'ดร.สุวินัย'ยกแนวคิด'อัศวิน'วางแผนรับมือปัญหาน้ำท่วม สอน 'ชัชชาติ' ถ้าทำงานเป็น จะไม่พูดว่าเมื่อคืนตัวเองนอนไม่หลับเพราะวิตกกังวล ให้ประชาชนรีบกลับบ้าน นั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ไปดูจุดที่ท่วมแล้ว Live สด ชี้เหตุการณ์ฝนตกหนักทั้งคืนเปิดเผยตัวตนอย่างล่อนจ้อน
22 ก.ค.2565 - ดร.สุวินัย ภรณวลัย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์คน : กรณีรับมือน้ำท่วมกรุงเทพฯ มีเนื้อหาดังนี้
นี่คือสิ่งที่ อดีตผู้ว่าอัศวิน ขวัญเมือง โพสต์ไว้เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ปีที่แล้ว (2021) ....
เร่งรับมือฤดูฝน ตรวจสอบความพร้อมสถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ ป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน
กรุงเทพมหานครมีจุดเสี่ยงน้ำท่วมหลายจุด ด้วยสภาพของพื้นที่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง
ซึ่ง กทม. ได้แก้ปัญหาด้วยหลักวิศวกรรมผ่านกลไกต่างๆ เช่น แก้มลิง ธนาคารน้ำใต้ดิน ระบบท่อแรงดันน้ำขนาดใหญ่ Pipe Jacking ที่จะช่วยระบายน้ำได้เร็วยิ่งขึ้น
ผมได้ตรวจความพร้อมของสถานีสูบน้ำคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งเป็นสถานีสูบน้ำที่ใหญ่ที่สุดในฝั่งธนฯ และเป็นสถานีสูบน้ำหลัก ที่ช่วยให้การระบายดียิ่งขึ้น สามารถระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ภายใน 15 นาที ที่ประกอบด้วยเครื่องจักรกล 19 เครื่อง มีประสิทธิภาพการสูบ 57 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที สามารถระบายน้ำได้ 7 ล้าน ลูกบาศก์เมตรต่อวัน มีระบบเตือนภัย หากปริมาณน้ำมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ประจำจุดควบคุมที่เฝ้าระวังน้ำท่วมและเร่งระบายน้ำในช่วงฤดูฝนนี้
ปีนี้จะมีปริมาณน้ำฝนรวมทั้งประเทศมากกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนจะมีฝนตกชุก หนัก 60-80% ของพื้นที่ และมีน้ำทะเลหนุนสูงสุดในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม
กทม. มีแผนรับมือปริมาณน้ำฝน น้ำทะเลหนุน และเฝ้าระวังน้ำเหนือไหลลงมาสมทบในช่วงฤดูฝน โดยเร่งทำระบบระบายน้ำในพื้นที่ให้สามารถระบายน้ำได้เพิ่มมากขึ้นเต็มศักยภาพ ผ่านคลองชักพระ คลองมอญ คลองบางเชือกหนังที่มีส่วนสำคัญในการเร่งระบายน้ำลงสู่แม่กลอง
นอกจากนี้ ยังได้ติดตั้งตะแกรงเก็บขยะหน้าประตูระบายน้ำ ไม่ให้ขยะขนาดใหญ่กีดขวางทางน้ำไหลบริเวณปากประตูระบายน้ำทั้ง 37 แห่ง ที่ช่วยให้ระบายน้ำออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาได้เร็วขึ้น
กทม. ได้เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำต่างๆ การขุดลองคลอง เก็บสิ่งกีดขวางทางเดินน้ำเพื่อเร่งประสิทธิภาพการระบายน้ำ และป้องกันการเกิดน้ำท่วมให้ได้ดีที่สุดครับ
อัศวิน ขวัญเมือง
25 กรกฎาคม 2021
******
ประทานโทษนะครับ ถ้าคุณทำงานเป็น คิดอย่างเป็นระบบ มีแผนรองรับเสมอ แบบคนวางหมากล่วงหน้าหลายชั้นเป็น
- คุณจะไม่พูดว่าเมื่อคืนตัวเองนอนไม่หลับเพราะวิตกกังวล
- คุณจะไม่พูดว่า ให้ประชาชนรีบกลับบ้าน
- คุณจะไม่แค่นั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ไปดูจุดที่ท่วม แล้ว Live สด
ถ้าคุณอยากรู้ว่าผู้บริหารที่มีประสบการณ์ ทำงานเป็น เขาทำงานกันอย่างไร
กรุณากลับไปอ่านบทความของอดีตผู้ว่าฯ อัศวินข้างบน อย่างตั้งใจทีละบรรทัด และทำความเข้าใจแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ อย่างลึกซึ้ง
แต่ที่แน่ๆ เหตุการณ์ฝนตกหนักทั้งคืน มันเปิดเผยตัวตนของคุณอย่างล่อนจ้อนว่า คุณไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะมารับมือในตำแหน่งหน้าที่นี้จริงๆเลย
คุณแค่ประสบความสำเร็จอย่างสูงมากในการทำให้ประชาชน 1.3 ล้านคนฝาก ความหวังลมๆแล้ง ไว้ที่ตัวคุณเท่านั้นเอง
สุวินัย ภรณวลัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศปช. ส่งจนท.-เครื่องจักร เร่งช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่อุทกภัย 3 จังหวัดใต้
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ในฐานะโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง
ผอ.ศปช. สั่งเกาะติดฝนถล่มภาคใต้สัปดาห์นี้ เสี่ยงวาตภัยน้ำท่วมฉับพลันใน 10 จังหวัด
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า หลังวานนี้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ คือ อ.เมือง และ ศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 3 เตือนฝนถล่มภาคใต้ คลื่นลมอ่าวไทย-อันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น
กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ ฉบับที่ 3 (มีผลกระทบจนถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2567)
โฆษกศปช. เผยกรณี 'น้ำผุด' อ.เชียงดาว มอบหน่วยงานลงพื้นที่ศึกษาแนวทางใช้ประโยชน์
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรีและโฆษกศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศปช.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศปช. ได้เคยประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนในพื้นที่ภาคใต้เฝ้าระวังฝนตกหนักในพื้นที่ระหว่างวันที่ 20-24 พ.ย.ไปแล้วก่อนหน้านี้
คนกรุงร้องเพลงรอลมหนาวต่อ 'ภาคใต้' เจอมรสุมฝนถล่มหนัก
กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าในลักษณะทั่วไป
พยากรณ์ 10 วันล่วงหน้า ตั้งแต่ 18 พ.ย. อากาศเริ่มเย็นลงอีกครั้ง
กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 15 -24 พ.ย. 67