99 ชื่อลงชื่อเรียกร้องนายกฯ ลาออกก่อนครบ 8 ปี 23 ส.ค.

31 ก.ค.2565 – ที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา นายเมธา มาสขาว เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และคณะผู้ร่วมลงชื่อ 99 คน ร่วมกันแถลงเรียกร้องให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากครบกำหนด 8 ปี ตามรัฐธรรมนูญ 60 และขาดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ โดยมีรายละเอียดแถลงการณ์ 99 พลเมือง ระบุว่า เรียกร้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเนื่องจากครบกำหนด 8 ปี เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 158 ระบุว่า “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังพ้นจากตำแหน่ง”

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับพระราชโองการโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มาตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2557 ซึ่งจะครบกำหนด 8 ปีตามเงื่อนไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยในวันที่ 24 สิงหาคม 2565 นี้ ดังนั้น เพื่อไม่ให้ละเมิดต่อหลักการ ขัดต่อรัฐธรรมนูญและเกิดความขัดแย้งในสังคมไทย กลุ่มปัญญาชนและพลเมืองไทย จำนวน 99 คน ตามรายชื่อข้างท้ายนี้ มุ่งหวังให้การเมืองไทยมีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้น จึงขอเรียกร้องให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เสียสละลาออกจากตำแหน่งก่อนวันที่ 24 สิงหาคม 2565 นี้ เนื่องจากนายกรัฐมนตรีจะดํารงตำแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ก็ตาม

 ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ได้รับรองให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้อย่างชัดเจน หากนายกรัฐมนตรียังต้องการต่ออายุออกไปอีกโดยการตีความรัฐธรรมนูญบิดเบือนเข้าข้างตนเอง จะทำให้ท่านมีมลทินมัวหมองไปตลอดชีวิตและขัดกับคุณธรรมจริยธรรมของนักการเมืองอย่างร้ายแรง ซึ่งจะทำให้รัฐบาลขาดความชอบธรรมและธรรมาภิบาลในการบริหารประเทศ จนเกิดความขัดแย้งและความวุ่นวายทางการเมืองจากความแตกแยกสามัคคีที่เกิดขึ้นในหมู่ทหาร ข้าราชการ และประชาชน ซึ่งได้ทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ


1. ดร.กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์  อาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐ
2. กมล กมลตระกูล  นักวิชาการอิสระ
3. พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี  บุคลากรทางการแพทย์
4. การุณ ใสงาม  อดีตสมาชิกวุฒิสภา
5. จอมพล รุ่งเรืองชูเลิศ  ประธานคณะกรรมการปราบปรามโกงชาติ
6. พล.ต.เจริญ เตชะวณิช  อดีตข้าราชการทหาร
7. จุมพล อภิสุข  ศิลปินศิลปะสื่อแสดงสด (Performance Art)
8. จำนงค์ จิตรนิรัตน์  นักพัฒนาเอกชนอาวุโส
9. จำนงค์ หนูพันธ์  แกนนำชุมชนเมือง ประธานขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P-Move)
10. ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ  กรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
11. ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ  อาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐ
12. ชุมพล ศรีรวมทรัพย์  นักวิชาการอิสระ
13. ชัยนาม สุกใส  บุตรชายนายไขแสง สุกใส อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
14. ชัยวัฒน์ ตรีวิทยา  นักพัฒนาเอกชน
15. ณัฐวุฒิ อุปปะ  ประธานสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการไทยพีบีเอส
16. สมณะดาวดิน ปฐวัตโต  อดีตสมณะชาวสันติอโศก
17. พ.อ.ถัด ดวงจิตต์  ข้าราชการบำนาญ
18. นาดา ไชยจิตต์ นักสิทธิมนุษยชนเพื่อกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTIQN+)
19. นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ  อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
20. ดร.นิโรธ ศรีมันตะ  อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ
21. นิมิตร์ เทียนอุดม  ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์
22. เนรมิต จิตรรักษา  อดีตคณบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ
23. บรรณ แก้วฉ่ำ  นักวิชาการด้านกฎหมายและการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.)
24. บุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์  ประธานคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.)
25. บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์  นักวิชาการสถาบันส่งเสริมภาคประชาสังคม
26. บำเหน็จ ทิพย์อักษร อดีตรองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูฯ
27. บำเรอ ภานุวงศ์  อดีตรองเลขาธิการคุรุสภา
28. บัณรส บัวคลี่  คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์
29. บัณฑิต แป้นวิเศษ  นักพัฒนาเอกชน มูลนิธิเพื่อนหญิง
30. ประชา หุตานุวัตร  บรรณาธิการ นักคิด นักเขียน อดีตยุวชนสยาม
31. ประพจน์ ศรีเทศ  นักวิชาการอิสระ องค์กรกลางเพื่อประชาธิปไตย
32. รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง  อาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐ
33. ประยงค์ ดอกลำใย  ประธานคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
34. ประยงค์ มูลสาร (ยงค์ ยโสธร)  นักเขียน ศิลปินมรดกอีสานและอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
35. ผศ.ประสาท มีแต้ม  นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน
36. ประเสริฐ เลิศยะโส  อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
37. ดร.ปราโมทย์ นาครทรรพ  อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอดีตเลขาธิการพรรคพลังใหม่
38. ปรีดา เตียสุวรรณ์  นักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
39. ปรีดา นาคผิว  ทนายความภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
40. พงศ์เทพ เทพกาญจนา  อดีตรองนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
41. พรพิมล คัญทัพ  นักเขียน
42. พรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ  อาจารย์พิเศษและสถาปนิก
43. พลภาขุน เศรษฐญาบดี  ผู้ประสานงานคณะราษฎรไทยแห่งชาติ
44. พะเยาว์ อัคฮาด  ประชาชนผู้ตกเป็นเหยื่อและผู้เสียหายในเหตุการณ์พฤษภาคม 2553
45. รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต อดีตคณบดีมหาวิทยาลัยของรัฐ
46. พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส  อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
47. มงคล  เปลี่ยนบางช้าง  ศิลปินอิสระ
48. มานะ ศรีวะรมย์  สถาบันจิตร ภูมิศักดิ์ และเครือข่ายประชาชน
49. ศ.มาลี พฤกษ์พงศาวลี  อาจารย์กฎหมายมหาวิทยาลัยของรัฐ
50. เมธา มาสขาว  นักวิชาการอิสระด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และนักพัฒนาเอกชน
51. เยี่ยมยอด ศรีมันตะ อดีตข้าราชการครู ที่ปรึกษาสหภาพครูแห่งชาติ
52. รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี  (อมร อมรรัตนานนท์) อดีตเลขาธิการเครือข่ายเดือนตุลา และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรี
53. รัฐพงษ์ มิตรรัก  เลขาธิการคณะผู้แทนพนักงานโรงงานมักกะสัน
54. รัตน์ภิโพธิ ทวีกันย์ (วิทย์ มหาชน)  ศิลปิน นักแต่งเพลง
55. รัษฎา มนูรัษฎา  กรรมการสิทธิมนุษยชน สภาทนายความ
56. ลัดดา รักษ์ประชาไท  บุคลากรด้านการศึกษาทางเลือก
57. ดร.ลัดดาวัลย์ ตันติวิทยาพิทักษ์  อดีตเลขาธิการคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
58. วรรณพร ฉิมบรรจง  ศิลปิน/นักแสดง มิสทีนไทยแลนด์ประจำปี 2539
59. วรภัทร วีรพัฒนคุปต์  กลุ่มนอน-ไบนารี่ (Non-binary)
60. รศ.ดร.วริตตา ศรีรัตนา  อาจารย์มหาวิทยาลัยของรัฐ
61. วสันต์ สิทธิเขตต์  เครือข่ายศิลปินเพื่อประชาธิปไตย
62. รศ.วิทยากร เชียงกูล  อดีตคณบดีมหาวิทยาลัยเอกชน
63. ผศ.วีรบูรณ์ วิสารทสกุล  รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ป๋วย อึ๊งภากรณ์
64. วีระ สมความคิด  ประธานเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น
65. วีระศักดิ์ จันทร์ส่องแสง  บรรณาธิการ, นักเขียนสารคดี
66. ผศ.วันวิชิต บุญโปร่ง  อาจารย์มหาวิทยาลัยเอกชน
67. ศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา  นักวิชาการอิสระด้านแรงงาน
68. ดร.ศักดิ์ณรงค์ มงคล  เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการกระจายอำนาจ
69. สมชาย หอมลออ  ประธานมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา
70. รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร  อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
71. ดร.สมนึก จงมีวศิน นักวิชาการอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
72. สมบูรณ์ กำแหง  ขบวนต่อต้านร่างกฎหมายควบคุมการรวมกลุ่มของประชาชน
73. สมบูรณ์ ทองบุราณ  อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
74. สมบูรณ์ แดงอร่าม  รองประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ
75. สมพงษ์ สระกวี  อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฎิรูปประเทศและสมาชิกวุฒิสภา
76. สมยศ โต๊ะหลัง  ผู้ประสานงานเครือข่ายประมงพื้นบ้าน
77. สมศรี หาญอนันทสุข  สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
78. พ.จ.อ.ดร.สมศักดิ์ อ่อนศรี  ประธานสมาพันธ์สถานบันเทิง
79. สราวุธ นิยมทรัพย์  อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
80. สาวิทย์ แก้วหวาน  ผู้นำกรรมกร อดีตเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
81. สุนทรี หัตถี เซ่งกิ่ง  นักพัฒนาเอกชน
82. สุนี ไชยรส  อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติและกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
83. สุเทพ ถวัลย์วิวัฒนกุล  ศิลปินเพื่อชีวิตวงโฮป
84. สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง  มูลนิธิสถาบันสร้างอนาคตไทย อดีตเลขานุการผู้ว่าฯ กทม.(2532-2538)
85. ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข  นักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
86. สุรพล ภิญโญ  วิศวกร
87. สุริยา บุญโชติ  นักธุรกิจท้องถิ่น
88. รศ.สุรัสวดี หุ่นพยนต์  กรรมการมูลนิธิ 14 ตุลา และอดีตผู้อำนวยการสำนักบัณฑิตอาสาสมัคร
89. สุลักษณ์ ศิวรักษ์  ปัญญาชนสยาม
90. สุวิช ศุมานนท์  ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ
91. โสภณ เพชรสว่าง  อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
92. สันติชัย ชายเกตุ ผู้ประสานงานกลุ่มรักษ์สิ่งแวดล้อม
93. อดิศร เกิดมงคล  นักกิจกรรมทางสังคม
94. รศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ  กรรมการวิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์
95. อานันท์ หาญพาณิชย์พันธ์  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเอกชน
96. อารักษ์ อาภากาศ  ศิลปินเพื่อชีวิต
97. อินทร์ แย้มบริบูรณ์  ประธานประชาคมคัดค้านการเช่าที่ดินรถไฟมักกะสัน
98. เอกชัย อิสระทะ  เลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.)
99. รศ.ดร.โอฬาร ถิ่นบางเตียว อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยของรัฐ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘แพทองธาร’ ยันพรรคร่วมไร้ปัญหา หลังภาพ 'ทักษิณ-อนุทิน' ออกรอบตีกอล์ฟด้วยกัน

ความจริงแล้วตนและนายอนุทิน ก็คุยกันอยู่แล้ว ถึงจะมีปัญหาอะไรก็คุยกันเคลียร์กันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพรรคภูมิใจไทยหรือพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆถึงเวลาถ้ามีอะไรก็คุย

อย่างหล่อ! ‘อนุทิน’ ปัดตีกอล์ฟเคลียร์ขัดแย้ง ‘ทักษิณ’ ยันการกระทำสำคัญกว่าคำพูด

‘อนุทิน’  ปัดตีกอล์ฟ ‘ทักษิณ’ เคลียร์ปมขัดแย้ง ยัน ‘การกระทำสำคัญ กว่าคำพูด’  ย้ำอีแอบ ไม่ได้หมายถึงตัวเอง - ภูมิใจไทยชัดเจน เพราะข้อเท็จจริงเข้าประชุมครม. 

‘กนก’ สะท้อน ปัญหาความยุติธรรมโดยกฎหมาย บังคับใช้ กม.มากกว่าตัวบทของ กม.

ประเด็นที่เกิดคำถามต่อไป คือกฏหมายมุ่งเน้นบังคับไม่ให้คนกระทำผิด มากกว่าการทำให้คนกระทำผิดเป็นคนดี ใช่หรือไม่

การเมืองมกรา’68 พรรคร่วมร้อนรุ่มแตกหัก ‘ทักษิณ’ หนาวสะท้านชั้น 14

ทักษิณขยี้หนัก โชว์ภาพตีกอล์ฟขนาบข้างทุนผูกขาด ส่อสื่อสัญญาณรุก “พีระพันธุ์-รวมไทยสร้างชาติ” คาดชะตากรรมไม่แตกต่าง “ประวิตร-พปชร.” ประเมินปี 68 ปมชั้น 14 ทำการเมืองร้อนแรง

สัญญาณชัด! ‘เทพไท’ ฟันฉับความขัดแย้งในรัฐบาล เกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็วแน่นอน

เป็นเรื่องปกติที่พรรคการเมือง ซึ่งมีจุดยืนและอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน แต่กระโดดข้ามขั้วจัดตั้งรัฐบาลด้วยกัน

นักเขียนค่ายผู้จัดการ มองทางเลือก ‘ทักษิณ’ ยุบสภาล้างไพ่ใหม่ เหตุมั่นใจกระแส ’อิ๊งค์-ตัวเอง’

ทักษิณโชว์ร่วมก๊วนกอล์ฟอนุทิน โดยมีเจ้าสัวพลังงานร่วมด้วย โดยสื่อบอกว่าสยบรอยร้าว2พรรค ซึ่งจริงๆแม้ 2 พรรคจะขบเหลี่ยมทิ่มแทงกันบ้าง ก็ไม่ใช่เป้าหมายที่ทักษิณขู่ฟอด