17 ส.ค.2565 - ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ “ดร.นิว” นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กโดยมีเนื้อหาดังนี้
ไขปริศนาการจำกัดจำนวนเทอมนายกรัฐมนตรี
ประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบระบบรัฐสภาที่ถูกต้องและสมบูรณ์อย่างแท้จริงได้อย่างไร ในเมื่อแม้แต่คนเขียนรัฐธรรมนูญเองก็ไม่รู้หลักวิชา ไม่เคารพหลักการสำคัญในระบบรัฐสภา
นายกรัฐมนตรีในระบบรัฐสภาล้วนแล้วแต่ไม่มีการจำกัดจำนวนเทอมทั้งสิ้น ต่างจากระบบประธานาธิบดีที่มักมีการจำกัดจำนวนเทอมของประธานาธิบดี โดยส่วนใหญ่นิยมจำกัดไว้เป็นเวลาจำนวนสองเทอม
ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบระบบรัฐสภา ไม่ใช่ระบบประธานาธิบดี จึงไม่ต้องมีการจำกัดจำนวนเทอมของนายกรัฐมนตรี เฉกเช่นการจำกัดจำนวนเทอมของประธานาธิบดีแต่อย่างใด
แต่คนเขียนรัฐธรรมนูญไทยกลับเอาหลักการของระบบรัฐสภากับระบบประธานาธิบดีมาปะปนกันจนมั่วไปหมด สมกับที่เป็นระบอบเผด็จการลัทธิรัฐธรรมนูญหลอกลวงประชาชนมานับตั้งแต่ ๒๔ มิถุนา ๒๔๗๕
การจำกัดจำนวนเทอมของนายกรัฐมนตรีในรัฐธรรมนูญของไทย จึงสะท้อนให้เห็นถึงความไม่รู้หลักวิชาของคนเขียนรัฐธรรมนูญ และเผยให้เห็นถึงรัฐธรรมนูญที่ตกเป็นเครื่องมือของเผด็จการมาโดยตลอด ๙๐ ปี
คนเขียนรัฐธรรมนูญไทยไม่รู้กันจริงๆ หรือว่านายกรัฐมนตรีในระบบรัฐสภาทั่วโลกล้วนแล้วแต่ไม่มีการจำกัดจำนวนเทอมทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบรัฐสภาที่เป็นราชอาณาจักร หรือระบบรัฐสภาที่เป็นสาธารณรัฐ
- ระบบรัฐสภาที่เป็นราชอาณาจักร เช่น สหราชอาณาจักร นอร์เวย์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น สเปน เบลเยียม ลักแซมเบิร์ก มาเลเซีย โมรอคโค จาเมกา สวาซิแลนด์ เลโซโท กัมพูชา โมนาโก อันดอร์รา ลิกเตนสไตน์ เบลีซ เป็นต้น
- ระบบรัฐสภาที่เป็นสาธารณรัฐ เช่น เยอรมนี อิตาลี อินเดีย ออสเตรีย ฮังการี ตุรกี อิรัก อิสราเอล ปากีสถาน โปแลนด์ สิงคโปร์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ กรีซ เซอร์เบีย เช็กเกีย บัลแกเรีย เนปาล บังกลาเทศ เอธิโอเปีย เป็นต้น
อีกทั้งแม้แต่ประเทศในระบบกึ่งประธานาธิบดี ซึ่งมีทั้งประธานาธิบดีกับนายกรัฐมนตรี ตลอดจนประเทศในระบบประธานาธิบดีที่มีนายกรัฐมนตรี ก็ล้วนแล้วแต่ไม่มีการจำกัดจำนวนเทอมทั้งสิ้นเช่นเดียวกัน
- ระบบกึ่งประธานาธิบดี เช่น แอลจีเรีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ติมอร์-เลสเต อียิปต์ ฝรั่งเศส เฮติ ลิทัวเนีย มาดากัสการ์ มาลี มองโกเลีย ไนเจอร์ นอร์เทิร์นไซปรัส โปรตุเกส โรมาเนีย เซาตูแมอีปริงซีป ศรีลังกา ตูนิเซีย ยูเครน เป็นต้น
- ระบบประธานาธิบดีที่มีนายกรัฐมนตรี เช่น เกาหลีใต้ เปรู คีร์กีซสถาน อุซเบกิสถาน ไอวอรี่โคสต์ สาธารณรัฐแอฟริกากลาง เป็นต้น
นอกจากนี้ พบว่ามีเพียงแค่นายกรัฐมนตรีภายใต้ระบบพรรคเดียวของระบอบคอมมิวนิสต์ในบางประเทศเท่านั้น ที่มีการจำกัดจำนวนเทอมของนายกรัฐมนตรีเป็นจำนวนสองเทอม เช่น ลาว เป็นต้น
ทั้งๆ ที่ประเทศไทยของเราปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบระบบรัฐสภาแท้ๆ แต่กลับมีการจำกัดจำนวนเทอมของนายกรัฐมนตรีที่ผิดหลักวิชา แถมยังนำมาทะเลาะกันเสียจนวุ่นวายใหญ่โตอย่างน่าขบขัน
นับเป็นเรื่องที่น่าอนาถใจที่สุด เพราะแม้แต่คนเขียนรัฐธรรมนูญเอง ก็ยังไม่รู้หลักวิชา ไม่เคารพต่อหลักวิชา ถือแนวลัทธิรัฐธรรมนูญที่เขียนรัฐธรรมนูญแบบคิดเอาเอง เป็นเพียงแค่เผด็จการพวกหนึ่งเท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'จตุพร' ซัดเสพติดอำนาจ จนไม่สนใจวิธีการ!
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊กไลฟ์ว่า ทักษิณ ชินวัตร ปราศรัยหาเสียงช่วยผู้สมัครนายก
'ทักษิณ' ยันพรรครัฐบาลไม่แตะ 112 เผยเคยเตือนสติ 'ธนาธร' มาแล้ว!
"ทักษิณ" เผยพรรคร่วมรัฐบาล ลงสัตยาบันไม่แตะ มาตรา 112 โอดตัวเองตกเป็นเหยื่อเพราะถูกหมั่นไส้ เคยคุย "ธนาธร" ขอให้ช่วยกันทำเพื่อบ้านเมือง หากจะแก้กฎหมายควรทำทีละขั้นตอน อย่าไปมุ่งหาเสียง บางทีจุดโฆษณาอันตรายกว่าสิ่งที่ตั้งใจทำ
ดร.อาทิตย์ หวั่นอำนาจการเมืองอยู่เหนือคำพิพากษาศาล ทำบ้านเมืองล่มสลาย!
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊กว่าระบบการเมืองปัจจุบันทำลายนิติรัฐ
อดีตบิ๊กศรภ. ชี้วันเวลาจึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลง 'ระบอบทักษิณ' ได้เลย
พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์ อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ (ศรภ.) โพสต์เฟซบุ๊กว่า ระบอบทักษิณไม่เคยท้อ
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 47: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร ปรับคณะรัฐมนตรีและชะลอการใช้รัฐธรรมนูญบางมาตราชั่วคราว
งานถนัดนายกฯ อิ๊งค์ถึงเปรูไปตลาดของฝากช็อปปิ้ง!
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี