วงเสวนาวาระ 8 ปี เรียงหน้ารุมสับ “บิ๊กตู่” กระตุกต่อมจริยธรรม เดินตามสปิริตทหารรุ่นพี่ ก่อนเกิดวิกฤต “ทนายนกเขา” ขีดขอบเขต รัฏฐาธิปัตย์ สิ้นสุดแล้วทุกอย่างเดินตามระบบปกติ
14 ส.ค.2565 – ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา2535 และสภาที่3 ร่วมจัดเสวนา วาระ 8 ปี การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มีนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน นายวันวิชิต บุญโปร่ง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต นายเจษฎ์ โทณะวณิก นักวิชาการด้านกฎหมาย นายนิติธร ล้ำเหลือ แกนนำกลุ่มประชาชนคนไทย ร่วมเสวนา
นายธีระชัย กล่าวว่า ในประเทศพัฒนา จะจำกัดอำนาจของผู้บริหารประเทศ หรือรู้จักพอ ประเทศเกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ให้ประธานาธิบดีเป็นสมัยเดียว การเมือง 8 ปี ที่เคยสัญญากับประชาชน ไม่เคยสำเร็จ โดยเฉพาะเรื่องการปฏิรูปตำรวจ สังคมตั้งคำถาม ขณะนี้ความรู้สึกประชาชนไปก่อนแล้ว ก่อนที่จะมีการวินิจฉัย หลายคนได้ให้โอกาส เวลาในการบริหารประเทศ แต่ได้เห็นแล้วทั้งทักษะ ความชัดเจน ความรอบรู้ ถ้ามีสักเรื่องที่หากอยากทำให้เกิด อยากเป็นวีรบุรุษ รัฐบุรุษ ต้องมีบรรทัดฐานที่ดี
“ไปดูนายทหารรุ่นพี่หลายๆคน ยังมีระยะเวลา มีสปิริต ยางอาย มีความรับผิดชอบทางการเมืองอย่างสูง ในยุคพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประกาศจะอยู่ 15 เดือน ทั้งที่ด้วยอำนาจ ประกาศว่าจะไปต่อก็ได้ ในปี 2549 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ก็อยู่ในเวลาจำกัด เพราะไม่อยากให้มีวิกฤติการเมือง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ท่านก็รู้จักพอ เขาได้ทำสปิริตให้ดู ขอถามต่อมจริยธรรมทางการเมือง ทุกภาคส่วนที่เคยสนับสนุนท่าน มูฟออนไปแล้ว ไม่เหลือพื้นที่ที่จะไว้วางใจ มิตรที่เคยคบหา ลดทอนความเชื่อมั่นประชาชนไปเรื่อยๆ ระบบการตรวจสอบ ทุกอย่างก็ยังเป็นปริศนา ทุกคนใช้มาตรฐานตรงไปตรงมา แต่ฝ่ายตัวเองเป็นข้อยกเว้น ตรงนี้ถือว่า อันตราย “ นายธีระชัย กล่าว
นายนิติธร กล่าวว่า วาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปี รัฐธรรมนูญมีความชัดเจน ไม่เห็นต้องเถียงกันเลย หากประสงค์ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 158 ควรให้เป็นไปตามนั้น เพราะจุดมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญมีมาตรา 264 อยู่ในบทเฉพาะกาล เช่นเดียวกับมาตรา 272 ที่ให้อำนาจ ส.ว.โหวตนายกฯ เมื่อท่านยอมรับมาตรา 272 แล้วแต่จะไม่ยอมรับมาตรา 264 ได้อย่างไร
“ส่วนที่อ้างรัฏฐาธิปัตย์ จากการยึดอำนาจมา แต่การที่ไปถวายรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 และได้รับการโปรดเกล้า ถือว่าอำนาจรัฏฐาธิปัตย์สิ้นสุดลงแล้ว ทุกอย่างเข้าสู่ระบบปกติ ความขัดแย้งตอนนี้ไม่เกี่ยวกับกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญ แต่เป็นความขัดแย้งที่เกี่ยวกับกิเลส และความโลภ ทั้งที่กฎหมายมีความชัดเจนอยู่แล้ว จะแถกันไปไหน ไม่เข้าใจว่ามีประเด็นอะไรต้องมาคุยกันเรื่องนี้ วันนี้พวกคุณไม่เอาหลักกฎหมายไม่เป็นอะไร แต่หากประชาชนไม่เอาหลักกฎหมายแล้ว พล.อ.ประยุทธ์จะรู้ว่า นรกมีจริง” นายนิติธร ระบุ
นายนิติธร กล่าวอีกว่า เมื่อมีการยื่นเรื่องเข้าไปที่ศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ศาลต้องไปคิดว่าจะทำอย่างไรให้เร็วที่สุด และควรให้ทันก่อนวันที่ 24 ส.ค. หรือหากไม่ทันก็ควรสั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ พล.อ.ประยุทธ์ หรือ พล.อ.ประยุทธ์จะขอพักการปฏิบัติหน้าที่ก่อน หรือจะลาออกแล้วเป็นนายกฯรักษาการ แต่หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พล.อ.ประยุทธ์ครบวาระ 8 ปีแล้ว ก็อาจจะไม่สามารถเป็นนายกฯรักษาการได้ อาจจะต้องใช้กลไกปลัดกระทรวงรักษาการแทน ดังนั้นฝ่ายการเมืองอาจจะต้องคิดแก้ปัญหาเรื่องนี้ก่อนวันที่ 23 ส.ค.
นายเจษฎ์ ระบุด้วยว่า แม้หลายคนจะใช้เรื่องอำนาจรัฎฐาธิปัตย์มาอธิบาย แต่จริงๆถือว่าความเป็นรัฎฐาธิปัตย์สิ้นสุดหลังมีการโปรดเกล้าเป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติแล้ว ดังนั้นหากอ้างความเป็นรัฎฐาธิปัตย์ช่วงเวลาหลังจากนั้นก็จะถือว่าเป็นกบฎ และการตีความอีกแบบคือเอาแค่มาตรา 158 แต่ไม่เอามาตรา 264 โดยอ้างว่าไม่เกี่ยวข้องอะไรเลยเป็นเพียงความต่อเนื่องในการบริหาร ซึ่งการใช้กฎหมายแบบนี้จะไม่สามารถนำมาซึ่งระบบนิติธรรมได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ในทัศนะของตนหากไม่นับวาระตั้งแต่ปี 2557 ก็จะเป็นเรื่องที่แปลก
นายเจษฎ์กล่าวว่า หากยุติปฏิบัติหน้าที่ นายกฯจะไปวิ่งเล่น เที่ยว หรือไลฟ์มาบอกว่าไม่ได้ทำงานแล้ว ก็ได้ แต่ในแง่ของครม.จะมีปัญหา2ลักษณะ แม้รัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อ แต่เมื่อรัฐมนตรีเชื่อมกับนายกรัฐมนตรี เมื่อนายกฯพ้นสภาพ รัฐมนตรีก็ต้องพ้นสภาพไปด้วย อาจจะเกิดปัญหา นำมาสู่ซึ่งคำถาม รัฐมนตรียังนั่งอยู่ในตำแหน่งได้หรือ
นายเจษฎ์ ระบุว่า ขณะที่นายกฯมารักษาการ ก็เป็นประเด็นอีกจะเลือกใคร และรักษาการไปถึงเมื่อไหร่ ในเมื่อมีกลไกล การได้มาซึ่งนายกฯ คนมีรายชื่ออยู่ จะยอมรักษาการยาวเลยหรือ โดยเฉพาะนายอนุทิน ถ้ามีการลงมติในสภาฯ เป็นนายกฯได้เลย แล้วจะรักษาการไปทำไม เรื่องนี้ สมมุติฝ่ายค้านยื่นประธานชวนในวันที่17ส.ค. ท่านคงไม่รอช้า คงจะส่งศาลรัฐธรรมนูญเลย เวลานี้ ตำบลกระสุนตกอยู่ทั้งที่พล.อ.ประยุทธ์ รัฐมนตรี และสภาฯด้วย โดยสภาฯหากไม่ทำอะไรเลย จะมีคนนำไปยื่นป.ป.ช. ทำให้พ้นตำแหน่งไปได้ เงื่อนงำนี้ ให้จบไปก่อนได้หรือไม่ เมื่อฝ่ายค้านยื่น ก็มีเวลาให้วินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญต้องใช้เวลาให้เป็นประโยชน์
“การชุมนุมไล่ประยุทธ์ ชุมนุมไปเลย แต่อย่าลุกลามไปเรื่องอื่น เพราะพลังจะถูกลดทอน เมื่อรู้ว่าเป้า 3เป้า ถ้าทำลายเป้ากลางได้ ค่อยไปคุยอีก 2เป้า ทำไมไปแยกพลัง ไปอีกสองส่วน เลยเหลือพลังเพียงหนึ่งส่วน ที่พูดไปอาจขัดใจใคร แต่มองว่า ไม่ต้องแก้รัฐธรรมนูญ ปฏิรูปสถาบัน ตอนนี้ให้ไล่ ประยุทธ์อย่างเดียว เชื่อว่าจะเกิดผลเหมือนยุคไล่พล.อ.สุจินดา” นายเจษฎ์ ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'อนุทิน' เช็กสัญญาณ ครม.อิ๊งค์ ปมศาลรธน.นัดถกรับ-ไม่รับคำร้อง คดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง
ที่ด่านพรมแดนบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายอนุชิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ที่ในวันพรุ่งนี้(22 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง
'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา
มองต่างมุม 'ดร.ณัฏฐ์' เชื่อศาลรธน.ตีตกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างฯ
สืบเนื่องจากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น เพื่อวินิจฉัยสั่งการให้ นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย เลิกการก
ดร.เสรี หวังศาลเป็นที่พึ่งปชช. ลุ้น 22 พ.ย. รับไม่รับคำร้อง ‘ทักษิณ-เพื่อไทย’ ล้มล้างฯ
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ถูกสงสัยว่าป่วยทิพย์ ณ ห้อง VVIP ชั้น 14 โรงพ
'ธนกร' ชี้หลัง 22 พ.ย.ประเทศก็ยังเดินหน้าต่อ!
'ธนกร' มองทุกคดีศาล รธน.ยึดตามหลักกฎหมาย เชื่อการเมืองหลัง 22 พ.ย.นี้ประเทศต้องเดินหน้าต่อ ขอทุกฝ่ายอย่าคาดเดาจนอาจก้าวล่วงอำนาจ ฝากรัฐบาลเร่งทำผลงาน