ผอ.ซูเปอร์โพล ข้องใจก๊วนอาจารย์จัด 'Vote คู่ขนาน' เปิดช่องมือปืนรับจ้างปั่นยอดโหวต


22 ก.ค.2565 - ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) กล่าวถึงกรณีนักวิชาการจาก ธรรมศาสตร์ นิด้า รังสิต และ มศว. เปิดให้ประชาชนโหวตคู่ขนานกับการโหวตในสภาฯ ด้วยการสแกน QR Code เพื่อโหวตไม่ไว้วางใจ ว่า ในวิธีของนักวิชาการกลุ่มนี้ คน 1 คนสามารถปั่นยอดไม่ไว้วางใจได้ซ้ำ ๆ อย่างน้อย 4 วิธีคือ 1.ใช้ incognito mode คือโหมดไม่ระบุตัวตน 2. เปลี่ยน Browser 3. ลบ cookies และ 4. เปลี่ยนอุปกรณ์ ผลที่ตามมาคือ เป็นไปได้ที่จะเกิดค่าเบี่ยงเบนผิดพลาด (Error) ไปจากเสียงแท้จริงของประชาชนส่วนใหญ่ได้และการเปิดให้คนโหวตเสนอตัวเข้ามาอาจก่อให้เกิดอคติ (Bias) ได้จนน่าเป็นห่วง

ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล กล่าวว่า การจะสะท้อนเสียงของประชาชนที่แท้จริงต้องยึดหลักอย่างน้อย 2 หลักคือ หลักของความเป็นตัวแทน และหลักของการลดความคลาดเคลื่อนและอคติ โดยหลักของความเป็นตัวแทนเสียงของประชาชนทั้งประเทศอย่างแท้จริงจากตัวอย่างบางส่วนจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ต้องมีการสุ่มตัวอย่างที่ให้โอกาสการถูกเลือกกับทุกคนในกลุ่มประชากรคนไทยทั้งประเทศ ดังนั้น การปล่อยให้มีการเสนอตัวเข้ามาโหวตและการปล่อยให้มีการจัดตั้งลงซ้ำ ๆ ได้ไม่ว่าเจตนาหรือไม่เจตนาย่อมทำลายหลักของความเป็นตัวแทน และส่งผลต่อหลักของการลดความคลาดเคลื่อนและอคติ

"หลักของการลดความคลาดเคลื่อนและอคติจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนำสูตรทางสถิติมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบและวิธีการโหวตคู่ขนานต้องปิดช่องโหว่ของ 4 วิธีที่ทำให้เกิดการโหวตไม่ไว้วางใจซ้ำ ๆ จากคน ๆ เดียว เพราะถ้าหากปล่อยไว้เช่นนี้อาจจะมีกลุ่มมือปืนรับจ้างปั่นยอดจากวิธีการโหวตคู่ขนานของนักวิชาการกลุ่มนี้ได้ ผลของ Vote คู่ขนานจึงอาจจะส่งผลกระทบต่อเกียรติภูมิแห่งภูมิปัญญาและชื่อเสียงของนักวิชาการไทยโดยรวมที่ท่านนักวิชาการกลุ่มนี้อาจจะไม่ได้ตั้งใจให้เกิดได้" ผศ.ดร.นพดล ระบุ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชำแหละ! ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม 'ปชป.' ติดลบ 'พท.' คะแนนบวก

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คำตอบ:เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม เพื่อไทยคะแนนบวก ประชาธิปัตย์ ติดลบ

ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจชัด ปชป. เสียคะแนนนิยมหลังประกาศร่วมรัฐบาล

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความนิยมต่อประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา

ประชาชนไม่มีความสุขต่อเงินในกระเป๋า หวังรัฐบาลใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง รอยต่อรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ