กสม.รับเรื่องร้องเรียนละเมิดสิทธิฯ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ลดลง!

กสม.ตรวจเยี่ยม 6 สถานที่ควบคุมตัวบุคคลต้องสงสัยในจังหวัดชายแดนใต้ - ถก กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า หวังเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชน

20 ก.ค.2565 - ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติพื้นที่ภาคใต้ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยนายวสันต์ ภัยหลีกลี้ และนายสุชาติ เศรษฐมาลินี กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ แถลงข่าวว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมา กสม.ได้รับเรื่องร้องเรียนจำนวนมาก แต่มีแนวโน้มการร้องเรียนลดลง เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งมีการละเมิดหรือสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของบุคคลผู้ถูกควบคุมตัวในสถานที่ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย ซึ่งเป็นประเด็นที่ กสม. มีความห่วงกังวลและได้ประสานแนวทางตรวจสอบและแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง นั้น

ล่าสุด เมื่อวันที่ 15 - 16 มิ.ย.2565 กสม. โดยนายสุชาติ เศรษฐมาลินี และ น.ส.ศยามล ไกยูรวงศ์ กสม. พร้อมด้วยที่ปรึกษา กสม. และเจ้าหน้าที่ สำนักงาน กสม.ส่วนกลาง และสำนักงาน กสม. พื้นที่ภาคใต้ ได้เข้าตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวบุคคลต้องสงสัยตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 จำนวนทั้งสิ้น 6 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส โดยมี พล.ร.ต.วรพล สิทธิจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นผู้แทน กอ.รมน. ภาค 4 ให้ข้อมูลสรุปวิธีการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร จังหวัดปัตตานี

จากการหารือร่วมกัน ทางผู้แทน กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า ยินดีให้ความร่วมมือกับ กสม. เพื่อให้การตรวจสอบคำร้องการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเกี่ยวเนื่องกับคดีความมั่นคงมีความรวดเร็วมากขึ้น และเสนอให้มีการสัมมนาประจำปีเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่ายความมั่นคง

สำหรับผลการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวบุคคลเพื่อซักถามทั้ง 6 แห่ง นั้น ในภาพรวมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเห็นถึงพัฒนาการของหน่วยงานแต่ละแห่ง อย่างไรก็ตาม คณะตรวจเยี่ยมได้ให้ข้อเสนอแนะบางประการเพื่อให้หน่วยงานรับไปพิจารณาปรับปรุงเพิ่มเติม เช่น ควรมีการบันทึกภาพเคลื่อนไหวระหว่างการควบคุมตัวและซักถาม โดยต้องจัดเก็บข้อมูลในอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการบันทึกในระยะเวลาที่นานเพียงพอต่อการตรวจสอบ ควรมีการปรับปรุงสภาพภายในห้องพักของผู้ต้องสงสัยให้เหมาะสมมากขึ้น และการตรวจร่างกายบุคคลต้องสงสัย ควรใช้แพทย์จากโรงพยาบาลที่ไม่ใช่ของสถานที่ควบคุมตัวหรือหากเป็นไปได้ ควรมีความเห็นที่สองทางการแพทย์ด้วย เป็นต้น ทั้งนี้ คณะตรวจเยี่ยมได้เน้นย้ำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐสร้างสมดุลระหว่างประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมาย กับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกควบคุมตัว

“ที่ประชุม กสม. ด้านคุ้มครองและมาตรฐานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 11 ก.ค.2565 ได้รับทราบรายงานผลการหารือและตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวบุคคลเพื่อซักถามในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ดังกล่าวแล้ว โดยเห็นว่ากระบวนการตรวจเยี่ยมสถานที่ควบคุมตัวจะเป็นกลไกที่สำคัญในการเข้าถึงข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน ตลอดจนสามารถสร้างความตระหนักและส่งเสริมความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นได้ในสถานที่ควบคุมตัวของรัฐ”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปลาหมอคางดำ'ต้องเป็นศูนย์ ก่อนนิเวศย่อยยับ

จากสถานการณ์ปลาหมอคางดำที่กำลังระบาดไปในแหล่งน้ำธรรมชาติและพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทย   ซึ่งปลาหมอคางดำมีต้นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา ประเทศไทยเองมีบริษัทเอกชนนำเข้ามาเมื่อปี 2553  ซึ่งวงจรปลาหมอคางดำขยายพันธุ์รวดเร็ว ทุกๆ 22 วัน

กสม. ชี้ตร.ปล่อยให้มีการถ่ายภาพ-คลิปเด็กกราดยิงในห้างฯเผยแพร่ในโซเชียล ละเมิดสิทธิ

กสม. ชี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจปล่อยให้มีการถ่ายภาพและคลิปวิดีโอของเด็กผู้ก่อเหตุกราดยิงในห้างสรรพสินค้า เผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ เป็นการละเมิดสิทธิฯ

ท่วมท้น! โหวต 406 เสียงรื้อคำสั่ง คสช.14/2559 เรื่องไฟใต้

มติเอกฉันท์ 406 เสียง! สภาฯ ผ่านร่าง กม.รื้อคำสั่ง คสช.14/2559 ฟื้นสภาที่ปรึกษาฯชายแดนใต้ พร้อมหนุนปรับการคัดเลือก โดยการเลือกตั้ง เพิ่มสัดส่วนเยาวชน

เปิดผลตรวจสอบ 'คดีไซยาไนด์' ตำรวจไม่แจ้งสิทธิการมีทนายความ สื่อละเมิดสิทธิมนุษยชน

กสม. เผยผลการตรวจสอบกรณีร้องเรียนคดีไซยาไนด์ ชี้ตำรวจไม่แจ้งสิทธิการมีทนายความ สื่อเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลและตีตราผู้ต้องหา เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

เปิดผลสอบกิจกรรมเชียร์และแปรอักษรงาน 'ฟุตบอลจตุรมิตร' ไม่พบการละเมิดสิทธิเด็ก

กสม. เผยผลสอบเรื่องร้องเรียนกรณีการจัดกิจกรรมเชียร์และแปรอักษรงานฟุตบอลจตุรมิตร ไม่พบการละเมิดสิทธิเด็ก แต่มีข้อเสนอแนะไปยังโรงเรียนทั้งสี่เพื่อให้งานดียิ่งขึ้น

ส่อง'กฎหมายโลกร้อน' ควบคุม-เบิกทางปล่อยก๊าซ?

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสร้างผลกระทบทั่วโลก ไทยเจออากาศร้อนต่อเนื่องยาวนาน  น้ำทะเลอุ่นจนปะการังฟอกขาวทั้งอ่าวไทยและอันดามัน  สภาพอากาศร้อนและแล้ง ฤดูฝนล่าช้า ส่งผลพืชผักเสียหาย กระทบภาคเกษตร  ปัญหาเหล่านี้ย้ำเตือนถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่รุนแรงเพิ่มขึ้น