เตรียมตัว! 'คำนูณ' เผยกฎหมาย 'ฉีดจู๋ฝ่อ' เข้าวุฒิฯวาระ 2-3 จันทร์นี้

หลักการที่ให้มีผลย้อนหลังนี้ เพราะผู้ร่างไม่ถือว่ามาตรการทางการแพทย์หรือมาตรการแก้ไขฟื้นฟูอื่น ๆ เป็นโทษทางอาญา แต่ถือเป็นมาตรการที่เป็นคุณต่อผู้กระทำความผิดทางเพศหรือความผิดรุนแรงที่ระบุไว้จนติดเป็นนิสัย ควบคุมตัวเองไม่ได้ และถือเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยของสังคม

10 ก.ค.2565-นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา โพสต์เฟซบุ๊ก Kamnoon Sidhisamarn หัวข้อ กฎหมายฉีดจู๋ฝ่อ
เข้าวุฒิฯวาระ 2-3 จันทร์ 11 ก.ค. 65 เปิด 4 มาตรการสร้างสังคมปลอดภัย


ร่างพ.ร.บ.มาตรการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. … ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการมาแล้ว จะเข้าสู่การพิจารณาวาระ 2-3 ในที่ประชุมวุฒิสภา 11 กรกฎาคม 2565 นี้

ถ้ากฎหมายมีผลบังคับใช้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่

ผู้กระทำผิดที่ทำผิดซ้ำ ๆ ในความผิดทางเพศ หรือความผิดที่ใช้ความรุนแรง จนติดเป็นนิสัยชนิดเป็นที่ประจักษ์ จะได้รับการปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยมาตรการพิเศษนอกเหนือจากโทษจำคุก มาตรการใหม่นี้เรียกว่า…

“มาตรการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด”

โดยที่ระบุไว้ขัดเจนแล้วแน่นอนในมาตรา 19 วรรคสอง (1) คือ…

“มาตรการทางการแพทย์”

ยังมีมาตรการอื่น ๆ อีก แต่รายละเอียดจะมีอะไรและมีกระบวนการอย่างไรบ้าง ร่างกฎหมายบัญญัติให้ไปอยู่ในกฎกระทรวง และข้อบังคับของประธานศาลฎีกาโดยความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา

การทำให้อวัยวะเพศชายฝ่อ หรือการกดฮอร์โมนเพศชาย เป็นหนึ่งในมาตรการทางการแพทย์นี้

การใช้มาตรการทางการแพทย์ต้องเป็นคำสั่งของศาล

อัยการเป็นผู้ยื่นคำร้องขอต่อศาล โดยยื่นไปพร้อม ๆ กับคำฟ้องได้เลย

หรือจะไปยื่นในช่วงที่ผู้กระทำความผิดอยู่ระหว่างการรับโทษตามคำพิพากษาก็ได้

ศาลจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะมีคำสั่งตามคำขอหรือไม่

ร่างกฎหมายมาตรา 19 วรรคสามกำหนดให้ศาลไต่สวนโดยคำนึงถึงพฤติการณ์แห่งความรุนแรงของคดี สาเหตุแห่งการกระทำความผิด ประวัติการกระทำความผิด ภาวะแห่งจิต นิสัย และลักษณะส่วนตัวอื่นของผู้กระทำความผิด ความปลอดภัยของผู้เสียหายและสังคม โอกาสในการกระทำความผิดซ้ำ และการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด

ในการไต่สวน ศาลสามารถเรียกสำนวนการสอบสวนจากอัยการ รับฟังคำคัดค้านของผู้กระทำความผิด รวมทั้งสั่งให้เจ้าพนักงานคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม สืบเสาะตามกฎหมายว่าด้วยการคุมประพฤติ

หากศาลเห็นควรออกคำสั่งใช้มาตรการทางการแพทย์หรือมาตรการแก้ไขฟื้นฟูอื่น ๆ ให้รวมไว้ในคำพิพากษา
รวมทั้งให้ระบุคำสั่งดังกล่าวไว้ในหมายจำคุกด้วย

กรมราชทัณฑ์จะเป็นหน่วยงานผู้ปฏิบัติตามคำสั่งศาล

และรายงานผลต่ออัยการอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

อัยการอาจยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงมาตรการ หรือยกเลิกมาตรการได้ ขึ้นอยู่กับผลการใช้มาตรการตีอผู้กระทำความที่กรมราชทัณฑ์รายงานมา

ทั้งนี้ มาตรการทางการแพทย์ทั้งหมดให้ดำเนินการโดยแพทย์อย่างน้อย 2 คนที่ต้องมีความเห็นพ้องกัน

หากมาตรการทางการแพทย์นั้นต้องมีการใช้ยา ไม่ว่ายารับประทาน หรือยาฉีด นักโทษเด็ดขาดต้องให้ความยินยอม
นักโทษเด็ดขาดที่ยินยอมรับมาตรการแก้ไขฟื้นฟู อาจได้รับการพิจารณาปล่อยตัวก่อนกำหนด ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 วรรคสอง

“ให้กรมราชทัณฑ์นำผลของการใช้มาตรการทางการแพทย์ตามวรรคหนึ่งมาใช้ในการพิจารณาลดโทษ พักโทษ หรือให้ประโยชน์อื่นใดอันเป็นผลให้ผู้กระทำความผิดได้รับการปล่อยตัวก่อนกำหนดในคำพิพากษาตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ด้วย”

แต่แม้จะพ้นโทษแล้ว ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังมีมาตรการใช้กับผู้พ้นโทษแล้วนั้นอีก 3 มาตรการ

  • “มาตรการเฝ้าระวัง”
  • “มาตรการคุมขัง”
  • “มาตรการคุมขังฉุกเฉิน”

โดยสามารถใช้มาตราการใดมาตรการหนึ่ง หรือสลับสับเปลี่ยนมาตรการ ต่ออดีตนักโทษเด็ดขาดที่พ้นโทษออกมาแล้วได้ต่อเนื่องกัน แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 10 ปี

สรุป จะมีมาตรการดำเนินการต่อผู้กระทำผิดทั้งที่เป็นนักโทษและที่พ้นโทษออกมาแล้วรวมทั้งสิ้น 4 มาตรการ
เพื่อความปลอดภัยของสังคม

โดยทุกมาตรการตัองเป็นร้องขอจากอัยการ จากข้อมูลของคณะกรรมการ 2 ระดับตามกฎหมายฉบับนี้ และศาลเป็นผู้พิจารณาและมีคำสั่ง

ร่างกฎหมายน่าจะผ่านมติวุฒิสภาออกมาได้ในการประชุม 11 กรกฎาคม 2565 นี้

สำหรับคดีที่เกิดขึ้นก่อนร่างกฎหมายมีผลใช้บังคับ บทเฉพาะกาลมาตรา 43 บัญญัติให้มีผลย้อนหลังสำหรับคดีที่ยังอยู่ในการพิจารณาของศาล และกรณีที่จะมีการปล่อยตัวนักโทษที่กระทำความผิดทางเพศและความผิดที่ใช้ความรุนแรงตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 3 ด้วย

หลักการที่ให้มีผลย้อนหลังนี้ เพราะผู้ร่างไม่ถือว่ามาตรการทางการแพทย์หรือมาตรการแก้ไขฟื้นฟูอื่น ๆ เป็นโทษทางอาญา แต่ถือเป็นมาตรการที่เป็นคุณต่อผู้กระทำความผิดทางเพศหรือความผิดรุนแรงที่ระบุไว้จนติดเป็นนิสัย ควบคุมตัวเองไม่ได้ และถือเป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยของสังคม

เป็น ‘การุณยมาตรการ’ ว่างั้นเถอะ !

ส่วนมาตรการคุมขัง และคุมขังฉุกเฉิน ที่จะใช้กับผู้ที่พ้นโทษออกมาแล้ว คณะกรรมาธิการมีความเห็นร่วมกันว่านอกจากจะไม่ใช่โทษทางอาญาแล้ว ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการบังคับใช้กฎหมายยัอนหลังเสียทีเดียว เพราะผู้กระทำความผิดต้องมีพฤติกรรมพิเศษชัดเจนที่ส่อว่าเสี่ยงจะกระทำผิดซ้ำเสียก่อน พฤติกรรมที่ว่านี้เกิดขึ้นในขณะที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้ว

ร่างกฎหมายมาตรการป้องกันการกระทำผิดซ้ำฯนี้น่าจะผ่านมติวุฒิสภาออกมาได้ในการประชุม 11 กรกฎาคม 2565
จะมีผลบังคับใช้เร็วแค่ไหนอย่างไร ขึ้นอยู่กับว่าสภาผู้แทนราษฎรจะเห็นด้วยกับที่วุฒิสภาแก้ไขมั้ย เป็นเงื่อนไขให้ตัองมีการตั้งกรรมาธิการร่วม 2 สภามั้ย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544

เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .

'คำนูณ' จับผิดเส้น 'ละติดจูด' ที่ 11° 'E' เอกสารแนบท้าย MOU44 เตือนกต.อย่าคิดผิดในหลักการ

นายคำนูณ สิทธิสมาน อดีตสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว !ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” เอกสารแนบท้าย MOU 2544

ไม่เลิก MOU 44 ได้สอง-เสียสาม !

คำถามของท่านนายกรัฐมนตรึเมื่อวันก่อนที่ว่าถ้าเราเลิก MOU 2544 แล้วจะ “ได้” อะไร ดูเหมือนท่านจะเห็นว่าเราจะ “ไม่ได้” อะไรเลยละกระมัง จึงสรุปว่าจะไม่เลิกและจะเดินหน้าต่อ

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง