'ไกรฤกษ์' คลี่ปม 'ตุ๊กตาหิน' เป็นของแปลกงานฉลองพระนครสมัย ร.5 แล้วหายไปจากวัดพระแก้ว

ภาพรูปแกะสลักศิลาหินอ่อน ที่ลานวัดพระแก้วในสมัยรัชกาลที่ 5 ภาพจาก นสพ. ปี 1893

18 ก.ค.2565 - นายไกรฤกษ์ นานา นักวิชาการอิสระ นักประวัติศาสตร์ชื่อดัง โพสต์ภาพพร้อมข้อความบนเฟซบุ๊กเปิดเผยข้อมูลกรณีค้นพบตุ๊กตาหินโบราณที่วัดพระแก้วว่า ทำไมตุ๊กตาหินอ่อน ยุครัชกาลที่ 5 จึงจัดแสดงอยู่เพียง 44 ปี เมื่อพบเห็นอยู่ ภายในวัดพระแก้ว ก่อนจะอันตรธานหายไปจากที่นั่น ?

ถาม : เรียนถามอาจารย์ ทำไมรูปแกะสลักหินอ่อน ที่ถูกค้นพบใหม่ ถึงหายออกไปลานวัดพระแก้ว ในสมัยหลังค่ะ ?

ตอบ : ภายหลังจัดแสดงอยู่เพียง 44 ปี ก็ถูกเคลื่อนย้ายออกไป เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ ครับ

เอกสารเก่าของชาวต่างชาติ ที่เคยพบเห็นรูปศิลาหินอ่อน ยุครัชกาลที่ 5 นับเป็นหลักฐานเก่า ที่น่าเชื่อถือที่สุด ของผู้ที่เคยพบเห็นมัน และได้บันทึกข้อมูลเอาไว้

อ.ไกรฤกษ์ นานา พบข้อมูลชิ้นสุดท้ายยืนยันไว้ในปี ค.ศ. 1926 ( พ.ศ. 2469 ) ว่านาย Frank G.Carpenter นักเดินทาง ได้เขียนไว้ในหนังสือของเขาชื่อ Carpenter’s World Travels ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1926 ความว่า.....“ บนลานวัดพระแก้วโดยรอบพระอุโบสถ ใกล้ๆ ศาลาราย โดยเฉพาะที่เชิงบันไดขึ้นพระมหาเจดีย์ ข้าพเจ้าเห็นรูปปั้นหินอ่อน รูปผู้มีชื่อเสียงจากทั่วโลก ในลักษณะท่าทางต่างๆกัน

ที่จำได้ มีจักรพรรดิฝรั่งเศส ชาวดัทช์และเสนาบดีญี่ปุ่น ข้าพเจ้าได้รับการบอกเล่าว่า ทางรัฐบาลสยาม ซื้อมาจากนักแกะสลักชาวอิตาเลียน มันแปลกมากที่มีของเหล่านี้อยู่ในพระอารามหลวง ที่จริงก็เป็นเรื่องปกติ ที่จะเห็นของแปลกๆ ในกรุงเทพ เสมอ “

จึงนับว่าเป็นข้อมูลชิ้นสุดท้าย กล่าวถึงรูปศิลาหินอ่อนเหล่านั้น ซึ่งเคยตั้งอยู่จนถึงสมัยต้นรัชกาลที่ 7 ( เสวยราช์ พ.ศ. 2469 ) หรือ 44 ปี โดยประมาณ จากจุดเริ่มต้น เมื่อถูกตบแต่งไว้โชว์ในงานฉลองพระนคร 100 ปี ( พ.ศ. 2425 /ค.ศ. 1882 ) ที่วัดพระแก้ว สอดคล้องกับ “ คำยืนยัน “ ของมกุฎราชกุมารนิโคลาส แห่งรัสเซีย ผู้เคยได้รับข้อมูลว่า.....“มันถูกจัดแสดงไว้ที่นั่น สำหรับงานฉลองเมืองหลวง ก่อนที่จะถูกนำออกไปจัดแสดง ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งใหม่ ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้สร้างขึ้น “

พิพิธภัณฑ์ที่ว่านี้ ก็คือ “ พิพิธภัณฑ์สถานสำหรับพระนคร “ ซึ่งรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น ในพ.ศ. 2469 ( ค.ศ. 1926 ) ณ หมู่พระที่นั่ง ภายในพระราชวังบวรสถานมงคล ( ที่ตั้งในปัจจุบัน ) ครับ

นายไกรฤกษ์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่า หลังจาก พ.ศ.2469 (ต้นรัชกาลที่ 7) ก็ไม่มีใครพูดถึงรูปศิลาหินอ่อนอีกเลยครับ เป็นที่สันนิษฐานว่า ถูกเคลื่อนย้ายเข้าไปเก็บรักษาไว้ภายในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ซึ่งเพิ่งเปิดขึ้นใหม่ๆ

ต่อมาอีกไม่กี่ปีก็เกิดสงครามโลกครั้งที 2 และอาจมีการเคลื่อนย้ายวัตถุโบราณอีกครั้ง แต่ไม่มีการยืนยันครับ

(ภาพจากเอกสารเก่าต้นฉบับ ของสะสม อ.ไกรฤกษ์)ภาพประกอบ : (1) ภาพรูปแกะสลักศิลาหินอ่อน ที่ลานวัดพระแก้วในสมัยรัชกาลที่ 5 ภาพจาก นสพ. ปี 1893

(2) ปกใน หนังสือเดินทางรอบโลกของนาย Carpenter ว่าพบเห็นรูปศิลาหินอ่อน ครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ.1926 (ตันรัชกาลที่ 7)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รุ่นใหญ่ปะทะเดือด! 'ไพศาล' ตอก 'ขรัวธงทอง' คนนี้แหละ ที่ไปดูที่ทางให้ 'ทักษิณ' นั่งในวัดพระแก้ว

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย ทนายความ โพสต์ข้อความว่า ธงทอง (จันทรางศุ) แสดงความห่วงใย ม็อบสนธิ ว่าเป็นผู้สูงวัย เกรงว่าจะเป็นลม

'พระเจ้าตอง' กลับพะเยา หลังโดนขโมย 36 ปีก่อน ค้นพบที่สวิต กรมศิลป์พิสูจน์แล้วของจริง

นายวิสุทธิ์ ไชยณรุณ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้ประสานงานและติดตามนำ “พระเจ้าตอง” กลับจังหวัดพะเยา รับส่งมอบพระเจ้าตอง จากนางสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม 

หอบหลักฐานยุบ 6 พรรค มัด 'ทักษิณ' ครอบงำ ท้า 'พท.-ชินวัตร' สาบานวัดพระแก้ว

'พิราบขาว' หอบหลักฐาน แจง กกต. คำร้องยุบ 6 พรรค ยันสัมพันธ์ชัด 'ทักษิณ' ครอบงำสั่งการ บี้นายกฯอิ๊งค์เปิดภาพแค่กินข้าวจริงหรือไม่ ท้า 'พท.-ชินวัตร' สาบานวัดพระแก้ว

ครม.อนุมัติมอบโบราณวัตถุ 20 รายการ คืนให้กัมพูชา

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม. มีมติอนุมัติให้ กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมศิลปากร มอบโบราณวัตถุ 20 รายการ คืนให้ราชอาณาจักรกัมพูชา เพื่อเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลงทวิภาคี