22 ก.ค.2565 - นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์ณัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่สื่อมวลชนได้เผยแพร่ข้อมูลจากกรณีไลน์หลุดออกมา ซึ่งมีเนื้อหาและภาพที่ระบุให้เห็นว่า มีรายชื่อ ส.ส.พรรคเล็ก เซ็นชื่อรับเงินเดือนประจำเดือนมีนาคม 2563 หลายคน และมีภาพหลักฐานสลิปการโอนเงินไปยังบุคคลปลายทาง ซึ่งเป็นชื่อของหัวหน้าพรรคการเมืองเล็กๆ รวมทั้งหัวหน้ากลุ่มการเมืองที่ตกเป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ว่า เป็นเงินรายเดือนจำนวนมากที่มีการจ่ายกันเป็นรายเดือน
ทั้งนี้สืบเนื่องจากภายหลัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจไทย ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่ง ว่า "พรรคพวกนี้ 3-4 ปีที่ผ่านมา รับเงินเดือนจากใครให้จำไว้ ผมมีลายเซ็นทุกอย่าง รับเกิน 3,000 บาทระวังไว้เถอะ" หลังจากนั้นไม่นานก็มีไลน์หลักฐานการโอนเงินให้กับนักการเมืองพรรคเล็กต่าง ๆ ผ่านสื่อมวลชนเผยแพร่เต็มโซเชียลมีเดียไปหมด ซึ่งเป็นหลักฐานที่สามารถบ่งชี้ได้ว่านักการเมืองต่าง ๆ มีพฤติการณ์การรับเงินกันจริงเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์บางอย่างกันหรือไม่
อย่างไรก็ตาม การที่มี ส.ส.รับเงินกันดังกล่าวอาจเข้าข่ายฝ่าฝืน ม.128 วรรคแรก แห่ง พรป.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2561 ที่บัญญัติว่า “ห้ามมิให้เจ้าพนักงานของรัฐผู้ใดรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคํานวณเป็นเงินได้จากผู้ใด นอกเหนือจากทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ที่ออกโดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เว้นแต่การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยาตามหลักเกณฑ์และจํานวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด” ซึ่ง ป.ป.ช.ได้ออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาของเจ้าพนักงานของรัฐ พ.ศ. 2563 แล้ว ซึ่งกำหนดว่าเจ้าพนักงานของรัฐจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยาได้แต่ละโอกาสไม่เกินสามพันบาทเท่านั้น
ซึ่ง ส.ส.ผู้ที่ฝ่าฝืนจะมีความผิดตาม ม.169 แห่ง พรป.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2561 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และอาจเข้าข่ายฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรง 2560 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 และข้อ 17 ประกอบ ข้อ 27 วรรคสองได้ ซึ่งหาก ป.ป.ช.ชี้มูลว่าฝ่าฝืนจริงก็อาจยื่นคำร้องส่งให้ศาลฎีกาวินิจฉัย และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของ ส.ส.ผู้นั้น และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดเวลาไม่เกิน 10 ปี ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 มาตรา 235 และ พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 87 นั่นเอง
"ดังนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจนสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จะได้รวบรวมพยานหลักฐานจากแหล่งที่ปรากฏในสื่อสำนักต่าง ๆ ในโซเชียลมีเดีย กลุ่มไลน์ต่าง ๆ และแหล่งข่าว เพื่อนำไปประมวลยื่นให้ ป.ป.ช.ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งหากได้หลักฐานเพียงพอ ก็คาดว่าจะนำไปยื่นได้ในสัปดาห์หน้านี้" นายศรีสุวรรณ กล่าว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ธรรมนัส' แจงร่วมงานกฐิน 'ทักษิณ' ไร้นัยยะการเมือง
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีชั้น 14 จะส่งผลกระทบกับรัฐบาลหรือไม่ ว่า มันมี 14 15 16 และ 17 ไม่มีอะไรหรอก จะหาเรื่องกันก็หาเรื่องกันเรื่อยๆ ไม่เป็นไร เพราะคนจะหาเรื่องตนก็ไม่รู้จะพูดอย่างไร
'ธรรมนัส' ยันไม่เคยคุยส่วนตัวกับ 'ทนายตั้ม' หลังเจอขุดภาพเก่า
ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา กล่าวถึงกรณี เคยไปร่วมงานวันเกิดของภรรยา และร่วมงานเปิดสำนักงานทนายความของนายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือทนายตั้ม ว่ามีน้องรักที่ทำงานเพื่อสังคม ชวนไปแสดงความยิน
พรรคกล้าธรรม ดูดไม่หยุด! 'กำนันศักดิ์' หอบลูกสาว อดีตเด็กรทสช. ซบ 'ธรรมนัส'
ความเคลื่อนไหวพรรคกล้าธรรม มีนักการเมืองทยอยย้ายเข้าพรรคอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด นายพงษ์ศักดิ์ จ่าแก้ว หรือ กำนันศักดิ์
กล้าธรรมเฮ! 2 สส.พรรคเล็กจ่อซบ ประเดิมได้ที่นั่ง ‘พรรคกธ.’ ในห้องประชุมสภาฯ
มีความเคลื่อนไหว โดยจะมี 2 สส.พรรคเล็กเตรียมย้ายมาสังกัดพรรคกธ.
พรรคประชาชน ลุยเสนอร่างแก้รธน.รายมาตรา 6 แพคเกจ ชะลอปมจริยธรรมไว้ก่อน
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) แถลงจุดยืนของพรรคในการเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คู่ขนานกับยื่นร่างแก้ไขเป็นรายมาตราว่า พรรค ปชน.ยืนยันมาตลอดว่ารัฐธรรมนูญปี 2560
พรรคประชาชน เดินหน้าแก้รธน.รายมาตรา ยันไม่ได้เอื้อประโยชน์ตัวเอง
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ให้สัมภาษณ์ถึงการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา จริยธรรมนักการเมือง ว่า เรื่องนี้ต้องถามนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ