกแล้ว มาเข้าห้องเรียนวิชาประวัติศาสตร์การเมืองกันหน่อย อัษฎางค์ ยมนาค….จัดให้ ………………………………

บทที่ 1 ลัทธิอาณานิคม

หมีแข ชาลีจัญ :

ท่านปรีดีเป็นเสมือนผู้วางรากฐานของนโยบายต่างประเทศของไทย นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา ในช่วงนั้นประเทศไทยเพิ่งหลุดพ้นจากลัทธิอาณานิคม ซึ่งลัทธิอาณานิคมมีส่วนที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากการแบ่งทรัพยากร แบ่งอำนาจ แบ่งผลประโยชน์ต่างๆ ที่ไม่ลงตัว แต่หลังจากลัทธิอาณานิคมเริ่มหมดไปภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

อัษฎางค์ :

ผู้วางรากฐานโยบายต่างประเทศเป็นคนแรกคือ ร.5 และลัทธิอาณานิคม หมดพิษสงต่อไทยมาตั้งแต่หลังสมัย ร.5 แล้ว ด้วยฝีมือของ ร.5 และทีมงาน

ไม่ใช่ไทยเพิ่งหลุดพ้นจากลัทธิอาณานิคมในช่วงที่เปลี่ยนแปลงการปกครองหรอก ……………………………………………………………… บทที่ 2 ความเป็นกลางทางการเมือง(ระหว่างประเทศ)

หมีแข ชาลีจัญ :

นับจาก พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา นโยบายการต่างประเทศของไทยได้ถูกวางรากฐานโดยท่านปรีดี ซึ่งเราก็ยังดำเนินมาจนถึงทุกวันนี้ คือ “การวางตัวเป็นกลาง”

อัษฎางค์ :

นโยบาย”การวางเป็นกลาง”เริ่มขึ้นโดย รัชกาลที่ 5 โดยทรงเป็นพระมหากษัตริย์จากเอเชียพระองค์แรกที่เสด็จเยือนยุโรปถึง 2 ครั้ง เพื่อสร้าง Balance อำนาจของมหาอำนาจยุโรปเดิม ได่แก่ อังกฤษและฝรั่งเศส และอำนาจของมหาอำนาจใหม่ ได้แก่ เยอรมันและรัสเซีย

โดยไทยเราได้รัสเซีย สนับสนุนอย่างเต็มกำลัง

ซึ่งความสำเร็จนี้ ได้มาก็ด้วยพระวิจารณญาณที่กว้างไกล หรือที่สมัยนี้เรียกว่า การมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล กล่าวคือ ย้อนกลับไปสมัยที่รัชกาลที่ 5 ยังเป็นองค์รัชทายาท ยังไม่ได้ครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 5 มีข่าวว่า ซาร์นิโคลัส ซึ่งเป็นองค์รัชทายาทจากรัสเซียมาสำรวจโลกโดยจะแล่นเรือผ่านสิงคโปร์ขึ้นไปญี่ปุ่น

เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ทราบในทันที ด้วยพระปรีชาญาณว่านี่คือโอกาสทองที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศมหาอำนาจ

จึงทรงล็อบบี้ ทุกวิถีทางอย่างเต็มกำลัง เพื่อจะทูลเชิญให้ ซาร์นิโคลัส ซึ่งในขณะนั้นไม่ได้มีไทยในสายตา มาเยือนไทยให้จงได้

แล้วในที่สุดก็สำเร็จ เมื่อซาร์นิโคลัส เข้ามาไทย เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ก็ตอบรับ ผูกมิตร จนซาร์นิโคลัส ตกหลุมรักเมืองไทยและคนไทย จนกลายเป็นเพื่อนรักกับเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

ต่อมาเมื่อซาร์นิโคลัสขึ้นครองราชย์ รัสเซียก็เป็นมหาอำนาจใหม่ของยุโรปแล้ว

เมื่อเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 เมืองไทยก็ตกอยู่ในช่วงที่ลัทธิล่าอาณานิคมกำลังมีความรุนแรงที่สุด ไทยโดนอังกฤษและฝรั่งเศส ขนาบข้าง รอการแบ่งไทยออกเป็นเค้ก 2 ก้อน

ในที่สุด รัชกาลที่ 5 ก็เสด็จเยือนยุโรป เพื่อสร้าง Balance ทางการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นข่าวฮือฮาขึ้นหน้าหนึ่งในสื่อทุกค่ายทั่วยุโรปอยู่ตลอดช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินในประเทศต่างๆ ในยุโรป

ความสำเร็จที่วัดได้อย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน เรื่องแรกคือ สื่อยุโรป ยกย่องว่าพระองค์ท่านเป็นหนึ่งในผู้นำที่มีอิทธิพลสูงสุดในโลก เคียงข้างพระมหากษัตริย์ของยุโรป โดยประเทศจากเอเชียที่ได้รับการยกย่องนี้มีเพียง ไทยและญี่ปุ่น เท่านั้น

ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่เรื่องที่ 2 คือ ทรงสามารถ Balance อำนาจของมหาอำนาจยุโรปได้สำเร็จ ด้วย”นโยบายความเป็นกลางทางการเมือง” ซึ่งนำมาสู่การที่ไทย ไม่ตกเป็นอาณานิคมขิงชาติมหาอำนาจใดๆ เลย

ทำให้ไทย(แทบจะเป็นเพียงไม่กี่ชาติในโลก)ไม่เคยตกเป็นอาณานิคมของฝรั่ง

หมีแข ชาลีจัญ อย่าทำตัวเป็นยูเคลมโบเดีย

นโยบายความเป็นกลางทางการเมืองในระดับกิจการระหว่างประเทศ ในหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงเป็นผู้ริเริ่มและดำเนินนโยบายนี้จนประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด

กลับไปเรียนมาใหม่ ……………………………………………………………… บทที่ 3ใครกันแน่ทำให้ไทยไม่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2

หมีแข ชาลีจัญ :

การประกาศวันสันติภาพเมื่อ 77 ปีที่แล้ว เป็นเรื่องการต่างประเทศ เพราะตอนนั้นประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งที่อาจารย์ปรีดีได้ทำเมื่อ 77 ปีที่แล้วส่งผลอย่างมาก แม้ว่าจะมีประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาคอยช่วย

อัษฎางค์ :

ที่อเมริกามาช่วย เพราะเสรีไทยสายอเมริกา ที่มี ม.ร.ว.

เสนีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้า และเป็นฝีมือของ ม.ร.ว.

เสนีย์ ปราโมช ล้วนๆ ที่เป็นคนวิ่งเต้นในอเมริกายื่นมือมาช่วย

ส่วนทางอังกฤษที่มีปรีดีเป็นหัวหน้านั้น อังกฤษไม่เห็นหัวปรีดีเลย เพราะหลังจบสงคราม อังกฤษไม่ยอมรับว่าไทยเป็นฝ่ายชนะ และตั้งท่าแต่จะเข้ายึดเมืองไทย

ที่อเมริกาเข้ามาช่วยไทยในครั้งนั้น เป็นฝีมือ อ.เสนีย์ ล้วนๆ ไม่มี อ.ปรีดีมาเกี่ยวแล้ว อย่าทำตัวเป็นยูเคลมโบเดีย เพจ”ฤา” ระบุว่า

ผลจากยุทธการทิ้งระเบิดปรมาณูถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิ ทำให้ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามทันที ในวันที่ 15 สิงหาคม 2488 และถือเป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

หลังจากนั้น 1 วัน นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ออกประกาศว่า “การประกาศสงครามกับอังกฤษและอเมริกา” ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. ถือเป็นโมฆะ จนกลายเป็นที่มาของ วันสันติภาพไทย (16 สิงหาคม ของทุกปี)

แต่…การลงนามประกาศสันติภาพครั้งนั้น เป็นการอ้างความสิ้นสุดสถานะสงครามของท่านปรีดีเพียงฝ่ายเดียว โดยที่ชาติฝ่ายสัมพันธมิตรไม่ได้ยอมรับด้วย

[อัษฎางค์]“จุดนี่แหละ ที่ฝ่ายที่เรียกตัวเองว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตย ชอบเอามาเคลม ทำตัวเป็นยูเคลมโบเดีย ว่าปรีดีทำให้ไทยกลายเป็นฝ่ายชนะสงคราม ทั้งที่ความจริงคือ ….”

เพจ”ฤา”ระบุต่อไปว่า

หากเกิดการลงนามในวันที่ 16 สิงหาคม ตามที่อังกฤษพยายามเร่งรัดให้รัฐบาลนายปรีดีดำเนินการ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ไทยจะถูกยุบกองทัพ และต้องยอมให้อังกฤษเข้ามาควบคุมสื่อและใช้สอยทรัพยากรต่างๆ ตามแต่อังกฤษจะเรียกร้อง ซึ่งนี่ไม่ต่างอะไรกับสัญญาทาสที่ไทยจะเสียเปรียบอังกฤษทุกประตู

[อัษฎางค์] อ.ปรีดี หลงกล อังกฤษ โดยไม่รู้ตัว

เพจ“ฤา”ระบุต่อไปว่า

ย้อนกลับไปตั้งแต่ต้น ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช คือผู้มีบทบาทอย่างมากในการจัดตั้งขบวนการเสรีไทย นับตั้งแต่วินาทีแรกที่รัฐบาลจอมพล ป. ได้ประกาศสงครามกับอเมริกา ตลอดจนเป็นผู้ดำเนินการติดต่อกับคนไทยในอังกฤษจนกระทั่งรวมตัวกันขึ้นเป็นขบวนการเสรีไทย และประสานติดต่อจนสามารถสร้างเครือข่ายเสรีไทยในประเทศไทยจนสำเร็จ

ด้วยเหตุนี้ทำให้อังกฤษมองว่า อเมริกาอาจมีทีท่ายอมรับและไม่มองไทยในฐานะประเทศผู้แพ้สงคราม อีกทั้งบทบาทของ ม.ร.ว.เสนีย์ อาจส่งผลให้อเมริกาเข้ามามีอิทธิพลในไทยแทนอังกฤษ ดังนั้น นี่จึงเป็นสาเหตุที่อังกฤษพยายามที่จะให้ไทยยอมรับข้อตกลงเลิกสถานะสงครามโดยเร็ว

ม.ร.ว.เสนีย์ ได้วิ่งเต้นให้อเมริกาเข้ามาเป็นคนกลางคานอำนาจอังกฤษ จนทำให้การลงนามข้อตกลงยกเลิกสถานะสงครามเลื่อนมาเป็น วันที่ 1 มกราคม 2489 และทำให้ประเทศไทยยังคงรักษาเอกราชสมบูรณ์เอาไว้ได้

จนถึงขนาดนายปรีดีฯ ยังเอ่ยปากชมว่า … “นี่ขอขอบใจอเมริกาอย่างที่สุด ไม่รู้จะหาทางใดขอบใจ”

[อัษฎางค์] ถ้าหากศึกษาประวัติศาสตร์จริง จะได้รับความจริง ว่าพระเอกตัวจริงเสียงจริงในเรื่องเสรีไทย ที่ช่วยให้ไทยไม่ผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ใช่ อ.ปรีดี แต่เป็น อ.เสนีย์ ปราโมช โดยมี อ.ปรีดี เป็นผู้สนับสนุน ………………………………………………………………… ยิ่งไปกว่านั้น, ยังมีเรื่องราวของ รัชกาลที่ 8 ที่โลกลืมไปอีกด้วย

ก่อนจะเข้าเรื่องของในหลวงรัชกาลที่ 8 ที่โลกลืม ผมขอเล่าประวัติศาสตร์ของอิตาลี ซึ่งจะเป็นตัวอย่างของคำตอบว่า”มีสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ทำไม”

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 มุสโสลินี จัดตั้งกลุ่ม”คนเสื้อดำ” ซึ่งในเวลาต่อมากลายมาเป็นต้นแบบให้กับพรรคนาซีในช่วงต้น กลยุทธ์ที่ทำให้ของคนเสื้อดำมีอำนาจทางการเมืองขึ้นมาคือ “ใครเห็นต่าง จะถูกทำลาย” (คุ้นๆ มั้ยกับกลยุทธ์นี้)

จากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ยกระดับกลายเป็นพรรคการเมือง (คุ้นๆ มั้ยกับพรรคส้มเน่าของไทย) แล้ว มุสโสลินี ก็แทรกตัวเข้าไปเป็นนักการเมือง และตัวเขาประสบผลสำเร็จจนโด่งดัง ด้วยการลอกเลียนแบบพฤติกรรมความเก่งกาจมาจากบทบาทจากตัวละครในภาพยนตร์อิตาลี (คล้ายๆ ผู้นำของยูเครน ที่เป็นอดีตพระเอกหนัง จนคนเชื่อว่าเก่งเหมือนตัวละคร มั้ยละ)

ด้วยลีลาการหาเสียงที่ถึงลูกถึงคน เช่น ถอดเสื้อเกี่ยวข้าวกับชาวนา (คุ้นๆ มั้ย มีนักการเมืองไทยสายส้มและแดงจำแลง หาเสียงแบบถึงลูกถึงคนมั้ยละ)

ต่อมาได้ปลุกระดมคนขึ้นโค่นอำนาจรัฐบาล ซึ่งกลายมาเป็นต้นแบบให้ฮิตเลอร์ในเวลาต่อมา ฮิตเลอร์ มอง มุสโสลินี ว่าเป็นต้นแบบ และมองว่าอิตาลีมีกองทัพที่ยิ่งใหญ่ จึงต้องการให้อิตาลีเป็นพันธมิตรเพื่อก่อการใหญ่

1 กันยายน 1939 ฮิตเลอร์เปิดฉายสงครามด้วยการบุกโปแลนด์ ในขณะที่มุสโสลินีและอิตาลีไม่รู้ตัวและไม่ได้มีความพร้อมในการทำสงคราม แต่มุสโสลินีกลัวเสียฟอร์ม จึงกระโจนลงในสงครามด้วย สุดท้ายจบลงด้วยการแพ้ยับเยิน เยอรมันแพ้สงคราม ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามและสูญเสียอิสรภาพ เพราะเยอรมันมี ฮิตเลอร์ เป็นทั้งผู้นำรัฐบาลและประมุขแห่งรัฐในขณะที่อิตาลีรอดพ้นหายนะ

เพราะอะไร ?

เพราะ…อิตาลีมีมุสโสลินีเป็นผู้นำรัฐบาล แต่มีสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ

เมื่อกองทัพของอิตาลีแพ้ เหล่าข้าราชการก็เสนอให้พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐ ปลดมุสโสลินีและนำไปดำเนินคดี และประกาศย้ายข้างมาเป็นพวกเดียวกับสัมพันธมิตร ที่มีอเมริกาและอังกฤษเป็นแกนนำ ทำให้อิตาลีรอดพ้นการเป็นผู้แพ้สงคราม

เยอรมันมีฮิตเลอร์ เป็นทั้งผู้นำรัฐบาลและประมุขแห่งรัฐ จบเห่ไปทันที

แต่อิตาลีไม่ได้มีแค่หัวหน้ารัฐบาล ที่อาจดำเนินนโยบายผิดพลาด แต่อิตาลีมีก๊อก 2 คือยังมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ

“นี่คือหนึ่งในคำตอบว่า มีสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ทำไม” ………………………………………………………………… กลับมาเข้าเรื่อง,

ในหลวงรัชกาลที่ 8 ที่โลกลืมไปอีกด้วย กับคำตอบว่า”มีสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ทำไม”

เพจ”ฤา”ระบุ

เหตุการณ์สำคัญในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2489 Lord Louis Mountbatten ผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตรแห่งกองบัญชาการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีความพยายามที่จะจัดพิธีสวนสนามทหารสหประชาชาติขึ้นในประเทศไทย นัยว่าเป็นการประกาศและเฉลิมฉลองในการเข้ายึดครองดินแดนในอารักษา ซึ่งถือเป็นการย่ำยีศักดิ์ศรีของประเทศไทยให้กลายเป็นประหนึ่งประเทศผู้แพ้สงคราม ทั้งๆ ที่อังกฤษเพิ่งยอมรับการยกเลิกสถานะคู่สงครามกับประเทศไทยไปหมาดๆ

แต่ด้วยพระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 8 พระองค์ได้แสดงพระราชประสงค์ที่จะเข้าร่วมพิธีสวนสนามด้วย ซึ่งส่งผลให้ Lord Louis Mountbatten ที่แม้จะมีฐานะเป็นอุปราชแห่งอินเดีย หรือเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ก็มีสถานภาพที่ต่ำกว่าพระประมุขของรัฐ ดังนั้น ในพิธีสวนสนาม ในฐานะที่ในหลวงรัชกาลที่ 8 มีพระสถานะที่สูงที่สุด พระองค์จึงทรงเป็นประธานในพิธี ประทับอยู่บนพระแท่นตรวจพลสวนสนามรับการแสดงความเคารพจากเหล่าทหาร แทนที่จะเป็น Lord Louis Mountbatten ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สถานภาพของไทยและอังกฤษกลายเป็นประเทศที่มีความทัดเทียมกัน

[อัษฎางค์] การดำเนินโยบายระหว่างประเทศที่ผิดพลาดของ อ.ปรีดี ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ที่หลงกลรัฐบาลอังกฤษ จนเกือบทำให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม

พลิกกลับมากลายเป็นประเทศพันธมิตรของประเทศผู้ชนะสงคราม เพราะประเทศไทยไม่ได้มีแค่หัวหน้ารัฐบาล ที่อาจดำเนินนโยบายผิดพลาด แต่เรายีงมีก๊อก 2 คือเรายังมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขแห่งรัฐ

เหมือนเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับอิตาลีไม่ผิดเพี้ยน ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ช่วยพลิกสถานการณ์จากผู้แพ้ให้กลายเป็นผู้ชนะ

“นี่คือหนึ่งในคำตอบว่า มีสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้ทำไม” ………………………………………………………………… กลับไปเรียนมาใหม่ สอบติดเป็นข้าราชการ และไต่เต้ามาเป็นยมทูต ได้ยังไงฟ่ะ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เอ็ดดี้' ชำแหละ! แผนรัฐบาลคุม 'แบงก์ชาติ' บรรลุ 6 เป้าหลัก

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "เอ็ดดี้ อัษฎางค์" ในหัวข้อ "อะไรคือจุดประสงค์ของการแทรกแซงแบงก์ชาติจากฝ่ายการเมือง"

เอ็ดดี้ ข้องใจปม ‘เกาะกูด’ ถาม ‘ทักษิณ’ มีข้อตกลงอะไรกับ ‘ฮุนเซน’ หรือไม่

ทักษิณ ชินวัตร ไร้น้ำยา ไม่สมราคาคุย หรือ ทักษิณ ชินวัตร มีข้อตกลงอะไรกับฮุนเซน หรือไม่ อย่างไร เป็นคำถามที่ค้างคาใจประชาชนคนไทยทั้งชาติ

'อัษฎางค์' ข้องใจ ม.นเรศวร จ้างฝรั่งมาบั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ หรืออย่างไร?

อัษฎางค์ ยมนาค โพสต์เฟซบุ๊ก เอ็ดดี้ อัษฎางค์ ระบุข้อความว่า มหาวิทยาลัยนเรศวรจ้างฝรั่งมาบั่นทอนสถาบันพระมหากษัตริย์ หรืออย่างไ

สงสัย 'อเมริกา' คือจุดเริ่มต้นการชุมนุมของนิสิตนักศึกษาเดือนตุลาถึงขบวนการสามกีบหรือไม่?

อัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า สหรัฐอเมริกา(ผู้รักษาสันติภาพ ที่ทำลายสันติภาพ) คือจุดเริ่มต้นการชุมนุม

'อัษฎางค์' ยกตัวออย่างเห็นภาพแทรกแซงธนาคารกลาง = หายนะ

นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์เฟซบุ๊ก #ประชานิยม + #การแทรกแซงธนาคารกลาง = #หายนะ เมื่อฝ่ายการเมืองคิดจะใช้นโยบายประชานิยม

ถาม ‘พิชัย’ ตรงๆ ใครเห็นหัวคนรากหญ้ามากกว่ากัน ‘พท.’ หรือ ‘แบงก์ชาติ’

การแจกเงินของพรรคเพื่อไทยจึงไม่เพียงแต่เป็นมาตรการทางเศรษฐกิจ แต่ยังเป็นกลยุทธ์ทางการเมืองที่ใช้สร้างความนิยมและรักษาฐานเสียง