เหลน 'กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร' ยืนยันตุ๊กตาหิน ไม่ใช่ 'อับเฉา' แต่สั่งมาประดับงานฉลองพระนคร

16 ก.ค.2565 - พลตรีหญิง หม่อมหลวงลดาวัลย์ กมลาศน์ นักเขียนชื่อดัง ในฐานะเหลนของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร ผู้รับผิดชอบเรื่องเครื่องประดับศิลาและรูปปั้นประดับในงานฉลองพระนคร 100 ปี สมัยรัชกาลที่ 5 โพสต์ภาพตุ๊กตาหินโบราณที่เพิ่งขุดค้นพบในวัดพระแก้ว พร้อมเขียนข้อความบนเฟซบุ๊กว่า รูปปั้นที่เห็นคือ รูปปั้นที่ฮือฮากันในตอนนี้ว่า ค้นพบรูปปั้นเหล่านี้ถูกฝังไว้ใต้ดินในพระบรมมหาราชวัง

เรื่องรูปปั้นเหล่านี้ เป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าคาใจมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว เพราะเมื่อข้าพเจ้ามาสนใจประวัติศาสตร์ของครอบครัว ข้าพเจ้าเคยอ่านพบเรื่องรูปปั้นนี้โดยบังเอิญ โดยมีนักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่ง เขียนไว้อย่างที่คนอ่าน อ่านแล้วจะรู้สึกถึงความคลุมเครือโดยเจตนาของผู้เขียน และตอนนั้น ข้าพเจ้ายังอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ไม่มากนัก จึงได้แต่เก็บความเจ็บลึกๆไว้เพียงผู้เดียว ไม่กล้าออกความเห็นใดๆ

บทความนั้นกล่าวว่า การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดารามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอหลายพระองค์ทรงรับผิดชอบเรื่องการบูรณะทั้งสถานที่และเครื่องประดับ

เสด็จทวดของข้าพเจ้า พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้ากมลาสน์เลอสรร ตอนนั้น ทรงพระยศพระเจ้าน้องยาเธอและยังไม่ทรงกรม ทรงรับผิดชอบเครื่องประดับพวกรูปปั้นและเครื่องประดับศิลา

ในบทความนั้นเล่าว่า หลังจากการบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว ก็ได้ความงามสมพระประสงค์ และพระเจ้าน้องยาเธอทั้งหลายเหล่านั้น ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯให้ ทรงกรม โดยที่เสด็จทวดได้ทรงรับพระนามทรงกรมว่า "พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร"

หลังจากนั้นมาอีกหลายปี มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า รูปปั้นหินอ่อนหายไปไหนเกือบหมด มีการเขียนกันถึงขนาดว่า ไม่ทราบว่าผู้ใดยกไปไว้ไหน และมีการเข้าไปตามดูในวังของกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสรก็ไม่พบรูปปั้นหินอ่อนนี้แม้แต่ตัวเดียว องค์เสด็จในกรมเองก็ไม่ทรงชี้แจงอย่างใด

ไว้ว่างๆข้าพเจ้าจะไปค้นบทความนี้มาให้อ่านกันค่ะ มีอยู่เรื่อง ที่ใช้หัวข้อเรื่องว่า "รูปปั้นล่องหน"

ตอนนี้ก็รู้แล้วว่า "ตุ๊กตาศิลา" อยู่ที่ไหน ถ้าอย่างไรถ้าใครคิดว่า เสด็จทวดมีความเกี่ยวข้องกับการหายไปของ"ตุ๊กตาศิลา" จุดธูปทูลขอประทานอภัยเสด็จในกรมท่านเสียก็ดีนะคะ

ทั้งนี้ พลตรีหญิง หม่อมหลวงลดาวัลย์ กมลาศน์ ได้ระบุเพิ่มเติมว่า ตุ๊กตาหินที่เพิ่งขุดค้นพบในวัดพระแก้ว ไม่ใช่อับเฉาแน่นอน แต่สั่งมาประดับในงานฉลองพระนคร 100 ปี

ทั้งนี้ ตุ๊กตาอับเฉาคือ รูปปั้นแกะสลักหิน มักเป็นรูปเทพเจ้า คน หรือสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างจากเมืองจีน นำเข้ามาในไทยข่วงต้นรัตนโกสินทร์ ประโยชน์ของรูปปั้นเหล่านี้ เพื่อใช้ถ่วงน้ำหนักใต้ท้องเรือสำเภา (เรือจากจีนมาไทย เป็นเรือเปล่าไม่มีน้ำหนัก ค่อยมาบรรทุกของจากไทยไปจีน) และเพื่อถวายหรือมอบให้ วัง วัด เจริญสัมพันธไมตรี และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมจีนอีกทางหนึ่ง
 
ต่อมาเมื่อถึงกลางยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เรือมีการพัฒนาขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำหนักถ่วงอีกต่อไป ตุ๊กตาเหล่านี้จึงไม่ได้นำเข้ามาเพิ่มเติม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค สุดวิจิตรประณีตศิลป์ไทย

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  มีกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติทั่วประเทศไทย งานพระราชพิธีสำคัญที่จะเกิดขึ้นการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน พุทธศักราช 2567 ณ วัดอรุณราชวรารามฯ

ซ่อมเรือพระราชพิธีใกล้เสร็จ

21 มิ.ย. 2567 - เวลา 9.15  น. นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ตรวจเยี่ยมการซ่อมแซมและตกแต่งเรือพระราชพิธี ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี และเยี่ยมชมการฝึกซ้อมฝีพาย ณ แผนกเรือราชพิธี กองเรือเล็ก กรมการขนส่งทหารเรือ กองทัพเรือ เ

สหรัฐเตรียมส่งคืนเสาสลักหินทราย'ปราสาทพนมรุ้ง'กลับไทย

18 มิ.ย.2567 - นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า สถาบันศิลปะแห่งนครชิคาโก (The Art Institute of Chicago) สหรัฐอเมริกา แจ้งความประสงค์ส่งคืนโบราณวัตถุให้กับกรมศิลปากร จำนวน 1 รายการ ได้แก่ ชิ้นส่วนเสาติดผนังสลักจากหินทรายรูปพระกฤษณะยกเขาโควรรธนะ

ชมสำรับ'กับข้าวเจ้านาย'ในสยาม

พูดถึงตำรับอาหารชาววัง บางคนนึกถึงเมนูอาหารสุดพิถีพิถันและประณีตบรรจงในทุกขั้นตอน  บางคนนึกถึงการประดิษฐ์ประดอยอาหารคาวหวานให้มีความสวยงามน่ากิน รสอาหารกลมกล่อม ตำรับอาหารชาววังนั้นครองใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ 

ปักหมุดเที่ยวงาน'มรดกสยาม 3 สมัย'

14 มิ.ย.2567 ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร นางยุพา  ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เป็นประธานเปิดงาน Happy Journey with BEM “มรดกสยาม ๓ สมัย” โดยมีนายเจษฎา ชีวะวิชวาลกุล รองอธิบดี

ศิลปากร รุดตรวจสอบโครงกระดูกมนุษย์โบราณพันปี พร้อมภาชนะดินเผา ขุดพบกลางเมืองโคราช

นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา ลงพื้นที่ตรวจสอบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ และซากภาชะดินเผา ที่ถูกขุดค้นพบขณะที่ทางเจ้าหน้าที่