'ไพศาล' ชี้ 'ประยุทธ์' มี 4 ทางเลือกหลัง 23 ส.ค. แนะควรออกชู 'มาร์ค - เสี่ยหนู - บิ๊กป้อม' เสียบแทน

“ไพศาล-จตุพร-ทนายนกเขา” ยกเหตุผล ทำไม8 ปี “ประยุทธ์” ต้องไป ชี้ หากไม่นับเวลา “นายกฯ” ตั้งแต่ปี 57 เท่ากับ โยนทิ้ง “พระบรมราชโองการ” ข้องใจ “มีชัย” ไม่แจง ปม 8 ปี “ประยุทธ์”

14 ส.ค. 2565 – นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และนายนิติธร ล้ำเหลือ แกนนำกลุ่มประชาชนคนไทย (ปท.) หรือทนายนกเขา กล่าวในรายการ “Exclusive Talk” ตอน “8 ปี “ประยุทธ์ต้องไป ” ผ่านเพจเฟสบุ๊ค “ประชาชนคนไทย (ปท.)” โดยมี นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วย รองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ร่วมอภิปรายด้วย

นายไพศาล กล่าวว่า อยากบอกกับพี่น้องประชาชนว่าเรื่องที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้นมันหนักหนาสาหัส ร้ายแรงกว่าเมื่อครั้ง คุณทักษิณ ชินวัตร เข้าไปทำบุญในวัดพระแก้ว หนักหนาสาหัสกว่าเมื่อครั้ง ปฏิญาณไม่ครบตามรัฐธรรมนูญ เพราะการปฏิญาณว่าจะถวายสัตย์ ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ผลในกฎหมายและธรรมนูญ มีเพียงว่าคุณเข้ารับหน้าที่ไม่ได้เ พราะต้องถวายสัตย์ก่อนทำหน้าที่

นายไพศาล กล่าวว่า ใครก็ตามไม่ว่าจะเป็น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหรือนักวิชาการ ถ้าท่านจะหักด่าน 8 ปีในการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านจะต้องทำลายหรือต้องโยนทิ้ง ของสำคัญ 2 สิ่งนี้ก่อนคือ 1.ไม่ยอมรับนับถือพระบรมราชโองการ ที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายกรัฐมนตรี

นายไพศาล กล่าวว่า 2 . จะต้องไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 264 ต้องโยนทิ้ง 2 สิ่งนี้เสียก่อน มิฉะนั้นจะไม่สามารถฝ่8 ปีออกไปได้ พวกที่จะอ้างเหตุว่าอยู่ได้เกิน 8 ปีล้วนแล้วแต่ไม่พูดถึง 2 สิ่งนี้ทั้งสิ้น ขอให้ประชาชนมาจากสังเกตดู และสื่อมวลชนไปเอาคำพูดของคนเหล่านี้ มาเรียงกันดู ว่าพวกเขาจะโยนทิ้งสองสิ่งนี้หรือไม่

นายไพศาล กล่าวว่า อยากทำความเข้าใจกับประชาชน ในสิ่งที่เรียกว่า รัฏฐาธิปัตย์แปลว่าผู้มีอำนาจปกครองรัฐ อำนาจนี่หมายถึงพระมหากษัตริย์ ซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา และประเพณีการปกครองตลอดมา ยืนยันตรงกันว่าความเป็นนายกรัฐมนตรี จะสำเร็จหรือเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีพระบรมราชโองการ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้ใช้ อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย ประกอบด้วยอำนาจนิติบัญญัติ บริหารและอำนาจตุลาการ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่เป็นรัฏฐาธิปัตย์

นายไพศาล กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ ยึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พ.ค.57 เขาเป็นรัฏฐาที่ปัตย์ เพราะได้ยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์ ตามปกติพระมหากษัตริย์ทรงเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ทรงเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง 3 แทนปวงชนชาวไทย และพระราชทานอำนาจนั้น ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ใช้ในทางบริหารให้ใช้ในทางนิติบัญญัติ ให้ศาลใช้ในทางตุลาการ

“การไม่นับเวลา นายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 57 เท่ากับเป็นการโยนทิ้ง พระบรมราชโองการ ท่านกล้าและบังอาจอย่างนั้นหรือ จึงไม่นับรวมการแต่งตั้ง พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯในปี 57 โยนทิ้ง รธน. มาตรา 158 ที่ระบุเวลาไม่เกิน 8 ปี และมาตรา 264 บัญญัติตามตัวอักษรชัดเจนว่า ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดิน อยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ มีความชัดเจนอย่างจริง ใครจะเหยียบย่ำ ใช้คำพูด มีพฤติกรรมแบบศรีธนญชัย จึงต้องโยนทิ้งทั้ง 2 เรื่องนี้ทั้งสิ้น เพื่อเข้าอุ้มประยุทธ์ และที่อ้างจงรักษ์ภักดี”

นายไพศาล กล่าวว่า ตนรู้สึกสงสัยและขอให้ประชาชนจับตา แล้วในบทราชปรารภ รธน. 2560 ที่ระบุถึงวิกฤตเกิดจากการฉ้อฉล บิดเบือนอำนาจ ทุจริต ดังนั้นการไม่ทำตาม รธน.จะไม่อายเด็กมันบ้างหรือ จึงบังอาจเอา รธน. มาล้อเล่น ทั้งนี้ตนไม่อยากให้กล่าวอ้างกันว่า ไม่รู้กฎหมาย เพราะขณะนี้ยังไม่เห็นมีใครกระตือรืนร้นเตรียมการทำหน้าที่ตามรัฐธนรรนูญ

นายไพศาล กล่าวว่า เมื่อนายกรัฐมนตรีอยู่ครบ 8 ปีแล้ว นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ต้องวางมาตรการเรียกประชุม เพื่อสรรหานายกรัฐมนตรีใหม่ รวมทั้งปลัดกระทรวงต่างๆ ต้องเตรียมทำหน้าที่ ในสถานการณ์พิเศษเช่นนี้ ดังนั้น จึงไม่ควรมาอ้างว่า ไม่รู้กฎหมายไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดเจน

นายไพศาล กล่าวถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญว่า อย่าไปถามคนร่าง เพราะคนร่างรัฐธรรมนูญ จะเกิดการพลิกลิ้นได้ แต่ให้พิจารณาที่ตัวอักษร ซึ่งสะท้อนเจตนารมณ์ได้ชัดเจน นอกจากนี้ ในการประชุมของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ มี 2 แบบ คือ ทางการมีลงมติ กับเป็นไปตามประเพณีปฏิบัติ ถ้าไม่มีการคัดค้านก็ถือเป็นมติตามนั้น และสิ่งสำคัญนายกรัฐมนตรี ต้องเริ่มนับตั้งแต่การมี พระบรมราชโองการแต่งตั้ง ถ้าไม่ยึดเวลาเป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 57 เท่ากับเป็นโยนทิ้ง พระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 57 จึงเป็นการเหยียบย่ำใน 2 สิ่งสำคัญตามที่กล่าวมา

นายไพศาล กล่าวว่า ทางเลือกของพล.อ.ประยุทธ์ กรณีระยะเวลานายกรัฐมนตรีใกล้ครบ 8 ปีมี 4 ทางออก คือ 1. โยนให้ศาลวินิจฉัย 2.ยุบสภา จะอยู่ได้นานประมาณเกือบ 2 ปี 3.ยึดอำนาจตัวเอง ซึ่งจะทำได้หรือไม่ และ 4. บอกพอแล้ว ดังนั้น ต้องคอยดูกันไป จะเลือกเอาทางเลือกไหน แต่ถ้าให้ตนเสนอ ขอให้พล.อ.ประยุทธ์ เลือกลาออก ยอมลงจากอำนาจ ตามแบบอย่างของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกประชาชนตำหนิ กรณีราคาน้ำมัน และพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อดีตประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ซึ่งเป็นคนดี ซึ่งเคยถูกยึดอำนาจถึง 3 ครั้ง สมัยเป็นนายกรัฐมนตรีแต่ไม่สำเร็จ ท่านยังประกาศพอแล้ว ไม่ยอมเป็นนายกรัฐมนตรีต่ออีก ที่สำคัญสถานการณ์ช่วงนั้น แตกต่างจากสมัยนี้

นายไพศาล กล่าวว่า ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ พ้นตำแหน่งไปแล้ว ในสถานกาณ์เช่นนี้ อำนาจน่าจะอยู่ใน พรรคร่วมรัฐบาลเดิมไปก่อน เพราะถือเป็นสถานการณ์วิกฤต จึงต้องเลือกนายกฯ ที่เป็นบัญชีพรรคคนเดิม ที่เป็นแคนดิเดตหรือเลือกคนนอก อย่าง พล.อ.ประวิตร วงษสุวรรณ รองนายกฯ ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรี ของรัฐบาลชั่วคราว

นายไพศาล กล่าวว่า คนเหมาะก็มีอนุทิน ชาญวีระกูล , นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะแคนนิเดตและเป็นพรรคร่วมรัฐบาล หรือพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ผู้ใหญ่ประสานได้ทุกพรรค จะทำให้ประยุทธ์ไปอย่างสบายใจที่สุด ไม่ต้องกลัวถูกเช็คบิลที่หลัง
อย่างไรก็ตาม การนำหลักการของกฎหมายอาญา มาโยงเข้ากับกฎหมายมหาชน คือ กรณีกฎหมายไม่ให้บังคับใช้ย้อนหลัง จึงเป็นความอธิบายที่คลาดเคลื่อน ไม่ตรงกับความเป็นจริงกับกฎหมายมหาชน แล้วจะไม่นำพระบรมราชโองการแต่งตั้งประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 57 มารวมกันด้วยหรือไม่ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

ด้านนายจตุพร กล่าวว่า ยังไม่เห็นนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานกรรมการร่าง รธน. 2560 พูดอะไร เกี่ยวกับเรื่องเวลาของนายกรัฐมนตรี 8 ปี หากแสดงความเห็นคงจะเป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากการไม่ปฎิบัติตามรัฐธรรมนูญ ของพล.อ.ประยุทธ์ มีผลกระทบ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองได้ ดังนั้น หลังเที่ยงคืน 23 ส.ค. นี้ จะได้เห็นปรากฎการณ์ ประชาชนออกมา นั่นคือเรื่องจริง

ประธาน นปช. กล่าวว่า การไม่ปฏิบัติตามของพล.อ.ประยุทธ์ ในรอบนี้จะเป็นชนวนของการเปลี่ยนแปลงทั้งปวง ความจริงและพลเอกประยุทธ์ ไม่ต้องวิตกหน้าที่อะไรแล้ว หน้าที่ของตัวเองก็ทำตามเวลาที่มีอยู่เท่านั้น ตนเชื่อว่าหลังเที่ยงคืนวันที่ 23 ส.ค.พล.อ.ประยุทธ์ จะพบสัจธรรมแห่งชีวิตที่เป็นของจริง

“พล.อ.ประยุทธ์เข้ามาในวันที่ ประชาชนยากลำบาก และบริหารประชาชนให้จน จนกระทั่งไม่มีแรง ให้คนไทยมีความชิน กับการที่ไม่ต้องรักษาคำมั่นสัญญา ให้ตระบัดสัตย์เป็นเรื่องปกติ ที่สำคัญที่สุดก็คือประชาชน ก็ไม่เอาจริง พรรคการเมืองก็ไม่เอาจริง

นายนิติธร กล่าวว่า การเริ่มต้นของความเป็นนายกรัฐมนตรี คนละส่วนกับการเริ่มต้นของรัฐธรรมนูญปี 60 บรรดาผู้มีปัญญาทั้งหลาย ที่จะเข้าข้างกับเลือกข้าง ขอให้คิดด้วย เพราะคุณเป็นชนชั้นที่เรียกว่านิติศาสตร คือคนที่เรียนศาสตร์ของ กฎระเบียบกฎหมาย และหลักในการปกครองบ้านเมือง ส่วนหลักหลักรัฐศาสตร์ คือรูปแบบความเป็นรัฐ สงบสุขและของรัฐความมั่นคงของรัฐ

แกนนำกลุ่มประชาชนคนไทย กล่าวว่า ดังนั้นถ้ามาตรา 158 อย่างเดียวก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่วันนี้รัฐธรรมนูญเอา 264 ดังนั้นจะมาเถียงจะมาตีความกันทำไม จากการจะทำอะไรกับ 2 มาตรานี้ในขณะนี้ ต้องไปคิดว่าบทบัญญัติ และธรรมนูญมาตรา 3 บอกว่าจะต้องบริหาร จะต้องทำหน้าที่โดยยึดถือผลประโยชน์ของชาติ และความผาสุกของประชาชน รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ได้จะมาพิจารณาเฉพาะจุดมุ่งหมาย หรือเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่ต้องดูเจตนารมย์ของประชาชน เพราะในรัฐธรรมนูญเขียนไว้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย

“เพราะฉะนั้นจะไปเถียง ไปสร้างประเด็นกันทำไม ปัญหาในขณะนี้ไม่มี แต่ปัญหาเริ่มจากตัวนายกฯ ต้องการยอมรับกฎหมายหรือไม่ เมื่อนายกฯแสดงปฏิกิริยา ในเชิงที่ไม่ยอมรับกฎหมาย แล้วก็เหวี่ยงไปให้ศาลรัฐธรรมนูญ ก็เกิดปัญหาขึ้นมาทันทีจึงทำให้บรรดาไอโอข่าวที่เชียร์ประยุทธ์ หรือสื่อบางช่อง ซึ่งอาจจะรับเงินจ่ายเงินหรือเปล่าผมไม่รู้ แต่เชียร์ประยุทธ์ จนไม่เอาหลักของบ้านเมือง ตอนนี้กำลังจะเกิดบังคับกระบวนการตีความกฎหมายเฉพาะตัวเอง” นายนิติธร กล่าว

นายนิติธร กล่าวว่า อยากจะฝากบอกพี่น้องประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะเคยมีความเชื่อทางการเมืองอย่างไร พันธมิตรหรือคนเสื้อแด งกกปส. และที่รวมกับตน คือ คปท. ถามว่ากรณีของนายทักษิณไปนั่งตรงพรมแดงอย่างเดียว ภาพนั้นเผยแพร่ทั่วประเทศ  แล้ววันที่ถ้าภาพออกเหมือนกัน คือการถวายสัตย์ปฏิญาณไม่ครบ วันนั้นพี่น้องทหาร ที่ร่วมกันอุ้มชู ถึงวันนี้จะรับผิดชอบอย่างไรกับเรื่องนี้ รวมถึงประชาชนที่ออกมาเคลื่อนไหว ในเรื่องของความมั่นคง ของสถาบันพระมหากษัตริย์

แกนนำกลุ่มประชาชนคนไทย กล่าวว่า ตนคิดว่าครั้งนี้จะเป็นโอกาส ในวิกฤตแต่ในวิกฤตนั้น จะมีโอกาสที่สำคัญ ในการเปลี่ยนแปลงประเทศครั้งสำคัญ ถ้าศาลจะตัดสิน ก็ต้องตัดสินให้เสร็จสิ้น ก่อนวันที่ 23 ส.ค.อย่าให้เลยเวลา และไม่ควรที่จะมีการสั่งพัก แต่ถ้าศาลจะพิจารณาเลยวันที่ 23 ส.ค.ก็ต้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ทำหน้าที่ไม่ได้ต้องสั่งพัก

นายนิติธร กล่าวว่า การไม่ไว้วางใจในสภาเป็นเรื่องเล็ก แต่ถ้าเกิดการไม่ไว้วางใจ ของประชาชนเป็นการไม่ไว้วางใจ ในทางสาธารณะจะเป็นเรื่องใหญ่มาก

“ผมอ่านพฤติกรรมภาษากายพล.อ.ประยุทธ์ และสภาพบรรยากาศแวดล้อม บ่งชี้ที่จะอยู่ต่อ แล้วจะสร้างบรรยากาศของผิดให้เป็นถูก ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ เรื่องบ้านเมืองต้องไม่ผิดทั้งกฎหมาย และไม่ผิดทางวินัย บ้านเมืองถึงจะสงบ ผู้ที่เป็นกองเชียร์พล.อ.ประยุทธ์ต้องคิดว่า บรรยากาศในขณะนี้เสมือนหนึ่ง ท่านไม่เอาแล้วพระบรมราชโองการ ไม่เอาแล้วหลักกฏหมาย และหลักธรรม หรือหลักศาสนา เพราะฉะนั้นอย่าเอาแต่ประโยชน์ ศาลรัฐธรรมนูญก็เช่นเดียวกัน ตอนนี้มีข้อท้วงติง ที่ไม่สบายใจเรื่องนี้ อยากให้ทุกฝ่ายพึงระวัง” นายนิติธร กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ไพศาล' ปูดข่าวกึกก้องนักการเมืองโกง-ขรก.ชั่ว ที่ถูกฟ้องร้อง กำลังวิ่งเต้นขอให้ศาลอย่ารับฟ้อง!

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์เฟซบุ๊กว่าผู้พิพากษาตุลาการและศาลทั้งหลาย จะต้องเป็นหลักชัยให้แก่ประเทศชาติและประชาชน ในการธำรงรักษาไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของศาล และการ

'ลุงป้อม' ร่วมลอยกระทง อวยพรคนไทย สุขสมหวัง สิ่งใดไม่ดีขอให้หลุดพ้น

พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ร่วมกับ นายสันติ พร้อมพัฒน์ พล.อ. กฤษณ์โยธิน ศศิพัฒนวงษ์ พล.ต.ท ปิยะ

'ภูมิใจไทย' นัดหลังปีใหม่ ดินเนอร์พรรคร่วมรัฐบาล

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงการเป็นเจ้าภาพงานเลี้ยงพรรคร่วมรัฐบาลครั้งต่อไป ว่า

'อนุทิน' ไม่หวั่น 'ทักษิณ' โวกวาด 200 เสียง ยัน 'รมต.-สส.' ภท. ขยันทำงาน

'อนุทิน' ชี้ 'ทักษิณ' โวเลือกตั้งครั้งหน้ากวาด 200 เสียง มีสิทธิตั้งเป้า ยัน ภท. ไม่เงียบ 'รมต.-สส.' ลงพื้นที่ทำงานขึ้นเหลือล่องใต้ ปัดส่งผู้สมัครชิง นายก อบจ. ในนามพรรค

'บิ๊กป้อม' สั่งลูกพรรคให้ทำทุกวิถีทางเพื่อยกเลิก MOU 44

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เดินทางกลับจากพรรคพลังประชารัฐ ภายหลังร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารและ ส.ส.พรรคประจำสัปดาห์