กสม.เล่นบทอินเตอร์ขีดเส้น 60 วันให้สำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรีศึกษาอาเซียนแก้เรื่องละเมิดสิทธิฯ

กสม.ชี้สำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเลิกการแต่งตั้งคนพิการให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งความพิการ จี้เยียวยาใน 60 วัน

11 ส.ค.2565 - นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แถลงว่า กสม.ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้องรายหนึ่งเมื่อเดือนมกราคม 2565 อันเกี่ยวเนื่องกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ กรณีสำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเลิกการแต่งตั้งคนพิการให้ดำรงตำแหน่งในองค์กร ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงศึกษาธิการที่ได้รับทุนรัฐบาลสำหรับคนพิการทางการเคลื่อนไหวจนสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกจากสหรัฐอเมริกา ได้สมัครเข้ารับการคัดเลือกทำงานกับสำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ผู้ถูกร้อง) ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของประเทศอินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เป็นสมาชิก และผู้ร้องได้ผ่านการคัดเลือกและได้รับการตอบรับเข้าทำงานแล้ว โดยองค์กรผู้ถูกร้องได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของประเทศไทย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 แจ้งให้พิจารณาอนุมัติให้ผู้ร้องเข้ารับตำแหน่ง แต่ต่อมาภายหลังผู้บริหารองค์กรดังกล่าวได้นัดหมายให้ผู้ร้องเข้าพบเพื่อยืนยันความพร้อมในการปฏิบัติงานและเมื่อเห็นสภาพร่างกายของผู้ร้อง ก็ได้แจ้งยกเลิกการจ้างงานในตำแหน่งที่ผู้ร้องผ่านการคัดเลือก

กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีตามคำร้องเกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งความพิการของบุคคล ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 27 และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการที่ประเทศไทยเป็นภาคีและมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม บัญญัติห้ามมิให้กระทำการเช่นว่านั้นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่ยอมรับได้ จากการตรวจสอบ ปรากฏข้อเท็จจริงว่า เหตุที่ผู้ถูกร้องไม่แต่งตั้งผู้ร้องให้ดำรงตำแหน่งในองค์กรเนื่องจากพบว่าผู้ร้องมีข้อจำกัดทางการเคลื่อนไหว โดยผู้ถูกร้องอ้างว่าผู้ร้องขาดคุณสมบัติทางกายภาพตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติของตำแหน่งงาน ทั้งที่ไม่ได้ระบุคุณสมบัติไว้อย่างชัดแจ้งตั้งแต่ขั้นตอนการรับสมัครว่าไม่ประสงค์ให้ผู้พิการเข้ารับการคัดเลือก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ถูกร้องใช้เหตุแห่งความพิการของผู้ร้องในการไม่แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง

อย่างไรก็ดี แม้ผู้ถูกร้องจะแจ้งเหตุผลว่าตำแหน่งดังกล่าวมีความจำเป็นที่จะต้องประสานกับภาคีเครือข่าย และต้องเดินทางทั้งภายในและต่างประเทศอยู่ตลอดเวลา จึงตัดสินใจไม่แต่งตั้งให้ผู้ร้องดำรงตำแหน่งที่คัดเลือกไว้ พร้อมกับได้เสนองานในตำแหน่งอื่นเป็นการทดแทน แต่ กสม. เห็นว่า ผู้ถูกร้องย่อมสามารถใช้วิธีการอื่นในการพิจารณาความเหมาะสมกับตำแหน่งงานของผู้ร้องก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและสภาพการจ้างงานผู้ร้อง เช่น การให้ทดลองปฏิบัติงานภายในระยะเวลาที่กำหนดและประเมินผล เพื่อทดสอบความรู้ความสามารถตลอดจนทักษะในการทำงานตำแหน่งนั้น ๆ แต่เมื่อผู้ถูกร้องไม่ได้กระทำการดังกล่าว และกลับใช้ดุลยพินิจตัดสินจากสภาพทางกายของผู้ร้องว่าไม่อาจปฏิบัติงานในตำแหน่งที่คัดเลือกเข้ามาได้ จนนำไปสู่การถอนข้อเสนองานในเวลาต่อมา การกระทำของผู้ถูกร้องเช่นนี้ จึงเป็นการตอกย้ำในเหตุแห่งความไม่เท่าเทียม ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมด้วยเหตุแห่งความพิการของบุคคลและไม่มีเหตุผลอันสมควร ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นนี้ กสม. ในคราวประชุมด้านการคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 8 ส.ค.2565 จึงเห็นควรเสนอแนะมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อสำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ผู้ถูกร้อง) กระทรวงศึกษาธิการ และสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สรุปได้ ดังนี้

1.ให้สำนักงานเลขาธิการรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกระทรวงศึกษาธิการ กำหนดมาตรการในการเยียวยาความเสียหายให้แก่ผู้ร้องตามสมควร โดยอย่างน้อยจะต้องมีการขอโทษผู้ร้องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สอบสวนหรือตรวจสอบข้อเท็จจริงภายใต้กฎระเบียบของผู้ถูกร้อง รวมถึงการชดเชยเป็นค่าเสียหายจากการที่ผู้ร้องไม่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ผ่านการคัดเลือก

2.ให้สภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายของผู้ถูกร้อง นำรายงานผลการตรวจสอบฉบับนี้ไปใช้กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันมิให้เกิดการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่นนี้อีก

3.ให้กระทรวงศึกษาธิการแจ้งองค์กรทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ เพื่อให้จัดทำข้อมูลรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครในกรณีจะต้องมีการประชาสัมพันธ์การรับสมัครบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรนั้น ๆ โดยจะต้องมิให้กำหนดเนื้อหาที่มีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลตามที่รัฐธรรมนูญให้การรับรองและคุ้มครองไว้ เพื่อมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังเช่นกรณีตามคำร้องนี้อีก

ทั้งนี้ ให้ดำเนินการภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับรายงานผลการตรวจสอบกรณีนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไทยเจ้าภาพฮอกกี้น้ำแข็ง คนพิการชิงแชมป์โลก ได้ลุ้นตั๋ว'พาราลิมปิกเกมส์'

นายกฤษฎา ตันเทิดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในงานแถลงข่าว การแข่งขันฮอกกี้น้ำแข็งคนพิการชิงแชมป์โลก รายการ แบงค็อก เวิลด์ พารา ไอซ์ ฮอกกี้ แชมเปี้ยนชิพ 2024 ซี-พูล (กลุ่มซี) "2024 BANGKOK WORLD PARA ICE HOCKEY CHAMPIONSHIPS C-POOL"

'สนธิญา' ยื่น 'กสม.' สอบ 'ทักษิณ' ละเมิดสิทธิ์ หานักร้องเป็นหมา

ที่สำนักงาน​คณะกรรมการ​สิทธิมนุษยชน​แห่ง​ชาติ​ (กสม.)​ นายสนธิญา สวัสดี เดินทางยื่นหนังสือ พร้อมหลักฐานภาพข่าวการหาเสียงนายก องค์การ

กสม. ชื่นชมรัฐบาล เร่งรัดกระบวนการกำหนดสถานะบุคคลแก่ผู้ที่ยังมีปัญหาไร้รัฐไร้สัญชาติ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงว่า ตามที่รัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ไว้ในการประชุมระดับสูงว่าด้วยความไร้รัฐ (High-Level Segment on Statelessness) เ

จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!

อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม

'กกร.เชียงใหม่' จ่อชง 'ครม.สัญจร' เยียวยาผู้ประกอบการน้ำท่วม

นายอาคม สุวรรณกันทา ประธานสมาพันธ์ SMEs ไทย จังหวัดเชียงใหม่ และรองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า มาหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นกับเชียงใหม่ปีนี้

"พิพัฒน์” ห่วงใย เหตุการณ์ลูกจ้างถูกปั้นจั่นเฉี่ยวเสียชีวิตที่สมุทรปราการ มอบประกันสังคมเยียวยาทายาท 9.5 แสนบาท

​เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุลูกจ้างถูกปั้นจั่นเฉี่ยวชนเสียชีวิตในพื้นที่จัดเก็บสินค้าของการบินไทย บริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และนายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์